เมื่อครั้ง ที่เศรษฐกิจเอเชียยังบูม กระแสการค้าเสรีดูเหมือนจะเตรียมทะลายกำแพงภาษีทั่วภูมิภาคนี้ลง
และแม้กระแสดังกล่าวอาจจะเข้มข้นน้อยลงไปบ้างเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปีพ.ศ.
2540-2541 แต่การเปิดการค้าเสรีก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากอยู่ดี
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเปิดการค้าเสรีมีทีท่าจะหยุดชะงักงันลงอีกครั้ง ทั้งนี้เห็นได้จากการที่บรรดาผู้นำประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้
ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค ที่ประเทศบรูไน
สาเหตุสำคัญ ที่บรรดาผู้นำเอเชียพากันนิ่งเงียบ ก็เพราะภูมิภาคนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั่นเอง ยิ่งกว่านั้น ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงสุดในรอบทศวรรษ
ขณะที่ราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกในเอเชียลดลง ซ้ำร้าย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็ลดลงมาอยู่
ที่ราว 62% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
ที่การค้าเสรีจะเป็นประเด็น ที่มีความสำคัญน้อยลงในสายตาของผู้นำประเทศเอเชียหลายประเทศ
ที่ผ่านมา ผู้นำของเอเชียมักอ้างเหตุผลนานาประการในเรื่องความล่าช้าของการเปิดการค้าเสรี ที่ซ่อนอยู่หลังการตั้งกำแพงภาษี
และในการประชุมเอเปค ที่บรูไนต่างก็แสดงท่าทีปกป้องตนเองในเรื่องข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตก
"การแบ่งแยกเรื่องดิจิตอลกำลังจะเป็นข้ออ้างข้อใหม่ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางในเรื่องอี-คอมเมิร์ส"
โรเบิร์ต จี ลีส์ เลขาธิการคณะมนตรีเศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิกในฮอโนลูลู กล่าว
ทั้งนี้ มาเลเซียได้สั่งห้ามธนาคารต่างชาติให้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกไปแล้ว
โดยที่ซิตี้แบงก์ก็เพิ่งเริ่มทำตลาดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศเอเชียอื่นๆ
ส่วน ที่อินโดนีเซียก็ได้สั่งห้ามการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการประเภทดอทคอม
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ดำเนินการไปก่อนหน้าแล้ว
ยิ่งกว่านั้น บางประเทศก็ได้ลืมเลือนภาระผูกพัน ที่มีมาก่อนหน้าแล้ว อย่างในเรื่องการสนับสนุนการสร้างชื่อยี่ห้อสินค้าในกลุ่มอาเซียน
ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วกำหนดให้บริษัทข้ามชาติชำระภาษีเพียงครั้งเดียว เมื่อมีการนำเข้าชิ้นส่วนประกอบหรือสินค้า
ที่ยังไม่ได้แปรรูปเข้ามายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานหรือสายการผลิต
โดยที่บริษัทเหล่านั้น สามารถขนส่งสินค้าโดยปลอดภาษีไปยังประเทศต่างๆ ทั้ง
10 ประเทศ ที่เป็นชาติสมาชิกของกลุ่มอาเซียน
การสนับสนุนดังกล่าวยังไม่เคยเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จาก ที่ โมโตโรลา อิงค์ต้องชำระภาษีนำเข้าโทรศัพท์มือถือจากสิงคโปร์ให้กับรัฐบาลมาเลเซียถึง
34% ส่วนซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ก็กล่าวว่าบริษัทได้เสียภาษีจอภาพ ที่ผลิตในสิงคโปร์ให้กับรัฐบาลอินเโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสายการผลิตโทรทัศน์สำหรับตลาดในประเทศ
อย่างไรก็ตาม บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ยินยอมเสียภาษีมากกว่า ที่จะต้องเสียเวลานานนับปีกับความล่าช้าในการได้สิทธิพิเศษทางภาษี
ทิศทางการค้าเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีแนวโน้มแย่ลงไปอีกเมื่อสิงคโปร์เตรียม ที่จะลงนามในข้อตกลงการค้าสองฝ่ายร่วมกับญี่ปุ่น
ทั้ง ที่สองประเทศไม่ได้เป็นคูแข่งสำคัญทางการค้าในภาคสินค้าใด ที่สำคัญ อย่งเช่น
ด้านการเกษตร ซึ่งญี่ปุ่นค่อนข้างปกป้องสินค้าเกษตรของตนอย่างสูง การลงนามร่วมกันดังกล่าวจึงนับเป็นการไม่สมเหตุสมผลในกรอบขององค์การการค้าโลก
(ดับบลิวทีโอ) และของอาเซียนด้วย อีกท้งยังอาจทำให้ผู้นำเอเชียบางคนประวิงเวลาในการเปิดตลาดการค้าต่อไปอีก
" ที่ผมกลัวก็คือ ผู้นำเอเชียจะออกมาบอกว่า "เราจะรอจนกว่าจะเห็นว่าประเทศอื่นเขาดำเนินการอย่างไร"
" ลีส์บอก
เป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่า การผ่าทางตันในประเด็นการเปิดการค้าเสรียังต้องใช้เวลาอีกนาน
ยิ่งกว่านั้น เอเชียจะต้องรวบรวมความมุ่งมั่นทางการเมือง และปรับปรุงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นเสียก่อน
แต่ทั้งสองสิ่งก็คงยังไม่บรรลุผลสำเร็จในเร็วๆ นี้