แน่นอนทีเดียว เวลานี้หยางกำลังทำงานวางรางรถไฟอยู่ โดยที่รางเหล็กคู่นี้วิ่งทะลุทะลวงผ่านใจกลางของเอเชียมาแล้ว
ยิ่งภายหลังจากกระแสความแตกตื่นอินเทอร์เน็ตในปีนี้ ( ที่ทำให้เราได้เห็นบริษัท ซึ่งมีแต่เปลือกในฮ่องกง
สามารถระดมเงินสดได้เป็นกระสอบๆ โดยไม่มีอะไรรองรับเลยนอกจากถ้อยคำโวหารเกี่ยวกับ
"เศรษฐกิจใหม่" หรือการที่มีเว็บไซต์พอร์ทัลภาษาจีนตัวจริงเสียงจริงโผล่ขึ้นเหนือน้ำด้วยจำนวนผู้ไปเยือนเป็นล้านๆ
คน ทว่ายังไม่มีกำไรเป็นตัวเป็นตนเลย) ก็ยิ่งชี้ให้เห็นความจริงหนึ่ง ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้เลย
ว่าใครกันแน่ ที่ครองเวทีอินเทอร์เน็ตในเอเชียอยู่เวลานี้
ตั้งแต่ยาฮูจัดตั้งกิจการขึ้นในภูมิภาคแถบนี้เมื่อปี 1996 อันเป็นปีเดียวกับ ที่บริษัทกลายเป็นหนึ่งในกิจการอินเทอร์เน็ตแห่งแรกๆ
ที่จดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์นั้น ยาฮูก็สามารถสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเว็บไซต์อันดับ
1 หรืออันดับ 2 ใน แทบทุกประเทศเอเชีย ที่มีสายโทรศัพท์ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ในเกาหลีใต้
ซึ่งสัดส่วนจำนวนผู้ใช้เน็ตต่อประชากรทั่วประเทศอยู่ในระดับคู่คี่ใกล้เคียงกับชาติทางตะวันตก
ยาฮูขึ้นท้าดวลช่วงชิงตำแหน่ง ที่ 1 กับไซต์พอร์ทัลท้องถิ่นอย่าง "โดม" ในญี่ปุ่น
อันเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของเอเชีย ยาฮู คือ พี่เบิ้ม ที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย
ทั้งนี้โดย ผ่าน กิจการร่วมทุนกับซอฟท์แบงก์ และใช้ชื่อว่า ยาฮู แจแปน ช่วง
2 ปีที่ผ่านมา บริษัท ยังเปิดตัวเวอร์ชั่นภาษาท้องถิ่นในแถบจีนแผ่นดินใหญ่ และปริมณฑล,
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, และอินเดีย นอกจากนั้น ในฮ่องกงกับสิงคโปร์ ยาฮูก็ยึดหัวแถว
เป็นเว็บไซต์ ที่มีผู้ใช้กันมากที่สุดเช่นกัน
เมื่อขบคิดกันให้ดีแล้ว อุปมาอุปมัยเรื่องรถไฟดังกล่าว ยังไม่สู้จะอธิบายฐานะของยาฮูได้ดีนัก
น่า ที่จะเปรียบเทียบบริษัทสัญชาติอเมริกัน ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองเมาน์
เทนวิว มลรัฐแคลิฟอร์เนียแห่งนี้ ว่าเป็นกองทัพหุ้มเกราะอันทรงอำนาจ ที่บุกเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้แบบสายฟ้าแลบมากกว่า
และจนถึงบัดนี้ก็ยังคงสามารถตรึงสายตาตรึงสายใจของผู้ท่องเว็บในเอเชียเอาไว้ได้
แม้จะถูกตีตอบโต้จากกองกำลังในท้องถิ่นทุกรูปแบบ
แต่สงครามยึดพื้นที่ไซเบอร์สเปซคราวนี้ยังไม่จบสิ้นลงง่ายๆ หรอก ผู้ที่ประจันหน้าท้าทายยาฮูอยู่ในเอเชีย
ก็มิได้มีเพียงบริษัทดอทคอมระดับในประเทศเท่านั้น หากยังประดาคู่แข่งระดับโลกอย่างเอ็มเอสเอ็นของค่ายไมโครซอฟท์
และไลคอส อีกด้วย
ซาวิโอ เฉา กรรมการผู้จัดการของยาฮู เอเชีย ซึ่งตั้งกองบัญชาการใหญ่อยู่ ที่ฮ่องกง
เล่าว่า เขาเริ่มวิตกกังวลอย่างหนักในปี 1999 เมื่อไชน่าดอทคอม และเว็บไซต์พอร์ทัลรายอื่นๆ
