Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กันยายน 2549
"ไทยธนาคาร-ทหารไทย"ความเหมือนที่แตกต่างแบงก์ชาติยอมลดสัดส่วน-คลังดิ้นจำนำหุ้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารทหารไทย
ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
Banking and Finance




เปรียบเทียบการเพิ่มทุน 2 ธนาคารรัฐ ไทยธนาคารของแบงก์ชาติยอมลดสัดส่วน เปิดกองทุนนอกถือหุ้นเกือบ 25% ส่วนทหารไทยคลังดิ้นสุดฤทธิ์รักษาสิทธิถึงขั้นจำนำหุ้น MCOT สะท้อนภาพ TMB แบงก์ไม่ธรรมดา ยอมรักษาสัดส่วนสุดชีวิต

การเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BT จำนวน 9,400 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มจำนวน 940 ล้านหุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท โดยเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้กองทุน TPG Newbridge สัดส่วนร้อยละ 24.99 ย่อมส่งผลให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) ที่ถือหุ้นอยู่ 48.98% สัดส่วนดังกล่าวย่อมต้องลดลง รวมถึงผู้ถือหุ้นรายอื่น

เปรียบเทียบกับการเพิ่มทุนของธนาคารทหารไทย หรือ TMB ที่เพิ่งปิดการขายเมื่อ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา การเพิ่มทุน 3,222.39 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นละ 3 บาท จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 4.75 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ครั้งนั้นผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นในสัดส่วน 20.88% ต้องใช้เงินเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนราว 3 พันล้านบาท เร่งขวนขวายหากเงินเพื่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จนต้องนำเอาหุ้น อสมท(MCOT) ไปจำนำกับธนาคารออมสิน พร้อมทั้งแก้กฎระเบียบเพื่อไม่ให้กระทรวงการคลังทำผิดเงื่อนไขเพราะเมื่อขายหุ้น MCOT ไปทำให้สัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 70%

เหมือนแต่แตกต่าง

แม้ว่าทั้ง 2 ธนาคารจะถือหุ้นใหญ่โดยหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากเป็นธนาคารที่ประสบปัญหาในช่วงวิกฤติค่าเงินบาท โดยธนาคารทหารไทยขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังและเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขณะที่ธนาคารไทยธนาคารเกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อีก 10 กว่าแห่ง มีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

"จะเห็นได้ว่าการเพิ่มทุนของทั้ง 2 ธนาคารมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อความมั่นคงของเงินกองทุนเพื่อให้เพียงพอต่อการกันสำรองและเตรียมตัวเพื่อรองรับมาตรการบาเซิล 2 ของทางการ แต่แตกต่างกันในเรื่องของการรักษาสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่" นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าว

ด้านไทยธนาคารที่มีกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่นั้นปล่อยให้มีการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้กับกองทุน TPG Newbridge เข้ามาถือหุ้น 24.99% โดยที่การเพิ่มทุนครั้งนี้ยังไม่ได้ให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมต้องถูกลดสัดส่วนลงไปราว 41% แตกต่างจากธนาคารทหารไทยที่ผู้ถือหุ้นเดิมอย่างกระทรวงการคลังใช้สิทธิ ทั้ง ๆ ที่อาจมีปัญหาเรื่องเงินที่ต้องนำมาใช้เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนจนต้องนำหุ้น MCOT ออกไปจำนำกับธนาคารออมสินและยอมเสียดอกเบี้ย

แม้ที่ผ่านมาธุรกรรมของไทยธนาคารยังไม่โดดเด่นนัก แต่ธนาคารแห่งนี้ยังได้รับการชดเชย Yield Maintenance จากทางการ และธนาคารมีผลขาดทุนสะสมเพียง 2 พันกว่าล้านบาท ขณะที่ธนาคารทหารไทยยังมีผลขาดทุนสะสมอยู่กว่า 4 หมื่นล้านบาท แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังแล้วก็ตาม

