Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กันยายน 2549
เปิด 4 เส้นทางขนส่งสินค้าไทย-จีน “แหลมฉบัง” ได้เปรียบต้นทุนต่ำ-นักธุรกิจชี้มือใหม่ระวังจีนตุ๋น             
 


   
search resources

Import-Export




เปิด 4 เส้นทางหลักสินค้าจีนเข้าไทย “แม่สาย-เชียงแสน-เชียงของ” ด่านนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนตอนใต้ ขณะที่ “ท่าเรือแหลมฉบัง” เส้นทางหลักพ่อค้าไทยนำเข้าสินค้าจีนจากมณฑลกวางเจา “ศุลกากร”เชียงของเชื่อถนนเส้นใหม่ที่กำลังสร้างจะทำให้ไทยมีโอกาสส่งของไปขายจีนมากขึ้น ลดปัญหาเสียเปรียบ FTA จีน ขณะที่นักธุรกิจผู้เชี่ยวชาญทำการค้าไทย-จีนชี้ ขนส่งทางน้ำยังได้เปรียบเรื่องต้นทุน พร้อมเตือน ระวัง! ถูกพ่อค้าจีนโกง ส่งสินค้าคุณภาพต่ำ-ไม่ตรงออเดอร์

หลังจากที่จีนได้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจเต็มตัว และหลังจากที่ประเทศไทยได้จัดงานฉลองความสัมพันธ์กับจีนครบ 30 ปี ได้ทำให้กระแสการค้าขายระหว่างไทย-จีนมีมากขึ้น แต่ในการทำการค้ากับจีนก็ไม่ง่าย และมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่คนที่ริเริ่มจะทำการค้าระหว่างไทยกับจีนจะต้องรู้คือเส้นทางสินค้าจีนที่เข้าไทยนั้น และมีโอกาสได้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวได้หรือไม่?

เปิด 3 เส้นทางเหนือ-สินค้าจีนเข้าไทย

โดยสินค้าที่มาจากจีนนั้น หลัก ๆ มี 2 เส้นทาง ได้แก่เส้นทางทางเหนือ ที่สินค้าจีนจะเข้าไทยทาง 3 ด่านศุลกากร คือ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ส่วนในภาคกลางเส้นทางสำคัญของสินค้าจีนจะเข้ามาทางท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

ผู้ช่วยหัวหน้าด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สินค้าจีนที่เข้าไทย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มาจากประเทศจีนตอนใต้ โดยเฉพาะ คุนหมิง มณฑลยุนนาน โดยเส้นทางสินค้าจะเข้ามาทางเรือ เข้ามาในไทย 3 ช่องทางคือ คือ

เส้นทางจากคุนหมิง ผ่านประเทศพม่า เข้ามาทางแม่สาย สินค้าที่ล่องเรือมาทางนี้มีส่วนหนึ่งที่เป็นสินค้าผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าละเมิดลิขสิทธิ และเครื่องไฟฟ้า แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้ามาในประเทศไทย สินค้าจะอยู่ที่ฝั่งพม่า ส่วนใหญ่คนที่ต้องการซื้อสินค้าประเภทนี้จึงเป็นนักท่องเที่ยวที่ข้ามฝั่งไปเที่ยว และซื้อสินค้ากลับเข้ามาเมืองไทย แต่สินค้าที่ซื้อก็จะมีจำนวนไม่มากนัก

เส้นทางจากจีนตอนใต้มาเข้าเมืองไทยที่ด่านเชียงแสน โดยที่ด่านเชียงแสนนี้ปัจจุบันนับเป็นด่านที่มีสินค้าจากจีนเข้ามามากที่สุด รวมทั้งมีสินค้าไทยส่งออกไปจีนด้วย แต่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจีนที่เข้ามาในไทยมากกว่า ขณะที่สินค้าไทยที่ส่งไปจีนปัจจุบันก็มีแค่ลำไยเท่านั้น

“จริง ๆ แล้วสินค้าที่มาทางนี้จะเข้าไปทางประเทศพม่าเช่นกัน แต่ติดปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ทำให้ผู้ส่งออกจีนตัดสินใจนำสินค้ามาเข้าประเทศไทยแทน”

อย่างไรก็ดี ที่ด่านเชียงแสนนี้จะเห็นปัญหาชัดเจนว่าคนไทยไม่มีศักยภาพที่จะกำหนดบทบาทการค้าการส่งออกของไทยได้ แต่จะเป็นไปตามความต้องการของพ่อค้าจีน เพราะส่วนใหญ่เรือสินค้าจะเป็นเรือสินค้าของคนจีน ซึ่งไทยไม่สามารถจะกำหนดได้ว่าจะส่งออกสินค้าอะไรไปจีน นอกจากพ่อค้าจีนจะต้องการสินค้าไทยเอง ปัจจุบันมีเพียงลำไยเท่านั้นที่พ่อค้าจีนต้องการ ขณะที่พ่อค้าไทยหากจะลงทุนในเรือสินค้าเองก็ทำได้ยาก เพราะเวลาล่องเรือไปจะต้องผ่านเขตแดนของพม่า ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีปัญหาชนกลุ่มน้อยของพม่า ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะเกรงใจพ่อค้าจีน แต่หากเป็นพ่อค้าคนไทยจะไม่ได้รับเครดิตจากชนกลุ่มน้อยในพม่า และมักมีปัญหาในการขนส่งสินค้า