ในเอเชีย สามารถระดมเงินทุนก้อนมหึมาจากการเข้าตลาดหุ้น ซึ่งได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
จากนั้น บริษัทเหล่านี้ก็เริ่มทุ่มเทใช้จ่าย เพื่อสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
มาป้อนให้แก่ผู้คนในประเทศของพวกเขา ตลอดจนทำการตลาดเนื้อหาเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ยุทธศาสตร์เช่นนี้ได้ผลมากในการดึงดูดให้มีผู้เข้าไปเยือนพุ่งพรวดอย่างรวดเร็ว
"ผมรู้สึกเหมือนหมดประตูสู้" เฉา ซึ่งเวลานี้อายุ 44 และในฐานะ ที่เคยเป็นผู้จัดการใหญ่ประจำเอเชียเหนือให้แก่
เนตสเคป ( ซึ่งบัดนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาออนไลน์ หรือเอโอแอลไปแล้ว)
มาก่อน จึงย่อมทราบดีว่าโชคเคราะห์ในอินเทอร์เน็ตนั้น แปรเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วขนาดไหน
แต่ขณะนี้ตลาดหุ้นกลับดำดิ่งลงมา และราคาหุ้นของบรรดาคู่แข่งต่างทรุดต่ำกันทั่วหน้า
เขารู้สึกเหมือนได้แก้เผ็ดแล้ว "เราโชคดีจริงๆ ที่ตลาดหุ้นหล่นลงมาปรับฐาน
ตอนนี้พวกคู่แข่ง จะต้องเล่นด้วยกฎกติกาอย่างเดียวกันกับเราแล้ว"
อันที่จริงการทรุดตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก ก็เชือดเฉือนเอาราคาหุ้นของยาฮูเองหดหายไปเยอะทีเดียว
จาก ที่เคยซื้อขายอยู่ในตลาดแนสแดคในระดับหุ้นละ 250 ดอลลาร์เมื่อเดือนมกราคม
ก็เหลือเพียงประมาณ 65 ดอลลาร์ (กระนั้น ยาฮูยังคงมีมูลค่าตามราคาตลาดรวมเท่ากับ
37,000 ล้านดอลลาร์) แต่บริษัทก็ยังมีองค์ประกอบอีกมากมาย ที่ทำให้ทนทานต้านแรงกระทบของราคาย่ำแย่สาหัสในตลาด
หลักทรัพย์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการทำกำไร ทั้งนี้ยาฮูสามารถรายงานผลประกอบการว่ามีกำไรติดต่อกันเป็นเวลา
16 ไตรมาสแล้ว เฉพาะช่วง 9 เดือน ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา
บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้ทั้งสิ้น 169 ล้านดอลลาร์ โดยรายได้ส่วนสำคัญที่สุดมาจากการขายโฆษณาบนเว็บไซต์ได้เพิ่มสูงขึ้น
ทว่าช่วงเวลาเดียว กันนี้เอง เว็บไซต์พอร์ทัลอย่างเช่น เน็ตอีส ในประเทศจีน
และนิฟตี้ ในเมืองญี่ปุ่น ยังคงรายงานผลประกอบการแสดงถึงการขาดทุนหนักหน่วงต่อไป
พวกนักวิเคราะห์มองว่า เนื่องจากบริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ต้องมีรายจ่ายสูง
ขณะที่ปริมาณรายรับจากการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตในเอเชีย ยังคงมีค่อนข้างต่ำ
ดังนั้น พวกดอทคอมในประเทศของภูมิภาค แถบนี้ มีหวังจะล้มหายตายจากกันไปถึง
90% ทีเดียว
พวกเจ้าหน้าที่ของยาฮูเองบอกว่า ยุทธศาสตร์ของพวก เขายังคงยึดมั่นอยู่กับสูตรง่ายๆ
ที่ได้ผลเสมอมานับตั้งแต่ ที่หยางพร้อมกับเดวิด ฟิโล เพื่อนนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เริ่มยาฮูขึ้นมาในปี 1994 เพื่อทำหน้าที่เป็นไกด์ท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นมิตรต่อผู้ใช้
สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกง่ายดาย ยาฮูยังแทบไม่ได้ผลิตเนื้อหาของตัวเองขึ้นมาเลย
