|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แอล.พี.เอ็น.จ้องแตกบริษัทลูกรุกธุรกิจค้าปลีก หากโครงการลุมพินี พลาซ่า อโศกประสบความสำเร็จ พร้อมเดินหน้าเปิดโครงการลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้าเฟส 2 เปรยโครงการคอนโดมิเนียมยูนิตละ 5แสนบาท เกิดแน่ต้นปี 50 เล็งหาวิธีสร้างหลักประกันให้แบงก์ปล่อยกู้ลูกค้า
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ผลักดันนโยบายที่จะขยายธุรกิจไปยังธุรกิจรีเทล ด้วยการนำร่องพัฒนา “ลุมพินี พลาซ่า อโศก” พลาซ่าขนาดใหญ่หนึ่งเดียวบนถนนอโศกมนตรี ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการจับจ่ายใช้สอยของหนุ่มสาวในสำนักงานเกือบ 30 อาคาร บนถนนดังกล่าว รวมถึงผู้พักอาศัยในโครงการแกรนด์ พาร์ควิว อโศก และบริเวณใกล้เคียง
“ เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงตามสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมประสบการณ์ทางด้านธุรกิจรีเทลให้มากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้บริษัทฯ สนใจธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากLPNเป็นแกนนำในการพัฒนาและบริหารจัดการอาคารชุด โครงการ แกรนด์ พาร์ควิว อโศก จึงเล็งเห็นศักยภาพของโครงการและโอกาสของธุรกิจดังกล่าว ด้วยทำเล ที่ตั้งกลางถนนอโศก แวดล้อมด้วยกำลังซื้อมหาศาลของหนุ่มสาววัยทำงานจำนวนมาก จึงได้ซื้อพื้นที่ในส่วนของพลาซ่าต่อจากบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัทในเครือ พัฒนาขึ้นภายใต้ชื่อ ลุมพินี พลาซ่า อโศก ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 250 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานธุรกิจทางด้านรีเทล ซึ่งประกอบไปด้วย ฟู้ดพาราไดซ์ หรือศูนย์อาหารนานาชาติ แหล่งชอปปิ้งทันสมัย Center Point ของคนทำงานบนถนนอโศกมนตรี ซึ่งได้เปิดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา ”
ทั้งนี้ นโยบายการพัฒนาธุรกิจรีเทล ลุมพินี พลาซ่า อโศก ถือเป็นโครงการนำร่องเพื่อการศึกษาธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างฐานของธุรกิจในการขยายแผน รองรับการพัฒนาชุมชน และรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะ โดยหากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ทางผู้บริหารได้เตรียมแผนที่จะจัดตั้งบริษัทลูกค้า ในการเข้าสู่ธุรกิจรีเทลอย่างจริงจัง โดยรูปแบบการพัฒนาอาจจะเป็นการซื้อที่ดินที่ติดกับโครงการของบริษัท มาพัฒนาเป็นแหล่งชอปปิ้งให้แก่ลูกค้าโครงการและชุมชนรอบข้าง ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในยุคที่น้ำมันแพง
นายโอภาส กล่าวว่าในช่วงกลางเดือนก.ย.นี้ ทางบริษัทจะเริ่มเปิดขายโครงการลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า เฟส 2 คาดว่าจะได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลาม เนื่องจากโครงการก่อนหน้านี้ที่ปิ่นเกล้า สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว โดมูลค่าขายโครงการเฟส 2 ประมาณ 1,200 ล้านบาท จำนวน 650 ยูนิต ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.85 ล้านบาทต่อยูนิต
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ยูนิตละ 5 แสนบาทนั้น กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ขณะนี้การจัดทำแผนต่างๆลงตัวหมดแล้ว ทั้งเรื่องของการออกแบบ(ดีไซน์)แต่ละห้อง ที่ดินที่คิดว่าจะเหมาะสมต่อการพัฒนาน่าจะอยู่ในชุมชนและใกล้โครงการข่ายรถไฟฟ้า เช่น ที่ดินบริเวณอ่อนนุช ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช ขนาดเนื้อที่รองรับการพัฒนาน่าจะประมาณ 10 ไร่ อยู่ในซอยลึกเข้าไปหน่อย ซึ่งจะทำให้ราคาที่ดินเพื่อใช้พัฒนาไม่สูง โดยต้นทุนของที่ดินที่เหมาะสมกับการทำโครงการประมาณ 30,000 บาทต้นๆต่อตร.วา แบ่งการพัฒนาเป็นเฟส รูปแบบโลว์ไรท์
" ถ้าจะพูดว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ยืนยันว่าต้องทำ เพราะทางบริษัทมองเห็นโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าภายในต้นปี 2550 จะเริ่มดำเนินการได้ ซึ่งถ้ามองในเชิงการตลาดแล้วโครงการนี้ประสบความสำเร็จไปกว่า 99% ติดอยู่เรื่องเดียว สถาบันการเงินที่ไปเจรจาหลายที ยังกังวลเรื่องความเสี่ยงของลูกค้าระดับดังกล่าว และหากจะปล่อยกู้ 100% ก็ยิ่งหวั่นกลัวว่าจะเกิดหนี้เสียได้ แต่ในมุมมองของบริษัทแล้วคิดว่าไม่เกิดหนี้เสีย อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เราได้มีการดีไซน์โครงการไว้หลายรูปแบบ การคุยกับแบงก์ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง หรือแม้แต่การพัฒนาโครงการแล้วขายให้แก่พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ ก็คิด แต่บังเอิญไม่ตรงเท่าไหร่ เอาเป็นว่าทางบริษัทคงต้องหาวิธีเพิ่มเครดิตให้แก่ลูกค้าในโครงการดังกล่าว "นายโอภาสกล่าว
อนึ่ง ลูกค้ากลุ่มที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียมระดับราคา 5 แสนบาท อาจจะเป็นผู้มีรายได้น้อย ที่บางรายอาจจะไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินเหมือนกลุ่มลูกค้าระดับอื่น หรือกระแสเงินในบัญชีอาจจะไม่สะท้อนถึงความสามารถได้
|
|
 |
|
|