Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กันยายน 2549
ยอด NPL ไตรมาส 2 เพิ่ม 2 หมื่นล้าน ภาคอุตฯ-อุปโภคบริโภคครองแชมป์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




ธปท.เผย ยอดเอ็นพีแอลแยกตามประเภทธุรกิจ ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 หมื่นล้านบาท โดยเอ็นพีแอลทุกประเภทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก โดยกลุ่มรีเอ็นทรีมียอดหนี้เอ็นพีแอลพุ่งสูงถึง 70% โดยเฉพาะภาคการเงินเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นถึง 462.89% เหตุลูกค้าจากสถาบันการเงินได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้มีปัญหาการผิดนัดชำระค่างวดมากขึ้น กลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่อีกรอบ

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธปท.ได้รายงานข้อมูลยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งระบบแยกตามประเภทธุรกิจ ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ภาคธุรกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจมียอดเอ็นพีแอลจำนวนทั้งสิ้น 71,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,121 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสแรกที่มีอยู่ 52,549 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.39% โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมมียอดเอ็นพีแอลมากที่สุดถึง 28,988 ล้านบาท รองลงมาภาคพาณิชย์มีอยู่ 13,433 ล้านบาท และภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 10,679 ล้านบาท

โดยแบ่งเป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่ในไตรมาส 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 42,197 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 8,501 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25.23% ซึ่งทุกภาคธุรกิจล้วนมีอัตราการเพิ่มเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่ โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มากที่สุดถึง 14,424 ล้านบาท รองลงมาภาคพาณิชย์ 7,588 ล้านบาท และภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 7,591 ล้านบาท ขณะเดียวกันภาคก่อสร้างก็มีเอ็นพีแอลเกิดขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นสูงถึง 3,286 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีแค่ 1,921 ล้านบาท ส่วนภาคบริการในไตรมาสนี้กลับมีเอ็นพีแอลเกิดใหม่ลดลงอย่างมากถึง 1,141 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

สำหรับกลุ่มเอ็นพีแอลที่เคยปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่ (รีเอ็นทรี) มีจำนวนทั้งสิ้น 22,892 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,417 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 70% โดยภาคอุตสาหกรรมมีมากที่สุด 11,704 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีอยู่แค่ 2,960 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,744 ล้านบาท หรือคิดเป็น 295.41% รองลงมาธุรกิจการเงินมีเอ็นพีแอลในกลุ่มนี้มากถึง 546 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 449 ล้านบาท คิดเป็น 462.89% และภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่มีอยู่ 2,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 671 ล้านบาท อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อนที่มีอยู่ 3,021 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2 กลับอยู่ที่ 618 ล้านบาท หรือลดลง 2,403 ล้านบาท ลดลงเกือบ 80% ภาคบริการลดลง 1,463 คิดเป็น 184.49%

นอกจากนี้ยังมีเอ็นพีแอลกลุ่มอื่นๆ ที่มีอยู่ 6,581 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 1,203 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22.37% โดยภาคอุตสาหกรรมมีเอ็นพีแอลกลุ่มนี้มากที่สุดถึง 2,860 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 411 ล้านบาท รองลงมาภาคพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2,680 ล้านบาท เทียบไตรมาสก่อน และภาคธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ลดลง 316 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอ็นพีแอลในกลุ่มรีเอ็นทรีที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดจากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และภาคธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันแพง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าและค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเงิน และภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดหนี้กลุ่มนี้กลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้งจากผลกระทบดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจการเงิน ที่ลูกค้ามียอดหนี้ในกลุ่มรีเอ็นทรีพุ่งสูงสุด ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภาระการผ่อนค่างวดยากลำบากมากขึ้น

ประกอบกับก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้เกิดจากลูกหนี้การค้าของธนาคารพาณิชย์จำนวน 2-3 รายเป็นสำคัญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us