ตรง กันข้ามกลับเสาะแสวงเนื้อหาเหล่านั้น โดยผ่านการจับมือเป็น พันธมิตรกับคนนอก
ตลอดจนทำข้อตกลงซื้อหาหรือเช่าไลเซนส์มา แผนการเช่นนี้ช่วยให้บริษัทสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้
ยาฮูว่าจ้างพนักงานประมาณ 450 คน ดำเนินงานเว็บไซต์ ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นรวม
8 ไซต์ ตลอดทั่วภูมิภาคเอเชีย เปรียบเทียบกับซินาดอทคอม เว็บไซต์ ยอดนิยมอันดับ
2 ของจีนเพียงแห่งเดียว ก็มีคนทำงานในปริมาณเดียว กันนี้ "โมเดลทางธุรกิจของเราเท่า ที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้
ยังคงเหมือนอันเดิม ที่เคยทำมาอยู่มากทีเดียว" ฮีธเทอร์ คิลเลน กรรมการรองผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการนานาชาติของยาฮู
ยืนยัน คิลเลน ซึ่งเป็นคนสัญชาติออสเตรเลีย ไม่ยอมแม้กระทั่ง ที่จะรับว่าเธอกำลังทำงานอยู่กับเว็บไซต์
พอร์ทัลแห่งหนึ่ง เธอยืนกรานว่า ยาฮู "แท้ ที่จริงเป็นธุรกิจให้บริการโซลูชั่นแก้ปัญหาการตลาดแบบอินเทอร์แอกทีฟ
โดยคุณรวบรวมผู้ชมให้ได้มาก ขนาด ที่ใช้การได้ จากนั้น คุณก็สร้างธุรกิจรอบๆ
ผู้ชมเหล่านี้ ด้วยการให้ผู้จำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการ และเนื้อหาต่างๆ
เข้าถึงผู้ชมเหล่านี้"
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า อาวุธทรงประสิทธิภาพที่สุดของยาฮู ในเวลานี้ก็คือ
แบรนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก บริษัทอยู่ในฐานะผู้นำระดับแนวหน้าเสมอมานับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเป็นที่คุ้นหูของสาธารณชนทั่วไป
ทุกวันยาฮูคุยว่า ตัวเองมีผู้ชมผู้เข้ามาใช้มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนเว็บไซต์มากกว่า
20 แห่ง ซึ่งรวมกันแล้วสามารถดึงดูดผู้ใช้ได้ 166 ล้านรายต่อเดือน (มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เข้าใช้มาจากนอกสหรัฐฯ)
คิลเลน บอกว่าแบรนด์อันกำจรกำจายของบริษัทมีส่วนอยู่มากต่ออัตราผลกำไรของยาฮู ที่เท่ากับ
24% ไม่ เหมือนกับเว็บไซต์ พอร์ทัล ซึ่งมีชื่อเสียงน้อยกว่า บริษัทไม่จำเป็นต้องทุ่มเทเงินทองมากมายไปกับงานทางการตลาด เพื่อดึงให้มีผู้มาเข้าชมเพิ่มขึ้น
อันที่จริง ยาฮู ได้รับการจัดอันดับเป็นไซต์ ที่มีผู้เข้าชมสูงที่สุดแห่งหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่
ตั้งแต่ก่อน ที่บริษัทจะจัดตั้งไซต์ภาษาจีนขึ้นมาด้วยซ้ำ หรือในเกาหลี ปราติก
คุปตะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย อินเทอร์เน็ต ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ให้แก่ วาณิชธนกิจใหญ่
ซาโลมอน สมิธ บาร์นีย์ กล่าวว่า ยาฮู โคเรีย นับเป็นแบรนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจดจำได้มากที่สุดเป็นอันดับ
3 รองลงมาจาก แชโบลยักษ์อย่างซัมซุง และแอลจี เท่านั้น "ในบรรดาธุรกิจของ
เราทั้งหมด รวมทั้งทางอเมริกาเหนือด้วย เรามักสามารถไปได้โดยใช้จ่ายด้านการโฆษณาน้อยกว่าคู่แข่งของเราเสมอ"
