Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2549
“อุ๋ย” ส่งสัญญาณคงดบ.เปิดทางนโยบายการคลังดูแลเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




“หม่อมอุ๋ย”ยันยังไม่คิดปรับลดนโยบายดอกเบี้ย ย้ำเงินเฟ้อลดเดือนเดียวยังไม่ใช่สัญญาณที่ชัดเจน ต้องขอเวลาดูอีกระยะก่อนตัดสินใจ รับคลังตั้งงบประมาณขาดดุลเป็นช่วงที่เหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 2%ของจีดีพี ระบุเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะใช้นโยบายการคลัง ด้านคลังเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ-เอกชนหารือภาวะเศรษฐกิจทุกไตรมาส ขณะที่ภาคเอกชนขอภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.จะขึ้นอยู่กับภาวะเงินเฟ้อเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ยังต้องติดตามอัตราเงินเฟ้อต่อไปอีกระยะก่อน เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงแค่เดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว ยังไม่สามารถบอกสัญญาณอะไรได้ คงต้องรอให้สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มนิ่งก่อน

“อย่างเพิ่งนิ่งนอนใจ ยังคาดการณ์อะไรไม่ได้ เพราะราคาน้ำมันเพิ่งเริ่มลดลงในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีฐานที่สูง เพราะภาครัฐเริ่มมีนโยบายลอยตัวน้ำมันดีเซล จึงควรดูหลายๆ เดือนก่อน ยังไม่มีความรู้สึกว่าจะลง เพราะทิศทางของโลกกำลังขึ้น ขอดูอัตราเงินเฟ้อและเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนก่อน”ผู้ว่าธปท.กล่าว

สำหรับกรณีที่มีการใช้งบประมาณปี 2550 แบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายการคลังนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า หากมีการขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 2%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ก็ถือว่ารับได้ เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวและความไม่แน่นอนหลายๆ อย่าง ประกอบกับปีหน้าหลายๆ ประเทศคาดการว่าจีดีพีจะลดลง ผลจากราคาน้ำมันแพงที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นการใช้งบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ถือเป็นเรื่องที่ดี

“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเขาเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคดีไม่ต้องเป็นห่วง ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็มีการใช้ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินร่วมกันอยู่แล้วในการดูแลเศรษฐกิจ แต่ในสถานการณ์ในปัจจุบันหากมีการใช้นโยบายการคลัง ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจะได้ผลดีกว่านโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามแม้นโยบายการเงินมีความจำเป็นในการกระตุ้นการลงทุนน้อยลง แต่ธปท.จะดูแลอย่างเหมาะสมแน่นอน ไม่ต้องเป็นห่วงจะเห็นได้จากการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อปีที่แล้ว ส่วนนโยบายการเงินก็สามารถดูแลอัตราเงินเฟ้อได้อย่างอิสระเสรีไม่ต้องเป็นห่วงทั้ง 2 เรื่องนี้“ผู้ว่าการธปท.กล่าว

**คลังเรียกถกภาวะศก.ทุกไตรมาส**

นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อ "ทิศทางภาวะเศรษฐกิจไทยและการจัดทำงบประมาณปี 2550" ว่า ได้เชิญภาคธุรกิจ 3 สถาบัน ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) มาประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาคเอกชน ได้แสดงความเห็นด้วย กรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดทำงบประมาณแบบขาดดุลในปี 2550 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนแรกชะลอตัวลง และภาคเอกชนได้ฝากให้กระทรวงการคลังไปคิดแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรบ้างต่อไป

นอกจากนี้ ก็มีการหารือกันในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการชี้แจงว่า ธปท. ได้ดูแลเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า 12-13 ประเทศแล้ว ขณะนี้ค่าเงินบาทของไทย ไม่ได้แข็งค่าไปกว่าประเทศเหล่านี้ แต่แข็งค่าในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะมีเพียงประเทศจีนเท่านั้น ที่มีความแตกต่างกัน เพราะจีนยังคงใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่

"เป็นเรื่องที่ดีในการมาคุยกันทุกคนจะได้ประโยชน์ โดยการประชุมในครั้งนี้ ภาคเอกชนเห็นด้วยว่า ควรจะทำงบประมาณแบบขาดดุลในปีหน้า เพราะ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ เศรษฐกิจจะชะลอตัว ทั้งนี้ การทำงบขาดดุล ก็เพื่อเป็นการฉีดเงินเข้าสู่ระบบ แต่ไม่ใช่เป็นการไปให้เงินใครใช้ฟรีๆ แต่จะใช้เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านซอฟท์แวร์ เช่น ในด้านการศึกษา การพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น" นายทนง กล่าว

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมาจากแนวคิดที่ว่าต้องการให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในทุกๆไตรมาสในช่วงบ่ายของวันเดียวกันกับที่สศช.มีการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจ โดยนอกจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจแล้วการประชุมดังกล่าว ยังเป็นการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อดูแลภาวะเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในระดับที่เหมาะสมได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us