คนรัฐบาลกับอดีตที่ TMB

ต้องไม่ลืมว่าในอดีตธนาคารทั้ง 2 แห่งเคยสร้างความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาก่อน โดยสูตรในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินทีทางการเข้าไปดูแลนั้น เคยมีการเสนอให้มีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารไทยธนาคารกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(IFCT) ซึ่งเป็นแผนที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง แต่สุดท้ายก็ผลิกโผเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ธนาคารทหารไทยควบรวมกิจการกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมและธนาคารดีบีเอสไทยทนุแทน ทำให้ธนาคารไทยธนาคารต้องดำรงสถานะเดิมต่อไป

แม้ว่าจะมีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย ดีบีเอสไทยทนุและบรรษัทเงินทุนฯ มาระยะหนึ่งแล้ว แต่สถานการณ์ของแบงก์ TMB ก็ยังไม่ดีขึ้นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ต่ำกว่า 8.5% ภาระขาดทุนสะสมยังไม่ได้รับการแก้ไข จนต้องทำการเพิ่มทุนในครั้งนี้

ที่สำคัญเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ TMB ในอดีต ทุกคนต่างทราบดีว่ามีชื่อของพานทองแท้ ชินวัตร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารแห่งนี้มาระยะหนึ่งและชื่อของเขาก็หายไปโดยปราศจากการรายงาน นอกจากนี้อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารทหารไทยชื่อทนง พิทยะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร และพบชื่อของพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย

TMB มี DBS

นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 อย่างธนาคารดีบีเอส แบงก์ หรือธนาคารดีบีเอสไทยทนุเดิมนั้นถือหุ้น 18.48% นั้น ธนาคารดีบีเอสเป็นธนาคารสัญชาติสิงคโปร์ที่มีเทมาเส็กถือหุ้นอยู่ 28% และธนาคารดีบีเอสก็ได้ทำธุรกิจทางด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลในนามแคปปิตอลโอเคร่วมกับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จนท้ายที่สุดตระกูลชินวัตรก็ขายหุ้นในชิน คอร์ป ให้กับเทมาเส็กจากสิงคโปร์ผ่านโครงสร้างนอมินี ที่ตั้งบริษัทกุหลาบแก้ว ที่มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้น จนทำให้เกิดการตีความและยังไม่ได้ข้อสรุป รวมถึงเรื่องการขายหุ้นที่ไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ซึ่งเรื่องยังคงอยู่ระหว่างการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์ทั้ง 2 แห่งที่ทางการถือหุ้นใหญ่ มีแนวทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ถือหุ้นในสถาบันการเงินภายใต้กองทุนฟื้นฟูฯ นั้นประกาศชัดเจนว่าต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้น พร้อมขายออกทุกเมื่อหากได้ราคาที่ดี ขณะที่กระทรวงการคลังที่ถือหุ้นอยู่ในสถาบันการเงินบางแห่ง ไม่ใช่ว่าทุกแห่งที่กระทรวงการคลังถือหุ้นตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในอดีตจะเข้ามารักษาสัดส่วนการถือหุ้นทุกแห่ง บางแห่งก็ขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศหรือขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม แต่ในกรณีของธนาคารทหารไทยกลับเลือกที่จะรักษาสิทธิในหุ้นเพิ่มทุนที่แม้จะขัดสนในเรื่องเงิน แต่ก็ทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาสิทธิ จนทำให้หลายฝ่ายข้องใจว่าทำไมต้องลงทุนกับธนาคารแห่งนี้มากเป็นพิเศษ

นับจากนี้คงต้องติดตามว่าธนาคารทหารไทยจะดำเนินงานไปในทิศทางใด แม้ว่าในรอบครึ่งปี 2549 จะมีกำไรราว 3.33 พันบ้านบาทลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย รวมทั้งแผนในการล้างขาดทุนสะสมที่มีกว่า 4 หมื่นล้านบาทจะแก้ด้วยวิธีการใด และจะมีเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่ได้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us