คิลเลนคุย
และเมื่อยาฮูพร้อม ที่จะเปิดเว็บไซต์ใหม่ๆ ขึ้นในประเทศใหม่ ความเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันในระดับนานาชาติ
ก็ช่วยดึงดูดให้พวกพันธมิตร ที่เป็นผู้ทำเนื้อหา ยินดีเข้ามาจับมือ โดยยินยอมให้เงื่อนไข ซึ่งเอื้ออำนวยแก่ทางบริษัทเป็นอย่างยิ่ง
ยาฮูนับเป็นบริษัทอเมริกันแห่งแรกๆ ที่เสนอเวอร์ชั่น ซึ่งปรับแปลงให้มีลักษณะท้องถิ่นแล้วเข้าสู่ตลาดเอเชีย
บริษัทมิได้เปิด เผยรายรับ ซึ่งได้จากบรรดาเว็บไซต์ในเอเชีย แต่เฉพาะยาฮู
เจ แปน ซึ่งมีการรายงานผลประกอบการแยกต่างหากจากบริษัทในเครืออื่นๆ นั้น
รอบ 6 เดือนที่สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน สามารถทำรายรับได้ 50 ล้านดอลลาร์
ซึ่งจัดว่าเป็นกอบเป็นกำ ทีเดียว ดังนั้น เว็บไซต์แบบยาฮู "จึงเป็นภัยคุกคามต่อเว็บไซต์
พอร์ทัลระดับท้องถิ่นเสมอ แม้เพียงแค่มีแบรนด์เนมอย่างเดียว ก็พอแล้ว" คุปตะให้ความเห็น
แต่หากสภาพการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดปุด ที่เห็นว่าอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคแถบนี้กำลังถูกบริษัทอเมริกันยึดเอาเป็นอาณานิคมแล้ว
อย่างน้อยที่สุดในกรณียาฮูก็มีจุดที่ทำให้นักชาตินิยมบางส่วนสบายอกสบายใจได้บ้าง
นั่นก็คือ นายใหญ่ของยาฮูเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเอเชีย หยาง ซึ่งเวลา นี้อายุ
32 ปี เกิด ที่ไทเปในปี 1968 โดยมีชื่อตอน เด็กว่า หยางฉีหยวน บิดาของเขา ซึ่งเป็นชาวแผ่นดินใหญ่เสียชีวิตไปเมื่อหยางอายุได้เพียง
2 ขวบ มารดาของเขา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ และการละคร หอบหิ้วย้ายครอบครัวไปอยู่ ที่เมืองซานโฮเซ
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะ เมื่อเขามีอายุ 10 ปี ถึงแม้หยางไม่ค่อยได้เป็นที่กล่าวขานกันว่า
ชอบพูดอ้างอิงถึงรากเหง้าความเป็นเอเชียของเขาก็ตาม
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่บริหารระดับท็อปคนอื่นๆ ของยาฮู ต่างก็เป็นอเมริกัน
ไม่ว่าจะเป็นทิม คูเกิล ประธาน และ ซีอีโอ หรือเจฟฟรีย์ มัลเลตต์ กรรมการผู้จัดการ
อะกิโกะ ภรรยาของหยาง เป็นชาวคอสตาริกา ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น
ตอน ที่ยาฮูมองหาคน ซึ่งจะมาดูแลกิจการในเอเชียของบริษัทเมื่อปี 1998 พวกเขาก็สรุปจบลง ที่เฉา
ซึ่งเกิด ที่เซี่ยงไฮ้ นักธุรกิจ ซึ่งชอบแต่งกายชุดดำผู้นี้มีคุณสมบัติแทบจะตามแบบฉบับ ที่คุณจะหาได้จากวงการอินเทอร์เน็ต
นิสัยเงียบขรึม และขบคิดพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างจริงจัง คุณพ่อลูกสองรายนี้
พร้อม ที่จะสารภาพว่า เขา "ออกจะหวาดกลัวอยู่สักหน่อย" ตอน มารับงาน ที่ยาฮู
"ภูมิหลังด้านไอทีของผมส่วนใหญ่อยู่ในเรื่อง เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์"
เขาบอก "ยาฮูเป็นบริษัทมีเดีย มันจึงเป็นอะไร ที่ผมไม่ได้คุ้นเคยโดยธรรมชาติเลย"
ถึงแม้เวลานี้ยาฮูอยู่ในฐานะเหนือกว่าใครในเอเชีย แต่เฉาก็จะต้องลับสติปัญญาของเขาให้เฉียบแหลมไว้เสมอ
