Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537
"บันไดสู่ไฮเทค"             
 

   
related stories

"ธุรกิจไฮเทคฯ ผู้บุกเบิกแห่งเอเซีย"
"เทคโนโลยีแห่งอนาคตกาล"

   
search resources

Electronic Components




ประเทศต่าง ๆ และบริษัทหลายแห่งในเอเชียกำลังพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่เพื่อเข้าสู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูง

ตอง-เอ ฟามาซูติคอล ไม่ใช่บริษัทระดับโลก เมื่อพิจารณาจากผลประกอบการในปี 1992 ซึ่งเท่ากับ 247 ล้านดอลลาร์ ทำให้ตอง-เอกลายเป็นผู้ผลิตยาที่ใหญ่ที่สุดนอกกลุ่มแชโบล (กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้) นอกจากนี้ความพยายามด้านชีวเทคโนโลยีของบริษัทแห่งนี้ก็แสดงผลให้เป็นที่ประจักษ์กันมาบ้างแล้ว รวมทั้งการทดสอบเชื้อไวรัสเอดส์กับคนที่เป็นเอดส์ทั่วเกาหลีเมื่อปีที่แล้วทำให้ได้ค้นพบไวรัส 2 ชนิดที่มีอันตรายถึงตายได้

"แต่เรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ เพื่อทำการวิจัยขั้นพื้นฐานอยู่" ยี เปียง กุก กรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างประเทศกล่าวพร้อมกับถอนหายใจ

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เมื่อไหร่ที่ช่องว่างทางเทคโนโลยีถึงจะถูกอุดลงได้ รัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคนี้ต่างหันไปใช้วิธีการเดียวกันกับที่ญี่ปุ่นใช้นั่นคือ การวางนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี

อย่างไรก็ดี "ยังไม่มีคาถาสำหรับความสำเร็จ" อิไม คาเนอิชิโร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ของสมาคมเพื่อการศึกษาด้านวิศวกรรมแห่งญี่ปุ่น (เจเอสอีอี) กล่าว

สิ่งที่แน่นอนเพียงอย่างเดียวก็คือ เทคโนโลยีขั้นสูงจะเป็นกุญแจไขไปสู่ความสำเจริญเติบโตในอนาคต และภายในปี 2000 ตลาดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกก็อาจจะขยายตัวถึง 900,000 ล้านดอลลาร์

นักเทคนิคในประเทศแถบเอเชียต่างก็พร้อมแล้วที่จะเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดด้านนี้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ของไต้หวันราว 200 แห่ง ได้เข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของโลกได้ 14% ในปี 1992 แต่ก็มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น อทิ เอเชอร์ อิงค์ที่ก้าวเข้าสู่ธุรกิจมัลติมีเดียแล้วอย่างจริงจัง

ฮวง ชินเหยียง รองผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการตลาดของรัฐบาลอธิบายให้ฟังว่า "เมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นและเกาหลีแล้ว การลงทุนของเรายังนับว่าต่ำมาก"

บริษัทของไทยยิ่งตกอยู่ในสถานะที่ย่ำแย่มากกว่า ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า ปกติแล้วบริษัทเอกชนให้ความสนใจกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และโฆษณามากกว่าการพัฒนาและวิจัย แต่ข้อบกพร่องที่แท้จริงอยู่ที่การที่รัฐบาลละเลยด้านการศึกษา

"เราขาดแคลนแรงงานมีฝีมืออย่างมาก ปีหนึ่งเราผลิตได้เพียง 4,000 คนเท่านั้น แต่เราต้องการเพิ่มมากกว่านั้นเป็น 2 เท่า ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นทั่วไปในเอเชีย" ยงยุทธกล่าวเตือน

นอกเหนือไปจากการที่ไม่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาและภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือแล้ว ยังมีปัญหาสำคัญอีกอย่างที่ต้องขบคิดกันให้หนักแน่นนั่นก็คือ การที่บริษัทต่างประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยลำพองใจเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตใช้เทคโนโลยีแก่ชาติเอเชียที่กำลังร่ำรวย เริ่มตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมาภายหลังโดยอิมาอิได้ตั้งคำถามไว้ว่า "ถ้าการถ่ายทอดเทคโนโลยีทำให้ประเทศที่รับถ่ายทอดกลายมาเป็นคู่แข่ง คุณยังจะส่งเทคโนโลยีให้กับประเทศนั้นหรือเปล่า"

