Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537
"สวรรค์ในกองหญ้า"             
 


   
search resources

ลิมเม็กซ์
ลิน ดิงจ์ ซัง




กลิ่นหอมสดชื่นคล้ายกลิ่นของหญ้าที่ถูกตัดใหม่ ๆ อบอวลทั่วสำนักงานใหญ่ของ ลิน ดิงจ์-ซัง ในเมืองซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้านนอกของสำนักงานแห่งนี้ มีลังไม้ขนาดใหญ่ที่บรรจุหญ้า "อัลฟาตา" อยู่เต็ม

"คนที่แวะมาออฟฟิศ เขามักจะถามว่า 'คุณมาทำอะไรที่นี่ ในเมืองซาน ฟราสซิสโก กับหญ้าพวกนี้ คุณท่าจะบ้าอย่างแน่นอน'" ลิน เถ้าแก่ชาวไต้หวัน เล่าให้ฟัง

คนที่ไม่เชื่อถือในสิ่งที่ลินทำอยู่อาจหัวเราะอยู่ในใจ แต่สำหรับลิน การหัวเราะทีหลังย่อมส่งเสียงได้ดังและยาวนานกว่า

ธุรกิจของลินในขณะนี้มีมูลค่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือว่าเป็นบริษัทใหญ่อันดับสามที่ส่งออกหญ้าอัลฟาตาไปญี่ปุ่น ธุรกิจของเขาเป็นแบบครบวงจรในแนวดิ่งคือ นอกจากบริษัทส่งออกหญ้าแล้วยังมีโรงงานผลิตหญ้าที่ซาเล็มและโอเรกอน รวมทั้งเป็นเจ้าของกิจการรถบรรทุกขนส่งด้วย

กลุ่มลูกค้าของลินคือ ธุรกิจปศุสัตว์ในเอเซียที่ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงสำหรับม้าและวัว

"สัตว์พวกนี้กินไม่หยุด" ลินพูดด้วยน้ำเสียงพึงพอใจมาก ในขณะที่สอดมือทั้งสองคู่เข้ากระเป๋ากางเกงยีนส์

นับวันชาวเอเซียจะหันมาบริโภคเนื้อวัวและดื่มนมมากขึ้น แต่หญ้าที่ใช้เลี้ยงวัวให้อ้วนและสร้างน้ำนมยังมีปริมาณน้อยมาก ที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่ารัฐแคลิฟอร์เนียถึง 10 เท่าแต่ที่ดินมีราคาสูงถึง 80,000 เหรียญสหรัฐต่อเอเคอร์หรือแพงกว่า 40 เท่าเมื่อเทียบกับราคาที่ดินของแคลิฟอร์เนีย

"ความต้องการดื่มนมของชาวญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ชาวนาก็ไม่มีกำลังเงินพอที่จะซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายฟาร์ม" ทัสซุโอะ มิวาผู้จัดการสำนักงานประจำซานฟรานซิสโก ของ JAPAN'S NATIONAL FEDERATIVE ASSOCIATIONS กล่าว

ปัญหาที่ดินราคาแพง ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นต้องหาซื้อหญ้าจากต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาส่งออกหญ้าเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวจาก 283,000 เมตริกตันในปี 1980 เป็น 553,853 ตันในปี 1991

"เราไม่มีทางเลือกเราต้องการอาหารแต่ไม่มีปัญญาจะปลูกหญ้าเอง" เคน ไล ผู้จัดการของ "คานาเมตสุ แคนาดาอิงค์" ที่โตเกียวกล่าว

ลิน ในขณะนี้มีอายุ 43 ปี หลังจากจบการศึกษาที่ TAMSUI OXFORD COLLEGE ที่ไต้หวันแล้ว เขาย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ในปี 1981 และได้ลงเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยยูทาห์ และที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เขามีโอกาสรู้จักกับเจ้าของไร่คนหนึ่งจากรัฐเนวาด้า ชาวไร่ผู้นี้ได้ชักชวนให้เขาอยู่และทำงานให้ในฐานะผู้จัดการทั่วไปดูแลเรื่องการผลิตและการส่งออกหญ้าฟาง

หลังจากนั้นไม่นาน ลินและพี่ชายที่มีอายุมากกว่าเขา 2 ปี ชื่อว่า จิม ซึ่งเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยยูท่าห์เช่นกัน ได้ร่วมกันทำธุรกิจค้าหญ้าฟางต่อมาปี 1980 สองพี่น้องได้รับข้อเสนอจากชาวไร่ผู้นั้นให้สินเชื่อที่มีอายุการชำระหนี้ 30 วัน ทั้งคู่รวมทั้งพี่ชายคนโต-เควิน ซึ่งขณะนี้อายุ 47 ปี จึงตัดสินใจตั้งบริษัท ลิน คิวบิ้ง ขึ้นในปี 1982 และเริ่มส่งออกหญ้าฟางโดยทางเรือให้ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก

ปัจจุบัน ลิน รับซื้อหญ้าจากชาวไร่ทั้งหมด 20 ราย ที่อาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ไอดาโฮ เนวาด้า โอเรกอนและยูท่าห์ ยอดขายได้เพิ่มสูงขึ้นตาก 70,000 เหรียญสหรัฐในปี 1985 เป็น 12 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 1993