พยากรณ์กันว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) จะพุ่ง โด่งจากระดับ
40 ล้านคนในสิ้นปีนี้ ขึ้นเป็น 141 ล้านคนภายในเวลา 4 ปีข้างหน้า ทว่านักวิเคราะห์ต่างมองว่า
ในตลาด เอเชียส่วนใหญ่แล้ว แต่ละแห่งจะมีพอร์ทัลเหลือรอดอยู่ได้เพียง 2-3
รายเท่านั้น และดัง ที่กล่าวแล้วข้างต้น ยาฮูไม่เพียงเผชิญการแข่งขันอย่างดุเดือดทรหดจากเว็บไซต์
พอร์ทัลท้องถิ่นเท่านั้น หากยังแบรนด์ดังของอเมริกาอย่างเอ็มเอสเอ็น และไลคอส
ซึ่งกำลังมุ่งหน้าบุกตะลุยเข้าสู่ตลาดอินเทอร์เน็ต ที่เติบโตรวดเร็วแห่งนี้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศแผนการใช้จ่ายเงินมากกว่า 90 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างเสริมเว็บไซต์ของตนในเอเชีย
ขณะเดียวกัน ไลคอส ซึ่งเป็นพอร์ทัลใหญ่อันดับ 5 ของโลก ก็เข้าทำกิจการร่วมทุนกับสิงคโปร์
เทเลคอม บริษัทสื่อสารโทร คมนาคม ที่รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงถือหุ้นใหญ่อยู่
อีกทั้งมีเงินสดเป็นกอบเป็นกำในมือ และความทะเยอทะยานฝันไกล กิจการร่วมทุน
ที่ใช้ชื่อว่า ไลคอส เอเชีย แห่งนี้ จัดตั้งเว็บไซต์ ที่ปรับเป็น แบบท้องถิ่นแล้วขึ้นใน
9 ประเทศทั่วภูมิภาค และเริ่มเสนอเนื้อหา ซึ่งสามารถเปิดดูได้จากโทรศัพท์มือถือ
ที่ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ บริษัทวางแผนไว้ว่าจะผงาดขึ้นเป็นพอร์ทัลระดับทั่วเอเชียอย่างแท้จริงให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
มีเสียงวิจารณ์ว่า ยาฮูรอคอยนานไปหน่อยกว่าจะเริ่มจัดทำเวอร์ชั่นท้องถิ่นสำหรับตลาดจีน
ทุกวันนี้ยาฮูได้รับความ นิยมบนแผ่นดินใหญ่ เป็นอันดับ 7 ล้าหลังเว็บไซต์
พอร์ทัล ท้องถิ่น 5 แห่ง และเว็บไซต์ของบริษัทไมโครซอฟท์ ด้วยความลังเลไม่แน่ใจเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ของทางการจีน
ทำให้ยาฮู ไชน่ายังไม่ เปิดม่านเบิกโรงเสีย ทีจนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว แถมพอเปิดแล้วก็ทำพลาดฉกรรจ์
ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินตารางการทำงานของเว็บไซต์ ไม่ได้ระบุวันตรุษจีนเอาไว้
แต่ถึงอย่างไรก็คงไม่ใช่สายเกินไปแล้ว ราคาหุ้น ที่ย่ำแย่ กลายเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายแก่แผนการของพวกคู่แข่งอย่างเช่น
ซินาดอทคอม ซึ่งระดมเงินทุนได้ 78 ล้านดอลลาร์ในตอนเข้าตลาดหุ้นเมื่อเดือนเมษายน
ทว่าบัดนี้กลับเห็นราคา หุ้นของตนไหลรูดลงจากหุ้นละ 58 ดอลลาร์เหลือราว 7
ดอลลาร์ นักวิเคราะห์บอกว่าเว็บไซต์พอร์ทัลของจีนใช้จ่ายเงินสดกันสิ้นเปลืองมาก
และมีหวังถูกบีบให้ต้องควบรวมกัน เพื่อความอยู่รอด คิลเลนพูดปลอบใจว่า "ในประเทศจีนมีคนอยู่
1,300 ล้านคน ตอนนี้อาจมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่สัก 10 ล้านคน ดังนั้น จึงยังถือว่าเป็นช่วงวันต้นๆ
มาก" สุนิล คุปตะ นักวิเคราะห์ หุ้นอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาคแห่งมอร์แกน
