Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กันยายน 2549
ศาลปค.รับคำฟ้องแปรรูปปตท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ทักษิณ ชินวัตร
วิเศษ จูภิบาล
มูลนิธิคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค




ศาลปกครองสูงสุด รับคำฟ้องคดีที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ยื่นฟ้อง ครม. และ “ทักษิณ-วิเศษ” และให้เพิกถอนพ.ร.ฏ. การแปรรูปปตท. รวม 2 ฉบับ พร้อมเตือนผู้เกี่ยวข้องระมัดระวังการแสดงความเห็นที่อาจจะเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล ด้านตัวแทนมูลนิธิฯ ย้ำรัฐบาลต้องรับผิดชอบหากต้องใช้เงินกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นคืนในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนหุ้นปตท. ขณะที่รักษาการขุนคลัง ออกโรงป้องตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ละเมิดศาล แต่เป็นการให้ข้อมูล พร้อมเดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องเดินหน้าต่อไป ด้านคตง.หักคุณหญิงจารุวรรณ ดึงดันตั้งทีมที่ปรึกษากฎหมายจ้องล้มผลสอบกรมสรรพากรช่วยโกงภาษีดีลชินคอร์ป

รายงานข่าวจากศาลปกครองสูงสุด วานนี้ (6 ก.ย.) แจ้งว่า ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งลงวันที่ 4 ก.ย. 2549 รับคำฟ้องที่มูลนิธิคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค เป็นโจทก์ที่ 1 กับพวกรวม 5 คน นำโดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิฯ และน.ส.รสนา โตสิตระกูล ว่าที่ส.ว.กทม. ที่ได้ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี (ครม.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และนายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวม 3 คน

โดยคำฟ้องได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฏ.) กำหนดอำนาจสิทธิประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพ.ร.ฏ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมาย ว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 โดยกำหนดให้เป็นคดีหมายเลขดำที่ ฟ.47/2549 และมีคำสั่งลงวันที่ 6 กันยายน 2549 ให้ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รมว.พลังงาน จัดทำคำให้การแก้คำฟ้องยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว

ขณะเดียวกัน คำสั่งดังกล่าวได้ระบุว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว ขอให้ผู้เกี่ยวข้องพึ่งงดเว้น และระมัดระวังการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอข่าวหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะเป็นการชี้นำ การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอันอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือดูหมิ่นศาลหรือตุลาการ

ด้านน.ส.สารี กล่าวภายหลังที่ศาลรับคำฟ้องว่า มูลนิธิฯ จะได้เตรียมในเรื่องของข้อมูลเพิ่มเติม เพราะคำฟ้องที่ยื่นไปนั้นเสนอในประเด็นหลักการเยอะ แต่ยังขาดในเรื่องของรายละเอียด รวมทั้งจะขอดูคำให้การของการแก้คำฟ้องของครม. นายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ที่ส่งให้ศาลปกครองสูงสุดว่า จะมีคำคัดค้านหรือแย้งในประเด็นใดหรือไม่

“รู้สึกขอบคุณที่ศาลรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา และขณะนี้ไม่อยากให้ทางฝ่ายรัฐบาลออกมาพูดในลักษณะว่า หากจะมีการนำปตท.กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น รัฐจะต้องสูญเงินงบประมาณในการซื้อคืนจำนวนมาก ควรจะรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดก่อนว่าจะออกมาอย่างไร เพราะถ้าออกมาแล้วทุกฝ่ายก็จะต้องปฏิบัติตาม ใครที่เป็นคนผิดก็จะต้องรับผิดชอบ”

ด้าน น.ส.รสนา กล่าว่า เรื่องนี้ขั้นตอนยังอยู่ในกระบวนการของศาล ดังนั้นควรที่จะรอฟังคำพิจารณาของศาล โดยหลังจากนี้ตนได้รับการประสานจากรายการโทรทัศน์และสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงถึงข้อมูลในการแปรรูปปตท. ซึ่งอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีข้อมูลนำข้อมูลมายันกันว่า ฐานะปตท.ควรอยู่ตรงไหนระหว่างรัฐวิสาหกิจและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะต้องรับมากที่สุด

ทั้งนี้ หากศาลมีคำวินิจฉัยให้การแปรรูปปตท.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นคืนและให้ปตท.กลับมาอยู่ในการครอบครองของรัฐนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ผลักดันให้มีการแปรรูปปตท.

“การซื้อหุ้นคืนรัฐบาลต้องซื้อคืนอย่างแน่นอน แต่ต้องซื้อในราคาพาร์ เพราะที่ผ่านมา 4-5 ปี ผู้ถือหุ้นได้กำไรไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายต้องมาตกลงกัน เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ การที่จะให้รัฐบาลควักเงินออกจากกระเป๋า ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ไปซื้อหุ้นในราคาตลาด ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นก่อนจะถึงกระบวนการดังกล่าว เราควรเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนดีกว่า”

น.ส.รสนา กล่าวเพิ่มเติมว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตน่าจะมีกฎหมายที่ควรเอาผิดกับผู้นำ และผู้ที่ใช้อำนาจทางกฎหมายดำเนินการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะนักการเมืองที่ชอบรับผลประโยชน์ แต่ไม่มีความรับผิดชอบ

“เราจะต้องเอาผิดกับผู้นำที่มักจะรับแต่ชอบแต่ไม่รับผิด คือเมื่อกระทำผิดแล้วมักจะลาออกอ้างเป็นการรับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะเมื่อรับผิดแล้ว ต้องรับผิดชอบในส่วนที่เสียหายด้วย ดังนั้นในกรณีของปตท. ผู้ที่ผลักดันให้ปตท.เข้าตลาดหุ้น ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น”

ทนงยันเดินหน้าแปรรูปรสก.

