Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กันยายน 2549
การเมืองฉุดจีดีพีตกฟิทซ์ลดศก.ไทยตามหลังคู่แข่งในเอเชีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย), บจก.
Economics




" ฟิตช์ เรตติ้งส์ "บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ระบุ ความปั่นป่วนผันผวนทางการเมือง และการส่งออกซึ่งกำลังอ่อนปวกเปียก ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศไทยมีอัตราเติบโตตามหลังคู่แข่งในเอเชียด้วยกันด้านนายแบงก์ประสานเสียง ปีหน้าปรับลดดอกเบี้ย 0.25-0.5 % พร้อมสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัว ฟันธง ประชุมกนง.หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ มองเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เริ่มมีแรงกดดันน้อยลง

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ทบทวนลดตัวเลขคาดหมายอัตราเติบโตของไทยประจำปีนี้ลงมาเหลือ 4.3% จากที่เคยให้ไว้ 5.0% พร้อมกับบอกด้วยว่า ความไม่แน่นอนต่างๆ ทางการเมือง ได้เป็นสาเหตุให้ประเทศไทย "สูญเสียเวลา 1 ปี" ไปในทางการคลัง

ฟิตซ์นั้นพยากรณ์อัตราเติบโตเฉลี่ยของเอเชียในปีนี้ไว้ที่ 5.4% โดยที่ทำนายว่าเวียดนามจะขยายตัวถึง 7.8% ติดตามด้วยสิงคโปร์อยู่ที่ 7.0% และอินโดนีเซียกับมาเลเซียอยู่ที่ 5.2%

นอกจากนั้น ฟิตซ์ยังคาดหมายอัตราเติบโตของไทยในปีหน้า ว่าจะอยู่เพียงแค่ 4.6% ซึ่งยังคงต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของเอเชียอันพยากรณ์ไว้ที่ 5.1%

"ความปั่นป่วนผันผวน (ทางการเมือง) กำลังเป็นสาเหตุทำให้การลงทุนภาคเอกชนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดฮวบลงอย่างเลวร้าย" นายเจมส์ แมคคอร์แมค ผู้อำนวยการฝ่ายจัดเรตติ้งภาครัฐเอเชียของฟิตช์ กล่าวในรายงาน พร้อมกับบอกต่อไปว่า เรื่องนี้ "สะท้อนให้เห็นผลกระทบด้านลบที่สถานการณ์ทางการเมืองก่อให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย"

"เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดสำหรับประเทศไทยที่จะต้องแก้ไขบรรดาประเด็นปัญหาภายในประเทศของตน เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถผงาดขึ้นมาได้ในปีหน้า" นายแมคคอร์แมคย้ำ

"ถ้าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกรอบโครงนโยบายของรัฐบาล ยังคงไม่ได้การแก้ไขแล้ว เราก็อาจต้องทบทวนลดตัวเลขอัตราเติบโตระยะสั้นของประเทศไทยกันอีก" เขาเตือน

นอกจากสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ฟิตช์ยังกล่าวโทษเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการแข็งค่าของเงินค่า ว่ากำลังทำให้ยอดส่งออกของไทยย่ำแย่

"เศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังอ่อนแอลงเรื่อยๆ จะเป็นสาเหตุทำให้การส่งออกของเอเชียเริ่มลดต่ำในช่วงเวลาหลายๆ เดือนต่อจากนี้ไป" นายแมคคอร์แมคบอก

ขณะเดียวกัน เขาชี้ด้วยว่า ความรุนแรงทางการเมืองทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจส่งผลให้ตลาดภายในประเทศทรุดตัวลง

"ความไม่สงบอันยืดเยื้อในภาคใต้ คือสถานการณ์ซึ่งรัฐบาลจะต้องเอาใจใส่ (เพื่อ) ปรับปรุงยกระดับเสถียรภาพภายในประเทศ" นายแมคคอร์แมคย้ำ

ประสานเสียงปีหน้าลดดอกเบี้ย

นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)ในวันนี้ เชื่อว่าไม่น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก โดยคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5% เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงทำให้แรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของทางการลดลง และคาดว่าปีนี้ กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5%

ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปีหน้าคาดว่าทางการน่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยคาดว่าทั้งปีจะลดลงประมาณ 0.25-0.5% โดยการปรับลดครั้งนี้อาจจะเป็นการปรับลดก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยปรับขึ้นก่อนประเทศอื่นและเป็นการปรับในสัดส่วนที่มาก ทำให้ทางการน่าจะลด อัตราดอกเบี้ยลงก่อนประเทศอื่น ขณะที่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์น่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยลงในช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป

"แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกในปีหน้าจะเข้าสู่ภาวะที่เป็นการปรับลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว" นายบันลือศักดิ์ กล่าว

ด้านนางสาวอังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานนโยบาย ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)ในวันนี้ ว่าน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลงและสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง ทำให้แรงกดดันในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้าหรือประมาณไตรมาสแรก เชื่อว่าน่าจะมีการปรับลดลงได้ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อน้อยลงเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา

ทั้งนี้การลดลงของอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของธนาคารซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่สูง การเติบโตของสินเชื่อที่ยังมีการขยายตัวไม่มาก ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยลดลงจะทำให้สินเชื่อเติบโตได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันและอาจจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอตัวและภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวไม่มาก รวมทั้งการเลือกตั้งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ จะทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารไม่น่าจะปรับขึ้นสูงกว่าปัจจุบัน

นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เชื่อว่าหากราคาน้ำมันเริ่มมีแนวโน้มลดลงก็จะส่งผลให้ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ประกอบกับการขยายตัวของสินเชื่อก็จะเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม

ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)หรือ (KBANK) กล่าวว่าในต้นปีหน้า น่าจะเห็นการปรับดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐน่าจะปรับลดลงในปีนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับลดลงตาม โดยอัตราดอกเบี้ยในปลายปีหน้าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5.00

ทั้งนี้หากแนวโน้มของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยในประเทศยังปรับตัวสูงขึ้นก็จะส่งผลให้การขยายสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปีหน้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อได้ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวถือเป็นแรงกดดันให้การปล่อยสินเชื่อ ตลอดจนการขอกู้ลดลง

อย่างไรก็ตามในส่วนของธนาคารกสิกรไทย จะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อผู้บริโภคให้มากขึ้นเป็นพิเศษ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อประเภทอื่นด้วย โดยธนาคารจะเน้นการจัดหาสินเชื่อที่เหมาะสมให้กับลูกค้าหรือผู้กู้ให้มากขึ้น และเหมาะสมกับความต้องการของผู้กู้แต่ละกลุ่ม

"จากนี้ไปธนาคารพาณิชย์จะต้องระมัดระวังการปล่อยกู้ ให้เหมาะสมกับผู้กู้ในแต่ละคนมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อผู้บริโภคที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ" นายประสาร กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us