Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กันยายน 2549
คตง.จ้องล้มผลสอบภาษีชิน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน




‘ระบอบทักษิณ’ พล่านกลัวติดคุกซ้ำรอยกกต.! 5 เสือสรรพากรเล่นสงครามประสาทกับสตง.อีกรอบพยายามยื้อให้ข้อมูลเพิ่มเติมตรวจสอบภาระภาษีตระกูลชินวัตร กรณีดีลชินคอร์ป ขณะที่แก้เกมผ่านคตง.เตรียมแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายเข้ามาทั้งที่ทุกเรื่องมีการกลั่นกรองโดยฝ่ายกฎหมายของสตง.แล้ว คาดดึง“ไกรสร บารมีอวยชัย” เซียนกฎหมายแขนขารัฐบาลหวังพลิกคำตัดสินหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน “โอ๊ค-เอม” ต้องจ่ายภาษี-คนเกี่ยวข้องมีสิทธิเดินเข้าคุกซ้ำรอย กกต. เผยเบื้องหลังคตง.แต่ละคนล้วนมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลเถื่อนทั้งสิ้น

จากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและการประเมินภาษีของกรมสรรพากร กรณีที่นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นของ บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ชินคอร์ป นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากบริษัทแอมเพิลริช ก่อนที่จะมีการซื้อ-ขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างชินคอร์ปกับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ มูลค่า 73,000 ล้านบาทโดยไม่มีภาระต้องเสียภาษีนั้น

แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทั้ง 5 รายได้เดินทางมาชี้แจงกับ สตง. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีหนังสือมาจากคณะทำงานกฤษฎีกาส่งข้อวินิจฉัยมาแล้วว่า สตง. มีอำนาจในการดูข้อมูลจากรมสรรพากรกรณีการเสียภาษีของบุคคลแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวนั้นถือเป็นการยืนยันอำนาจของ สตง. ได้เป็นอย่างดี

โดยภายหลังจากการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 ราย สตง. ได้ส่งหนังสือไปยังกรมสรรพากรเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อขอเอกสารที่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรอ้างถึงระหว่างการให้ข้อมูลแต่ไม่ได้นำมาแสดงประกอบเพื่อเป็นการยืนยันการอ้างถึง รวมทั้งเอกสารบางฉบับที่ทาง สตง. ขอไปตั้งแต่ครั้งแรกแต่ยังไม่ได้รับเอกสารจากกรมสรรพากร โดยขอความร่วมมือว่าให้ส่งกลับมาให้เร็วที่สุด

ส่วนการนัดหมายให้เจ้าหน้าที่อีก 2 รายมาชี้แจงเพิ่มเติมนั้น ขณะนี้ได้มีการขอเลื่อนนัดออกไปเป็นวันที่ 20 กันยายน จากเดิมที่เคยตกลงกันไว้ว่าจะให้มาชี้แจงภายในสัปดาห์นี้

“ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 รายได้อ้างว่าช่วงเวลาดังกล่าวติดราชการจึงขอเลื่อนนัดไปเป็นประมาณวันที่ 20 กันยายน ซึ่งในส่วนของวันที่นัดหมายนั้นทาง สตง. กำลังทำการเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 คนอยู่ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย โดยต้องดูเหตุผลในการขอเลื่อนนัดด้วยว่ามีความจำเป็นมากแค่ไหน ดังนั้นช่วงที่รอเอกสารและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมนั้นทาง สตง. ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเบื้องต้นก่อน ดังนั้นทาง สตง. จึงคาดว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะสามารถได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายนนี้เช่นเดิม” แหล่งข่าวกล่าว

เสนอตั้งที่ปรึกษากฎหมายเตรียมพลิกมติ

สำหรับขั้นตอนของการตรวจสอบ หากคณะทำงานของสตง.ภายใต้การกำกับดูแลของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการ สตง. แล้วเสร็จในเดือนนี้ก็จะส่งต่อให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นผู้ตัดสินในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งถ้าพบว่าทุจริตจริงก็จะเข้าพระราชบัญญัติ (พรบ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา46 ทาง คตง. ก็จะต้องส่งเรื่องให้พนักงานสืบสวนเป็นผู้ตรวจสอบดำเนินคดีต่อไป

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) กล่าวว่า เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา นายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาทางกฎหมาย คตง. ขึ้น โดยคณะที่ปรึกษาทางกฎหมายชุดดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 7-8 คน ซึ่งรายชื่อเบื้องต้นนั้นมีทั้งอดีตผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ นักวิชาการและข้าราชการประจำจากกระทรวงยุติธรรม โดยเป็นที่สงสัยว่าทาง คตง. จะตั้งคณะที่ปรึกาษาดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเหตุผลอะไร ทั้งๆ ที่ทาง สตง. มีสำนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตในการตั้งทีมที่ปรึกษากฎหมายในชุดดังกล่าวว่า การจัดตั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ คตง. ทั้ง 10 คน โดยไม่ต้องดำเนินการตรวจสอบประวัติใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งบางคนนั้นที่ถูกเสนอชื่อมาเป็นที่ปรึกษากฎหมายชุดดังกล่าวนั้นมีภาพลักษณ์ของการเป็นตัวแทนให้กลุ่มคนในรัฐบาลชุดนี้อีกด้วย โดยเฉพาะนายไกรสร บารมีอวยชัย รองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนของรัฐบาล

