Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2549
เว้นภาษีชินฯ ส่อทุจริต             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ กรมสรรพากร

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
กรมสรรพากร
Auditor and Taxation




บิ๊กสรรพากรจ่อซ้ำรอย 3 หนากกต. ฐานละเว้นภาษีให้“พานทองแท้-พิณทองทา ชินวัตร ” สตง.แฉสรรพากรตอบข้อซักถามวกวน แถมบอกปัดความรับผิดชอบ แต่จากเอกสาร-ข้อมูลแวดล้อมสามารถเอาผิดข้อหา “ละเว้นโดยทุจริต” ได้ เรียกสอบอีก 2 รายสอบ 15 และ 20 ก.ย.นี้ นักกฎหมายระบุแค่บันทึกกฎษฎีกาก็ชัดเจนแล้ว ย้ำตั้งที่ปรึกษาของคตง.ไม่จำเป็น และ ไม่มีกฎหมายรองรับเหตุผู้ที่สมัครเป็นคตง.ทุกคนล้วนมีความสามารถและทรงคุณวุฒิ

กรณีสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน(สตง.) เรียกข้าราชการกรมสรรพากรให้ปากคำถึงเหตุผลละเว้นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ชินคอร์ป กับ กองทุนเทมาเส็ก ของสิงคโปร์ แก่นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี นั้น ขณะนี้งวดเข้ามาทุกขณะ

ภายในเดือนกันยายนนี้ คณะทำงานของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) คาดว่าจะสรุปผลการตรวจสอบนี้ได้

ดังที่ทราบ ขั้นตอนการทำงาน หลังจากได้ผลสอบออกมาหากสรุปว่าเป็นการปฎิบัติที่ทุจริต เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุณหญิงจารุวรรณก็จะส่งผลสอบนี้ให้คณะกรรมการคตง.พิจารณาเพื่อดำเนินคดีต่อไป

ล่าสุดความเข้มข้นของการตรวจสอบคดีนี้ทำให้ผู้มีอำนาจรัฐหวั่นไหวหวั่นจะเกิด “เหตุการณ์ไม่คาดฝัน”เหมือนกรณีของคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) โดยผู้มีอำนาจรัฐพยายามตัดตอนก่อนภัยมาผลักดันให้ คตง.ตั้งคณะที่ปรึกษาทางกฎหมายที่นำโดย นายไกรสร บารมีอวยชัย รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่เติบใหญ่มาภายใต้ร่มเงาของระบอบทักษิณ เข้ามาทำงานซ้อนคตง.อีกชั้น เจตนาเดียวที่เข้าใจได้ก็เพื่อเตรียมบิดผลสอบดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน (ตามที่ผู้จัดการรายวันได้นำเสนอไปแล้วในตอนที่1ฉบับวานนี้)

สตง.แฉบิ๊กสรรพากรตีรวน-ตอบไม่ชัด

สำหรับความคืบหน้าในการตรวจสอบของสตง. วานนี้(4ก.ย.) แหล่งข่าวจาก สตง. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ออกหนังสือเชิญข้าราชการอีก 2 รายคือ นางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เข้ามาชี้แจงเพิ่มเติมในวันที่ 15 กันยายน และนางไพฑูรย์ พงษ์เกสร รองอธิบดีกรมสรรพากรให้เข้ามาชี้แจงเพิ่มเติมในวันที่ 20 กันยายนนี้

ทั้งนี้การเชิญข้าราชการทั้ง 2 รายมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเนื่องจากการเข้าชี้แจงในรอบแรกของข้าราชการทั้ง 2 รายมีการตอบคำถามที่ไม่ชัดเจนและใช้เวลาในการเรียบเรียงคำพูดนานมากอีกทั้งยังมีการขอเปลี่ยนแปลงคำพูดที่ใช้ในการชี้แจงอยู่ตลอดเวลาทำให้กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลาในการซักถาม รวมทั้งข้าราชการทั้ง 2 รายยังอ้างว่าติดราชการอื่นทำให้สตง.มีเวลาสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงอย่างจำกัด