ปี 1985 ลินได้แยกตัวออกมาตั้งบริษัทเอง ชื่อว่า "ลิมเม็กซ์" ลินอึกอักที่จะเปิดเผยข้อขัดแย้งกับพี่ชายทั้งสอง เขาบอกเพียงแต่ว่า เขาต้องการให้ธุรกิจเติบโตให้เร็วกว่าที่พี่ชายวางแผนไว้

"วิถีการทำงานของเราแตกต่างกัน ผมต้องการชาวไร่มากขึ้นและต้องการขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้นด้วย" ลิน ให้เหตุผลของการแยกตัว

"เดวิตเป็นคนฉลาดและดุดันมากในการทำธุรกิจเขามีเซ็นต์ทางธุรกิจ ส่วนพี่ชายของเขาก็เป็นคนคมเหมือนกัน แต่ค่อนข้างจะคอนเซอร์เวทีฟ" เคน ไล พูดถึงสามพี่น้อง ซึ่งเขาเคยทำธุรกิจด้วยและเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งสามคน

แม้ว่าพี่ชายทั้งสองจะมีความเห็นไม่ลงรอยกับลินก็ตาม แต่หุ้นในส่วนของลินในบริษัทก็ยังไม่ขายให้ผู้ใด พี่ชายของลินยังทำธุรกิจส่งออกหญ้าฟางไปญี่ปุ่นเช่นเดิม ยอดขายปีที่ผ่านมาของบริษัทสูงเกือบถึง 5 ล้านเหรียญสหรัฐ

"ผมรู้ว่า ดิงจ์-ซังกำลังทำอะไรอยู่ เช่นเดียวกับที่เขารู้ว่าเราทั้งสองทำอะไรอยู่เช่นกัน เราเพียงแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่มิใช่ว่าเราจะสามารถผลิตหญ้าได้มากจนบีบเขาให้เลิกทำธุรกิจนี้ได้" จิมกล่าว

ลินมีวิธีการผูกสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างชาวอเมริกันและชาวเอเชีย ด้วยการพาชาวไร่อเมริกันให้รู้จักชาวไร่ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง

"ผมไม่ได้มีอาชีพเป็นนายหน้า ผมเป็นพ่อค้าผมต้องการสอนให้ชาวไร่อเมริกันรู้จักชาวญี่ปุ่นและรู้ว่าชาวญี่ปุ่นต้องการอะไร" ลินพูดด้วยน้ำเสียงแรียบๆ

สิ่งที่คนญี่ปุ่นต้องการมากอันดับหนึ่ง คือ คุณภาพ หญ้าอัลฟาต้า จะอุดมด้วยแร่ธาตุ โปรตีนและวิตามิน ฉะนั้นเวลาจัดส่งต้องระวังเรื่องความชื้นเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้น จนสามารถทำลายสินค้าทั้งหมดที่ต้องเสียเวลาถึงสองอาทิตย์ในการขนส่งข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค

ก่อนที่หญ้าจะถูกบรรจุในคอนเทนเนอร์ ต้องนำมัดฟางมาอัดแน่นให้ได้ขนาด 5 ลูกบาศก์เซ็นติเมตรในการขนส่งทางเรือแต่ละครั้งจะบรรจุได้ 10-27 ตันต่อหนึ่งคอนเทนเนอร์

"อย่างนี้ซิ ถึงจะเรียกว่าเป็นหญ้าชั้นเยี่ยม" ลินพูดพร้อมกับใช้นิ้วชี้ขยี้หญ้าที่อัดแน่นแล้ว

"คนญี่ปุ่นจะเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่าคนอเมริกัน เวลาคุณซื้อแฮมเบอร์เกอร์ที่นี่ คนขายก็จะยื่นแฮมเบอร์เกอร์ให้ แล้วคุณก็รับไป สำหรับที่ญี่ปุ่นการซื้อแฮมเบอร์เกอร์ หนึ่งชิ้น คนญี่ปุ่นจะคำนึงถึงคุณภาพและรูปลักษณ์ของมันด้วย นี่เป็นวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น" ลินสาธยาย

เมื่อมาดูตลาดขายเนื้อที่โตเกียว คำกล่าวของลินค่อนข้างเป็นจริง เพราะราคาเนื้อวัวที่นี่ 60 ดอลล่าร์ต่อหนึ่งกิโลกรัมซึ่งแพงกว่าที่ขายกันในสหรัฐอเมริกา 10 เท่าตัว

ลินกำลังเตรียมบรรจุหญ้าลงคอนเทนเนอร์สำหรับการส่งงวดต่อไป เป็นหญ้าที่ได้มาจากซานฟรานซิสโกบนเนื้อที่ 8 เฮกตาร์ นอกจากนี้แล้วเขากำลังเตรียมส่งออกเนื้อวัวให้ญี่ปุ่น เมื่อปี 1992 เขาส่งออกเนื้อวัว 30 คอนเทนเนอร์ มีมูลค่า 1.5 ล้านดอลล่าร์

ลินพยายามขยายธุรกิจสู่ประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่น ที่ไต้หวันก็เริ่มมีความต้องการมากขึ้น มีสัดส่วนของตลาดประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์จากยอดขายทั้งหมดในขณะนี้ นอกจากนี้แล้วลินยังเข้าไปช่วยเหลือชาวไร่ในเมืองจีนพัฒนาคุณภาพหญ้า

"มีคนจำนวนไม่มากนัก ที่กำลังทำในสิ่งที่ผมทำอยู่ และบริษัทของเราก็จะเติบโตมากยิ่งขึ้นทุก ๆ ปีด้วย" ลินกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us