รายงานข่าวระบุอีกว่า การที่ คตง. จัดตั้งคณะที่ปรึกษาทางกฎหมายชุดดังกล่าวขึ้นมานั้น อาจใช้เพื่อหาช่องกฎหมายบิดเบือนการพิจารณาของ สตง. ในกรณีการซื้อขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้หาก คตง.ตั้งที่ปรึกษาไม่มีความเป็นกลางอาจทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่สตง.ทำการตรวจสอบการทุจริตเรื่องต่างๆ ก็จะต้องหลุดไปถึงมือที่ปรึกษาชุดนี้ ซึ่งเปรียบเสมอคนนอก สตง. ดังนั้นอาจจะทำให้ผู้ที่ถูกสตง. ตรวจสอบรู้ความลับของ สตง. ได้ แต่ทั้งนี้การจัดตั้งคณะที่ปรึกษาชุดดังกล่าวนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น

เบื้องหน้าเบื้องหลัง คตง.

ในส่วนของกรรมการคตง.ประกอบด้วยนายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนปัจจุบัน ในอดีตเป็นผู้ที่คลุกคลีและเติบโตมาจากสำนักงบประมาณ ดังนั้นจึงค่อนข้างมีความสนิทสนมกับนักการเมืองมากเป็นพิเศษ เพราะหากนักการเมืองคนไหนอยากได้งบประมาณก็จะต้องมาทำการปรึกษากับคนที่สำนักงบประมาณทั้งสิ้น

นอกจากนี้ที่ปรึกษาของนายนรชัย นั้นยังเป็นน้องภรรยาของของ นายศรีเมือง เจริญศิริ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็น สว. กลุ่มเดียวกับนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา

ส่วน คตง. อีกรายที่ประวัติการทำงานที่ค่อนข้างเป็นที่เคลือบแคลงในความโปร่งใสนั้นคือ นายสำราญ ภูอนันตานนท์ ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และยังเป็นอดีตผู้สมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตบางคอแหลม พรรคไทยรักไทย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวราเทพ รัตนากร ในปี พ.ศ. 2544 – 2545 และหลังจากนั้นจึงขยับขยายออกไปทำงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล โดยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2546 อีกด้วย

ทางด้านนางศศิพัฒน์ เศวตวัฒนา นั้นในอดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปี พ.ศ. 2535 และยังเคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกด้วย ซึ่งในการประชุมของ คตง.ในบางครั้งนางศศิพัฒน์ยังเคยเอ่ยปากถึงรัฐมนตรีบางคนในรัฐบาลชุดพรรคไทยรักไทยว่าฝากเรื่องบางเรื่องมาให้พิจารณา ส่วนนายสิทธิพันธ ศรีเพ็ญ นั้นเคยเติบโตมาจากการเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 6 สำนักงบประมาณ

ส่วนนางรวีพร คูหิรัญ นั้นเป็นลูกหม้อเติบโตมากจาก สตง. โดยตรง แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนในสตง. ต่างรู้กันดีว่า ไม่ค่อยลงรอยกับคุณหญิงจารุวรรณนัก ส่วนสาเหตุนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนายบุญรอด โบว์เสรีวงศ์ ก็เป็นที่รู้กันดีว่ามีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยโดยเป็นเจ้าของโรงแรมวินเซอร์ ถนนสุขุมวิท โรงแรมหรูระดับสี่ดาว ด้านพลโท สมชาย วิรุฬหผลนั้นเคยเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2545 ซึ่งในความใกล้ชิดกับรัฐบาลของคตง.ทำให้ไม่มีคตง.คนใดคัดค้านการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายในครั้งนี้

ดิ้นเฮือกสุดท้ายก่อนซ้ำรอยกกต.

ที่ผ่านมานั้น ประเด็นการขายหุ้นของตระกูลชินวัตร เป็นที่ถกเถียงกันวงกว้าง โดยหลักการหนึ่งเดียวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ พวกยกมาอ้างคือ ธุรกรรมเกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายอยู่แล้ว ขณะที่ตัดตอนข้อสังสัยอื่นๆโยนให้ข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากรเป็นผู้คอยช่วยเหลือบิดเบือนกระบวนการที่ควรจะเป็น การกระทำพยายามปกปิดข้อเท็จจริงนี้ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นกับองค์กรอิสระอย่างสำนักงานคณะกรรมาการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งผลสุดท้าย คณะกรรมการกกต.ต้องเดินเข้าคุก และกรณีการเว้นภาษีให้กับตระกูลชินวัตรกำลังถูกจับตามองว่า อาจซ้ำรอยกกต.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us