ขณะที่นายศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร นั้น การเข้าชีแจงข้อมูลแทบจะไม่เกิดประโยชน์ต่อการสอบสวนการตอบคำถามส่วนใหญ่จะเป็นการบอกปัดเรื่องต่างๆ ไม่ให้เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เช่น เมื่อเจ้าหน้าที่ของสตง.สอบถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายก็แจ้งว่าไม่ทราบให้ไปสอบถามที่นิติกร ส่วนการสอบถามแนวทางการปฏิบัติงานจัดเก็บภาษีก็บอกว่าให้ไปถามรองอธิบดีเพราะเรื่องดังกล่าวเขาไม่รู้เรื่อง

“แม้ข้าราชการของกรมสรรพากรจะพยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่สตง.ซักถามไป แต่ข้อมูลแวดล้อมทั้งหลายที่สตง.รวบรวมถือว่าชัดเจนเป็นเรื่องที่สังคมก็รู้เห็นอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร แม้เขาจะหลีกเลี่ยงและบ่ายเบี่ยงการให้ข้อมูลแต่หลักฐานที่เป็นเอกสารก็ระบุได้อย่างแน่ชัดถึงการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม” แหล่งข่าวกล่าว

ส่วนความคืบหน้าในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวนั้นขณะนี้ทาง สตง. กำลังรวมรวมหลักฐานที่ได้มาแล้วพิจารณาว่า การละเว้นการเก็บภาษีของกรมสรรพากรในเรื่องดังกล่าวนั้นนั้นต้องดูหลักข้อกฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของกรม สรรพากรทำการตีความกฎหมายไปในทางที่ผิดหรือไม่ ส่วนเอกสารต่างๆ ที่ สตง. ขอเพิ่มไปนั้นขณะนี้ทางกรม สรรพากรยังไม่ได้ส่งกลับมาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามเชื่อว่า สตง. ก็น่าจะสามารถสรุปเรื่องดังกล่าวได้ภายใน เดือนกันยายนนี้แน่นอน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่าวานนี้(4 ก.ย.) นายศิโรตม์ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวกับผู้สื่อข่าว พร้อมแสดงสีหน้าไม่พอใจเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามในประเด็นดังกล่าว ขณะที่นางเบญจา นั้นในวันเดียวกันได้เดินทางมาที่สตง. พร้อมกล่าวว่าไม่ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับสตง.แต่อย่างใด โดยระบุเพียงว่าการเดินทางมาสตง. ในครั้งนี้เป็นการมาหาเพื่อนเท่านั้น

ย้ำพิรุธผลักดันตั้งที่ปรึกษาคตง.

แหล่งข่าวยังกล่าวถึงกรณีที่ นายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ได้ทำการเสนอให้มี การจัดตั้งคณะที่ปรึกษาทางกฎหมาย คตง. ขึ้น ว่าตามกฎหมายแล้วการจัดตั้งที่ปรึกษาดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้อง เพราะในการสรรหาคตง.ทุกคนที่สมัครเข้ามาต่างแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาว่ามีความรู้ความสามารถกันทุกคน แต่จะมาอ้างว่าไม่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายต้องตั้งทีมที่ปรึกษาจึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น

“คตง. ทุกท่านก็ต้องถือว่าเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถกันอยู่ทุกคนแล้ว ซึ่งการที่จะอ้างว่าไม่ มีความรู้ทางกฎหมายกันทุกคนนั้นก็เป็นเพียงข้ออ้างที่ไม่ได้ความ เนื่องจากจะให้ คตง. ทุกคนมีความรู้ทาง กฎหมายกฎหมายทุกคนไม่ได้ เพราะไม่ใช่กระทรวงยุติธรรม คตง. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ดัง นั้นความรู้ก็ต้องมีหลากหลายสาขาต่างกันไป” แหล่งข่าวกล่าว