ด้านนายทนง พิทยะ รักษาการ รมว.คลัง ให้ความเห็นกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหนังสือถึงศาลปกครองสูงสุดเพื่อชี้แจงผลกระทบถ้าหากศาลจะเพิกถอนหุ้นปตท. PTT ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้มูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดลงถึง 6 แสนล้านบาท ว่าคงไม่เป็นการชี้นำศาลแต่อย่างใด เป็นเพียงการชี้แจงผลกระทบที่เกิดขึ้นเท่านั้น พร้อมยืนยันการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องเดินหน้าต่อไป แต่ต้องดำเนินการคำสั่งของศาลและตามขั้นตอนอย่างถูกต้องโปร่งใส

โดยก่อนหน้านี้ นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำหนังสือไปยังศาลปกครองสูงสุด เพื่ออธิบายถึงผลกระทบหากมีการถอดถอนปตท.ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน จะส่งผลกระทบในวงกว้างและร้ายแรงต่อตลาดหุ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากบริษัทปตท.เป็นหลักทรัพย์ที่สำคัญ เพราะเป็นหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมหรือมาร์เกตแคปขนาดใหญ่ และจะมีผลต่อการเข้าจดทะเบียนของหลักทรัพย์รายอื่นๆ อีกด้วย

ขณะที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปตท. ยังคงสถานะในการเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมกว่า 68% และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการบริหารงานอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมถึงการทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างเต็มที่ พร้อมระบุว่าหากถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้มาร์เกตแคปตลาดหายไปประมาณ 6 แสนล้านบาท จากมาร์เกตแคปตลาดรวมอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท

สำหรับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. ได้ออกมาแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับการกระทำของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ว่า ปตท.แปรสภาพเป็นบริษัทจดทะเบียนแล้วไม่น่าจะเดินถอยหลัง และยังนึกไม่ออก ถ้าหากให้ ปตท.เข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจใหม่จะมีมาตรการอะไรรองรับ เนื่องจากมีการกระจายหุ้น ปตท.ไปให้นักลงทุนต่างประเทศด้วย

“หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนหุ้นปตท. ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าปตท.จะต้องใช้เงินประมาณ 3.61 แสนล้านบาท ทำค่าเสนอซื้อหุ้นจากรายย่อย (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ในราคาหุ้นละ 272 บาท ขณะที่ตอนนำหุ้นเข้าตลาดปตท.ได้เงินเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น”

ด้านผลการดำเนินงานล่าสุด ประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ปตท. มีกำไรสุทธิ 31,658.15 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 11.32 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 18,354.68 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.56 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 13,303.47 ล้านบาท คิดเป็น 72.48%

ขณะที่งวด 6 เดือน กำไรสุทธิ 55,380.94 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 19.80 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 44,350.58 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 15.86 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 11,030.36 ล้านบาท คิดเป็น 24.87%

คตง.หักคุณหญิงจารุวรรณดึงดันตั้งทีมที่ปรึกษาฯ

ในวันเดียวกัน นายเกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยภายหลังการประชุมของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)วานนี้ (6 ก.ย.) ว่า ในที่ประชุมไม่ได้หยิบยกวาระที่นายนรชัย ศรีพิมล ประธานคตง.ได้เสนอให้ตั้งอนุกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย คตง. เพราะคตง.ได้เห็นชอบไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่เพราะคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แสดงความไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้จึงเสนอให้ คตง. แต่ละคนชี้แจงเหตุผลว่าเพราะเหตุใดถึงต้องการให้บุคคลทั้ง 7 เป็นคณะอนุกรรมการ

“ระหว่างที่ คตง. บางคนกำลังชี้แจงเหตุผลอยู่นั้น นายนรชัย ได้พูดตัดบทขึ้นมาว่าให้ยกเลิกการชี้แจงดังกล่าว โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าให้คุณหญิงจารุวรรณทราบไว้ว่า คตง. มีความต้องการแต่งตั้งเท่านั้น และทำการเปลี่ยนไปพิจารณาเรื่องอื่นๆ แทน” นายเกรียงศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ คตง.อ้างว่า การแต่งตั้งอนุกรรมการฯ ชุดนี้ ไม่ได้แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาการตรวจสอบการเก็บภาษีของกรมสรรพากรกรณีซื้อขายหุ้น บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่นเท่านั้น แต่คตง. มีวาระที่ต้องใช้การพิจารณาทางข้อกฎหมายมาก ซึ่งการที่จะไปปรึกษาแต่สำนักกฎหมายของ สตง. เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมา สำนักกฎหมาย สตง. ก็เคยทำการให้คำปรึกษาผิดพลาด จนทำให้นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ถึงขั้นติดคุก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายนรชัย ได้เสนอให้คุณหญิงจารุวรรณเห็นชอบให้ คตง. สามารถแต่งตั้งข้าราชการจาก สตง. เข้ามาเป็นเลขาของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาชุดดังกล่าวเองได้ ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณมองว่านายนรชัยอาจจะแต่งตั้งบุคคลที่สนิทสนมกับตัวเองมาเป็นเลขาคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวนั่นเอง

“ขณะนี้ผมคิดว่าคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาข้อกฎหมาย คตง. คงต้องเกิดขึ้นแน่ๆ เพียงแต่ต้องให้ประธานคตง.และผู้ว่าสตง.สร้างความชัดเจนและหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวให้เป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้เท่านั้น ดังนั้นรายชื่อที่ถูก คตง. เสนอให้มาเป็นคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวทั้ง 7 ท่าน ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งคุณหญิงจารุวรรณก็อาจจะเป็นผู้เลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นเลขาในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้ด้วย”นายเกรียงศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us