อย่างไรก็ดี ยังดีที่มีแสงแห่งความหวังให้เห็นบ้างลาง ๆ มาที่สิงคโปร์ สถาบันโมเลกุลลาร์ และเซลล์ ไบโอโลจี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับเงินทุนจากรัฐบาล โดยมีหน้าที่หลักในการศึกษาการเติบโตและพัฒนาการของเซลล์ อันเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจกลุ่มเชื้อโรคและมะเร็ง "คุณภาพเชิงวิทยาศาสตร์ของเราทัดเทียมกับคุณภาพที่ดีที่สุดของตะวันตกได้สบาย" วาย เอช. ถาน หัวหน้าสถาบันกล่าว

ขณะเดียวกันรัฐก็ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมอีกแรงในรูปแบบต่าง ๆ สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติของมาเลเซียได้จัดสรรเงินทุนมูลค่า 240 ล้านดอลลาร์ต่อปีในรูปของเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า โดยตั้งเป้าไว้ที่งานด้านการวิจัยและพัฒนา แต่อาวุธชิ้นเยี่ยมที่สุดก็คือโครงการสร้างนิคมวิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นตัวชูโรงที่จะดึงดูดต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน

บางทีนิคมวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็คือที่เมืองชินชู ในไต้หวัน โดยมีเนื้อที่โครงการขนาด 380 เฮกตาร์ และในไม่ช้าจะมีการขยายออกไปอีก 200 เฮกตาร์ โครงการนี้ดึงดูดบริษัท หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของรัฐกว่า 150 แห่ง หลังจากเปิดตัวโครงการเมื่อปี 1980 บริษัทหลายแห่งต่างมารุมตอมนิคมแห่งนี้เพราะรัฐให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเช่าที่ดิน และยังมีระยะปลอดภาษี 5 ปีด้วย

ชินชูได้รับความสนใจอย่างมากถึงขนาดกระทรวงเศรษฐกิจต้องทุ่มเงินราว 600 ล้านเหรียญเพื่อสร้างนิคมซอฟต์แวร์ในนานกิง เจ้าหน้าที่ของกระทรวงประเมินว่า ภายในปี 2001 ไต้หวันจะขายโปรแกรมต่าง ๆ ได้กว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ไต้หวันขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลก

มาเลเเซียเองก็ไม่ยอมน้อยหน้า โดยตอนนี้มีการวางแผนสร้างนิคมแบบนี้แล้ว 3 แห่ง หนึ่งในจำนวนนั้นคือเทคโนโลยี ปาร์ค มาเลเซีย ซึ่งได้รับการออกแบบไว้เพื่อ "เลี้ยงดู" บริษัทที่เน้นงานด้านวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ยังเดินเตาะแตะอยู่ แม้แต่ในฮ่องกงก็ยังไดเปิดศูนย์เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมแห่งฮ่องกงขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว โดยรัฐให้เงินช่วยเหลือ 32 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาและวิจัย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยผู้เข้าร่วมโครงการไฮ-เทคได้ถึง 80 ราย

ถ้าจะว่าไปแล้ว แค่นี้ก็นับว่าดีมากแล้ว เพราะการเข้ามาอุดช่องว่างที่ธุรกิจข้ามชาติไม่สามารถเข้ามาเติมเต็มได้นี้ คงจะทำกำไรได้ภายในหนึ่งทศวรรษ แต่ถานเองก็ยังสงสัยอยู่ว่า "โครงการเหล่านี้จะไปได้สักกี่น้ำ" แต่ยี่จากตองเอไม่คิดอย่างนั้น เขากำลังมองหาลู่ทางที่จะสร้างศูนย์ชีวเทคโนโลยีในสหรัฐฯ แต่ก็เป็นเรื่องที่หนักหนาสากรรจ์ ใช้ต้นทุนสูง แต่เกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากกว่าใครในเอเชีย คงมีโอกาสที่จะทำได้อย่างที่คิดไว้สักวันหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us