|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“พิศาล” ยอมรับหนักใจ หลังได้รับหมวกซีอีโอใหม่กสท. บนยุคตลาดเสรี เริ่มบทแรกวางเป้าสิ้นปี ปิดกำไรสุทธิ 4,500 ล้านบาท นำร่องซีดีเอ็มเอ สร้างลูกค้าเริ่มต้น 6 หมื่นราย พร้อมรักษายอดรายได้โทร.ต่างประเทศ ก่อนปลุกขวัญกำลังใจพนักงานลุกสู้เอกชน เลิก “เช้าชามเย็นชาม” ชูความเป็นองค์กรรัฐมุ่งบริการคุณภาพแก่ประชาชนมากกว่ามุ่งหวังแต่รายได้
นายพิศาล จอโภชาอุดม รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการ (บอร์ด) ได้มีมติแต่งตั้งตนให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ยอมรับว่าเริ่มรู้สึกหนักใจเหมือนกันที่ได้เข้ามารับตำแหน่งนี้ แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องสร้างความชัดเจนในหลายเรื่องให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และจะต้องเดินหน้าแข่งขันอย่างเต็มที่ เพื่อให้ กสท เป็นบริษัทโทรคมนาคมอันดับต้นๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยตนได้ตั้งเป้าหมายการบริหารงานให้กับ กสท ให้ประสบผลสำเร็จใน 3 เรื่อง คือ 1.สร้างกำไรสุทธิในปี 2549 ให้ได้ 4,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 420 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีกำไรสุทธิ 4,080 ล้านบาท
2.วางเป้าหมายการสร้างจำนวนผู้ใช้บริการซีดีเอ็มเอใน 51 จังหวัด ในช่วงระหว่างการให้บริการก่อนบริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ ให้มีจำนวนผู้ใช้งาน 60,000 เลขหมายภายในสิ้นปี หลังจากที่เริ่มให้บริการใน 10 จังหวัดนำร่อง ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยใช้ชื่อให้บริการว่า “แคท ซีดีเอ็มเอ”
“ในช่วงนำร่อง หากทำตลาดให้ลูกค้าเข้าใช้บริการ เราขอแค่ภาคละ 2 หมื่นราย เป้าหมายที่วางไว้ก็จะทำได้ไม่ยาก”
3.รักษารายได้จากธุรกิจบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ให้อยู่ในระดับคงที่หรือมีอัตราลดลงอย่างช้า ซึ่งเป็นผลจากการที่ กทช. ได้มีการออกไลเซนส์ให้บริการโทร.ต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการรายอื่นมากขึ้น ทั้งในรูปแบบให้บริการต่อตรง หรือ ไอดีดี และแบบ วีโอไอพี ดังนั้น กสท จะเข้าไปหารูปแบบแข่งขันให้ผู้ใช้เห็นถึงความแตกต่างในด้านคุณภาพใช้งาน และในขณะเดียวกันก็จะใช้จุดแข็งในด้านของพันธมิตรในต่างประเทศที่เป็นจุดเชื่อมโยง และการมีเกตเวย์ขนาดใหญ่ ด้วยการเปิดให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในกลุ่มไลเซนส์ ประเภทไม่มีโครงข่ายและมีโครงข่าย แต่ไม่ต้องการลงทุนเข้ามาใช้โครงข่าย
“ถึงแม้ในปัจจุบันยอดการใช้งานสูงขึ้น แต่ถ้าเทียบในด้านรายได้แล้วคงที่ แต่ยอดรายได้ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดีไม่ลดลงมากนัก แต่หลังจากนี้ กสท มีความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้น เราจะสร้างบริการโทรต่างประเทศให้มีข้อแตกต่างรายอื่น ทั้งในเรื่องคุณภาพเสียง ความชัดเจน การเชื่อมต่อ ควบคู่ไปกับราคาที่แข่งขันได้ ขณะเดียวกันก็จะใช้จุดแข็งส่วนเกตเวย์โครงข่ายออกต่างประเทศ ไปให้รายเล็กมาเช่าใช้ในรูปแบบโฮลเซลล์”
เขากล่าวว่า สิ่งที่วางไว้นั้นจะเป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากตนเป็นคนใน กสท ซึ่งในจุดนี้จะทำให้การทำงานหรือการประสานความร่วมมือได้ง่ายกว่าคนนอกที่เข้ามาบริหาร มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างดี จึงสามารถเรียนรู่ว่าสิ่งใดที่ต้องแก้ไข โดยไม่ต้องมาทำความเข้าใจศึกษาองค์กรกับพนักงานใหม่ใน 6 เดือนแรก
