ฟิลิปส์ เซมิคอนดักเตอร์ แยกกิจการเซมิคอนดักเตอร์ให้กลุ่มใหม่บริหารงาน เปลี่ยนชื่อเป็น “ เอ็นเอ็กซ์พี” เชื่อทำให้เกิดความคล่องตัว พร้อมยึดแนวทางธุรกิจเดิมสานต่อความเป็นผู้นำในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ทามกลางกระแสการเมืองไทยคาดไม่กระทบธุรกิจ มั่นใจลงทุนต่อเนื่อง
นายดักกลาส จี.แซมป์สัน รองประธาน , กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟิลิปส์ เซมิคอนดักเตอร์ (ไทยแลนด์) กล่าวว่า ฟิลิปส์ เซมิคอนดักเตอร์ เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งของฟิลิปส์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เอ็นเอ็กซ์พี” ( NXP) แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2549 โดยจะแยกการบริหารงานออกเป็นอิสระจากกลุ่ม รอยัล ฟิลิปส์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลมาจากการบรรลุข้อตกลงระหว่างกลุ่ม บริษัท รอยัล ฟิลิปส์ กับกลุ่ม เคเคอาร์( Kohiberg Kravis Roberts& Co ), เบน แคปิตอล (Bain Capital ) , ซิลเวอร์ เลค พาร์ทเนอร์(Silver Lake Partners ) , เอเฟ็กซ์ (Apax ) และ แอลป์อินเวสต์ พาร์ทเนอร์ เอ็นวี ( AlpInvest Parters NV ) ซึ่งถือหุ้นรวมกันในบริษัทใหม่ในสัดส่วน 80.1% `คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6 พันล้านยูโร ขณะที่ฟิลิปส์ถือหุ้น 19.1% จากมูลค่ารวม ฟิลิปส์ เซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดประมาณ 8.3 พันล้านยูโร
โยฮานเนส ฮูส ผู้บริหารกลุ่ม เคเคอาร์ กล่าวว่า มีความสนใจในอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพราะเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก และที่เลือกเอ็นเอ็กซ์พีเพราะเป็นผู้นำตลาดและมีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงทั้งในตลาดเทคโนโลยี NFC ( Near Field Communication )และดิจิตอลทีวี เป็นต้น
ผู้บริหารฟิลิปส์ กล่าวว่า ฟิลิปส์ต้องการแยกธุรกิจเซมิคอนดัลเตอร์ออกจากไลย์สไตย์และเฮลท์แคร์ที่ทำอยู่ และโดยลักษณะธุรกิจของเซมิคอนดักเตอร์เป็นอะไรที่ตรงข้ามกับไลย์สไตย์และเฮลแคร์ โดยการแยกกิจการจะทำให้เอ็นเอ็กซ์พีมีความเป็นอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น
นายดักกลาส กล่าวว่า เชื่อว่าภายหลังการแยกตัวจะทำให้เอ็นเอ็กซ์พีมีการบริหารที่ดีขึ้น แม้เป็นการแยกกิจการ หรืออาจเรียกว่าขายกิจการเซมิคอลดักเตอร์ออกมา แต่เป็นการโอนพนักงานทั้งหมด ธุรกิจเซมิคอกดักเตอร์ที่ทำอยู่เดิมมาในบริษัทใหม่ จึงไม่มีความเปลี่ยนแปลงในแง่ผลร้าย ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังการผลิต ทิศทางธุรกิจ
“ในแง่ปฏิบัตินับจากนี้ต่อไปฟิลิปส์ เซมิคอนดักเตอร์จะเปลี่ยนเป็นแบรนด์เอ็นเอ็กซ์พีแต่ในแง่กฎหมายเริ่ม 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป”
พงศ์ธร เทพอัครพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลง เชื่อว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้มีการทำวิจัยพบว่าตลาดจะยังมีความเชื่อมั่นอยู่เช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพนักงานคงเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นของฟิลิปส์เดิม แม้จะเป็นในระยะแรก แต่ต่อไปเราก็จะสร้างแบรนด์เอ็นเอ็กซ์พีขึ้นมาในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
เอ็นเอ็กซ์พีจะสานต่อนโยบายธุรกิจที่เรียกว่า Business Renewal Strategy ซึ่งเป็นแนวทางที่ฟิลิปส์ทำมา 18 ปีและสร้างกำไรให้ โดยเอ็นเอ็กซ์พีจะยังคงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์หลักที่อยู่ในหมวด ยานยนต์ (Automotive),ระบบระบุเอกลัษณ์ตัวตน ( Identification), เครื่องใช้ในบ้าน, อุปกรณ์สื่อสารไร้สายและเทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงส่วนบุคคล รวมถึงตลาดเซมิคอนดักเตอร์สำหรับอุสาหกรรมขนาดใหญ่ที่หลากหลาย
การบรรลุความสำเร็จใน5 ตลาดหลักต้องใช้เงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1 พันล้านยูโร โดยปัจจุบันเอ็นเอ็กซ์พีมีทุนสำรองทั้งที่เป็นเงินสดและเครดิตรวมกว่า 1.2 พันล้านยูโร
เป้าหมายของเอ็นเอ็กซ์พี คือต้องการมีส่วนแบ่งอันดับหนึ่งในด้านชิปสำหรับโทรทัศน์ ,ระบบระบุเอกลักษณ์ตัวตนแบบไร้สัมผัส ( Contactless identification) สำหรับอีพาสปอร์ต , RFID สำหรับระบบการออกตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ในระบบขนส่งมวลชน , Digital Signal Processor สำหรับวิทยุติดรถยนต์ และซิสเต็มส์โซลูชั่นสำหรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
ปัจจุบันเอ็นเอ็กซ์พีโรงงานในไทยมีกำลังการผลิตไอซีประมาณ 11 ล้านชิ้นต่อวันในจำนวนนี้ 260% เป็นไอซีทั่วไป , 25%เป็นไอซีในอุตสาหกรรมยานยนต์และระบบระบุเอกลักษณ์ตัว ที่เหลือเป็นการผลิตไอซีในอุตสาหกรรมโมบาย เครื่องใช้ในบ้าน เช่น ทีวี ดีวีดี กำลังการผลิต ส่งออก 100 %ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปจีนประมาณ 66 % โดยภาพรวมแล้วผู้บริหารเอ็นเอ็กซ์พี ยังมีความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย โดยกล่าวว่า 6 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้รับผลกระทบในแง่กำลังการผลิต หรือยอดขาย เมื่อมีสินค้าบางตัวผลิตลดลงก็จะมีตัวอื่นผลิตเพิ่มขึ้นมาแทนที่ ทั้งนี้เพราะสินค้าส่วนใหญ่ของเอ็นเอ็กซ์พี เป็น Next Experience ซึ่งมีตลาดรองรับอยู่แล้ว
ในตลาดโลกเอ็นเอ็กซ์พีเป็นผลิตเซมิคอนดักเตอร์ใหญ่ติดอันดับ 1/10 ของโลก ในเอเชียติด 1/5 ในปีที่ผ่านมายอดขายรวมทั่วโลกประมาณ4,700 ล้านยูโร ในจำนวนนี้ 31%มาจากตลาดเอเชีย
|