บันทึกฤษฎีกามัดส่อแววซ้ำรอย 3 หนา

นอกจากการสอบปากคำและหลักฐานที่สตง.พยายามเร่งตรวจสอบอยู่ หากมองย้อนถึงวิชามารที่พยายามจะตัดตอนเพื่อไม่ให้สตง.เข้าแคะคุ้ยเรื่องนี้ ก็ต้องกล่าวถึงการทดสอบจากข้าราชการในระบอบทักษิณ โดยการยื่นให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความถึงอำนาจที่จะเรียกเจ้าหน้าที่สรรพากรสอบปากคำ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานมีบันทึกถึงกรมสรรพากร ว่าด้วยเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสตง.ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีกรณีนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่ทำให้ ระบอบทักษิณ ต้องสะดุ้งตัวยาว

เนื่องเพราะนอกจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อสงสัยในอำนาจของสตง.แล้วว่า กรมสรรพากรไม่อาจบ่ายเบี่ยงที่จะยอมให้คำชี้แจงต่อสตง.ได้แล้ว ในบันทึกของสำนักงานกฤษฎีกายังมีนัยสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ไปเพิ่มความหวาดกลัวของผู้เกี่ยวข้องช่วยกันปกปิดเงื่อนงำในเรื่องนี้ โดยประเมินกันว่า อาจจะต้องเผชิญวิกฤติคล้ายคลึงกับคณะกรรมการกตต.ที่ช่วยกันโอบอุ้มระบอบทักษิณจนต้องติดคุก

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำวินิจฉัยในหลายเรื่อง(อ่านบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบ) โดยล้วนชี้เข้าตรงจุด อาทิ วินิจฉัยว่าการปฎิบัติที่ผ่านมานั้นตามกฎหมายภาษี และ ผูกพันกรมสรรพากร ว่า กรณีการขายหุ้นในลักษณะนี้ต้องประเมินเงินได้ ณ เวลาที่ได้หุ้นมา แต่สำหรับการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปกรณีนี้กรมสรรพากรกลับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหมาย ให้ความเห็นตรงกันว่า ประเด็นนี้ กรมสรรพากรไม่มีทางเลือกอื่นเพราะคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีนั้นมีผลผูกพันตามกฎหมาย หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องแก้กฎหมายเท่านั้น เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะไปเปลี่ยนคำวินิจฉัยเองไม่ได้

“คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณเงินได้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตระกูลชินวัตร จึงผิดกฎหมายชัดเจน มีโทษอาญาสถานเดียว และ อาจจะหนักถึงขั้นยึดทรัพย์” นักกฎหมายที่คว่ำหวอดในเรื่องของภาษีให้ความเห็น

ประการต่อมาการตอบข้อหารือเป็นการปฎิบัติหน้าที่ในทางภาษีอากรจึงต้องมีความรับผิดชอบ

ประการสำคัญคือ วินิจฉัยว่า ภาระการที่จะต้องเสียภาษีนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาซื้อขายหุ้นชินคอร์ปนอกตลาด แต่สามารถยื่นแบบเพื่อเสียภาษีได้ในเดือนมีนาคมของปี 2550 แต่เนื่องจากการซื้อขายหุ้นแบบนี้ผู้เสียภาษีจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและต้องยื่นเสียภาษีภายใน 7 วันนับแต่เกิดรายการซื้อขาย ดังนั้นเมื่อไม่เสียภาษีตามกำหนดนี้ก็ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยและค่าปรับด้วย

“ความจริงไม่ใช่เฉพาะกรณีของแอมเพิลริชแต่เพียงอย่างเดียว ยังครอบคลุมทั้งการขายทั้งหมด73,000 ล้าน เพราะโอนนอกตลาดหุ้นมาก่อนทั้งสิ้น” นักกฎหมายระบุ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us