"ผมจะสร้างแรงกระตุ้น สร้างความกระตือรือร้นในการทำงานกับพนักงาน โดยที่ผมจะสื่อสารไปว่า พวกเราจะอยู่แบบเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้เรามีคู่แข่งใหม่เกิดขึ้นเต็มไปหมด ถ้าเราไม่ลุกขึ้นสู้ กสท ก็จะแย่ และที่สำคัญเราคือหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน โดยที่ใช้เงินจากประชาชน เข้ามาให้บริการแก่เขา ดังนั้นเราจะต้องทำในสิ่งที่พวกเขารอคอย สิ่งที่มีอยู่ในมือก็มีไม่ต่างจากคนอื่น แต่เราจะทำอย่างไรให้เข้มแข็งและอยู่รอดเติบโตไปได้”
ทั้งนี้ การเพิ่มกำไรสุทธิให้กับ กสท ได้ตามเป้าหมาย ตนจะมอบหมายให้ฝ่ายบริหารที่ดูแลในแต่ละกลุ่มธุรกิจโฟกัสตนเองมากขึ้น ด้วยการสร้างบริการให้เกิดแรงจูงใจในการเลือกใช้บริการ กสท พร้อมกับการหากลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเดิม โดยแข่งขันด้วยราคาที่เหมาะสม สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนให้บริการ
ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดให้บริการโทร.ระหว่างประเทศ กสท ได้เริ่มเห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนที่สุด ที่ขณะนี้ กทช. ได้มีการออกไลเซนส์ให้กับผู้ประกอบรายใหม่ หรือกลุ่มผู้บริการเก่าในตลาดอย่าง เอไอเอส ดีแทค ทรู ทีทีแอนด์ที เข้ามาลงทุนให้บริการโทร.ระหว่างประเทศ ทั้งในแบบไอดีดี และวีโอไอพี จึงทำให้รายได้จากส่วนนี้ลดลง ถึงแม้ กสท ได้มีการปรับตัวในการลงทุนธุรกิจใหม่ อย่าง อี-บิสสิเนส หรือการให้เป็นผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารไอทีครบวงจร รวมถึงธุรกิจซีดีเอ็มเอที่อยู่ในระหว่างการเตรียมเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
นอกจากนี้ กสท จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินโครงการต่างๆ ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งกระบวนการตั้งแต่การร่างเงื่อนไขการประมูล จนถึงได้บริษัทที่ชนะให้เสร็จภายใน 1 เดือน จากเดิมที่จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะสามารถหาบริษัทที่ชนะการประมูลเข้าดำเนินโครงการต่างๆ ได้ ซึ่งส่งผลให้ กสท ต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจมาโดยตลอด
ทั้งนี้ ได้ปรับส่วนของอำนาจการบริหารการตัดสินใจในการอนุมัติโครงการ ด้วยการให้อำนาจกับกรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถตัดสินใจดำเนินการต่างๆ จนได้ข้อสรุปจึงจะยื่นให้บอร์ดพิจารณา เช่น การจัดทำร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) ทุกขั้นตอนจะต้องนำเสนอบอร์ดพิจารณา ก็ไม่ต้องแล้วโดยให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำเนินการจนทีโออาร์แล้วเสร็จก่อนค่อยเสนอให้บอร์ดพิจารณาครั้งเดียว เป็นต้น
เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา กสท ได้ตั้งหน่วยงานบริหารความเสี่ยง เพื่อเข้ามาช่วยเสริมการบริหารธุรกิจ ซึ่งตนได้พบปะพร้อมให้ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงแก่พนักงาน โดยให้แนวทางความเข้าใจในการบริหารด้านความเสี่ยง 4 วิธี คือ 1.การทำให้ความเสี่ยงลดลง 2.การยอมรับกับความเสี่ยงที่มีอยู่ 3.การประกันความเสี่ยงไว้ 4.ยกเลิกกิจการหรือกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยง กสท.ให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง
|
|
|
|
|