สแตนลีย์ ดีน วิตเตอร์ ในสิงคโปร์ เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เขาเชื่อว่า เมื่อยาฮูตั้งตัวติด
ก็จะสามารถขึ้นสู่อันดับ 1-3 ในตลาดจีนได้
ยาฮูกำลังเร่งเดินเครื่องบุกตลาดจีนรวดเร็วขึ้นทว่าก็ยังเป็นไปอย่างระมัดระวัง
เมื่อเดือนพฤษภาคม บริษัทเริ่มแคมเปญประชาสัมพันธ์เป็นหนแรกในเมืองจีน อีกทั้งเพิ่มจำนวนพนักงานในสำนักงาน ที่ปักกิ่ง
โดยเชื่อกันว่าคงไม่ถึง 10 คน จากนี้ไป บริษัทวางแผนที่จะแจกจ่ายแผ่นซีดีรอม ที่บรรจุซอฟต์แวร์ของยาฮูจำนวน
8 ล้านแผ่น ผ่านช่องทางจำหน่ายจ่ายแจกของไชน่า เทเลคอม "ถ้าคู่แข่งของเราไม่ควบ
คุมต้นทุนของพวกเขาให้ดี" เฉากล่าว "พวกเขาก็จะลำบากแน่ เราเพียงแต่ต้องทำงานให้หนัก
และหวังว่าเราจะสามารถไล่ตามทันได้"
แต่ยาฮูเองก็ประสบความลำบากในการขยายตัวในต่างประเทศเช่นกัน เหตุผลประการหนึ่ง
ที่ทำให้หุ้นของบริษัทราคาซวนเซ คือ เกิดความกลัวเกรงกันว่ากระแสเสื่อมทรุดของ
บริษัทดอทคอม จะตัดทอนรายรับค่าโฆษณาของยาฮูอย่างฮวบฮาบ เนื่องจากพวกดอทคอมนี้เอง
ที่ทำรายได้จากทั่วโลกให้แก่บริษัทถึงราว 40% สิ่งที่ยาฮูพยายามทำ เพื่อแก้จุดอ่อนตรงนี้ได้แก่
การหันไปหาแหล่งรายได้อื่นเพิ่มมากขึ้น อาทิ การทำข้อตกลงด้านสนองเนื้อหา
ตลอดจนทำแบรนด์ร่วมกับพวกผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตระบบแวป
(WAP) และการเร่งปรับให้ยาฮูอยู่ในฐานะพร้อมเป็นผู้สนองบริการระดับโลกให้แก่อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
ทั้งนี้บริษัทเพิ่งประกาศแผนการที่จะสร้างสตูดิโอ เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิกผู้บอกรับผ่านทางเว็บ
(webcasting) ในภูมิภาคเอเชีย ขึ้น ที่สิงคโปร์ โดยจะส่งข่าวการเงินในภูมิภาคแบบเรียลไทม์
ตามแนวทางของ ยาฮู ไฟแนนซ์วิชั่น ซึ่งเป็นบริการให้ข้อมูลของตลาดแนสแดค และตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กผ่านทางเว็บ
ที่บริษัทจัดทำอยู่แล้ว
ตอน ที่เดินทางมาเอเชียเมื่อกลางปีนี้ หยางทำให้วงการ แถบนี้ตื่นเต้นกันมาก
เมื่อประกาศแผนการใหม่ ที่จะวางแนว ทางเดินของไซเบอร์ในภูมิภาคแถบนี้ โดยแนวทางบางส่วนเป็น
เรื่องของการสร้างเนื้อหาระดับท้องถิ่น (เช่น การทำข้อตกลงกับ หนังสือพิมพ์ในฮ่องกง และไต้หวัน
รวมทั้งนักร้องนักดนตรีป๊อปชื่อดัง ตลอดจนเว็บไซต์บริการชุมชน) อีกบางส่วนก็เป็น
การทำแบรนด์ร่วมกับพวกธนาคารต่างๆ ยาฮู อินเดีย ก็ได้เปิด ตัวโครงการที่จะเสนอเนื้อหา ซึ่งได้จากพันธมิตรในท้องถิ่น
40 เจ้า ทั้งนี้บริการหนึ่งจากอินเดียนี้ก็คือ เว็บเพจว่าด้วยเรื่องโจ๊กเกี่ยวกับช้าง
มีปริศนาปัญหาเชาวน์เกี่ยวกับช้างอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งคงหาไม่พบจากเว็บเพจดังกล่าว
ปริศนานี้ถามว่า "ช้างตัวหนึ่งหนัก 2 ตัน มันจะไปนั่ง ที่ไหนได้บ้าง" คำตอบก็คือ
" ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น ที่มันต้องการนั่ง" ยาฮูก็มีสภาพเช่นนี้เหมือนกัน
(เก็บความจากเอเชียวีก)