อีกทั้งในอนาคตจีนมีเป้าหมายในการสร้างเขื่อนหลายเขื่อน เช่นที่ผ่านมามีการสร้างเขื่อนที่แม่น้ำล้านช้างในจีน ซึ่งมีส่วนทำให้ปริมาณน้ำน้อยลงจนเรือไม่สามารถแล่นได้ ปัญหาทรัพยากรน้ำของจีนดังกล่าวกำลังเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างคนทำธุรกิจกับรัฐบาลจีนท้องถิ่นอย่างมาก ซึ่งประเด็นนี้จะส่งผลกระทบกับไทยด้วย เพราะหากปริมาณน้ำมีน้อย การขนส่งทางน้ำจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ลำไยมีการออกผล จะเป็นช่วงน้ำน้อยพอดีด้วย

“เชียงของ” เส้นทางหลักภาคเหนือใหม่

ส่วนด่านเชียงของ ปัจจุบันถือเป็นด่านเล็ก ๆ ที่มีสินค้าเข้าจากจีนน้อยกว่าด่านเชียงแสนมาก สินค้าที่นำเข้ามาในด่านนี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งทอ ซึ่งจะมีการเสียภาษีตามปกติ ปัญหาสำคัญคือการที่ไทยต้องเก็บภาษีในราคาตามข้อตกลงของ GATT เป็นราคาที่ต่ำเกินไป จะทำให้มีปัญหาสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดสิ่งทอไทยได้ง่าย ปัจจุบันจึงมีการเก็บภาษีในช่องทางอื่น ๆ โดยเพิ่มช่องทางการประเมินราคามากขึ้น และอนาคตกรมศุลกากรกำลังดำเนินการขออนุมัติคณะรัฐมนตรีในการใช้อำนาจประเมินราคาสินค้าแต่ละชนิดมากขึ้น เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในอนาคตไทยมีความร่วมมือกับจีนในการสร้างถนน โดยเฉพาะถนนจากทางตอนใต้ของจีน มาเข้าที่ด่านเชียงของ ซึ่งคาดว่าจะมีการสร้างเสร็จภายในปลายปีหน้านั้น เชื่อว่าด่านเชียงของ จะเป็นด่านสำคัญที่จะมีการนำเข้าสินค้าจีนมากที่สุดในภาคเหนือแทนที่ด่านเชียงแสนในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าการขนส่งทางบกที่จะมีจะเปิดโอกาสให้พ่อค้าไทยสามารถกำหนดสินค้าที่จะนำไปขายในจีน รวมทั้งมีสินค้าเกษตรประเภทอื่น ๆ ส่งไปขายในจีนมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับพ่อค้าไทย โดยเฉพาะในปี 2008 ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีอัตราภาษีผ่านแดนเป็นศูนย์ ก็จะเป็นส่วนที่ทำให้การค้าระหว่างไทย-จีนสะดวกมากขึ้น เพราะสินค้าที่ต้องผ่านทางลาวจะง่ายขึ้น แต่ก็ต้องดูเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมที่จะมาแทนที่ภาษีผ่านแดนให้ดีด้วย

“สินค้าจีนยังไงก็ต้องเข้ามาไทย มองว่าตอนนี้เราเสียเปรียบจีนมาก โดยเฉพาะการทำ FTA ไทย-จีน การที่มีการเปิดเส้นทางใหม่ไทย-จีน โดยเน้นการขนส่งทางบก จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าไทยจะสามารถนำสินค้าไปขายจีนได้มากขึ้น แต่รัฐบาลก็ต้องไปเปิดตลาดจีนให้พ่อค้าไทยด้วย อีกทั้งจะต้องมีการคุย 3 ฝ่าย ได้แก่ จีน-ลาว-ไทย มากขึ้น”

ทั้งนี้ในอนาคตอยากเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม และศูนย์คอนเทนเนอร์ ยาร์ดในบริเวณใกล้กับด่านศุลกากรเชียงของมากขึ้น เพื่อดันให้บริเวณนี้เป็น Hub ของการขอส่งทางบกที่สำคัญของไทยด้วย

สินค้าจาก “กวางเจา”เข้าด่านแหลมฉบัง

ด้านปัญญา ปรัชญาภินันท์ ประธานกรรมการบริษัท ไชน่า ซิตี้ ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการทำการค้าไทย-จีนมากว่า 10 ปี กล่าวถึงเส้นทางการนำเข้าสินค้าจีนที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งคือ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ที่จะมีสินค้าจีนจากทั่วประเทศจีนนำเข้ามาขายในเมืองไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าจากเมืองกวางเจา มณฑลกวางตง และมีการขนส่งทางน้ำเป็นหลัก

พ่อค้าไทยส่วนใหญ่จะนำสินค้าจากเมืองกวางเจามาขายในเมืองไทย จากการเข้า ร่วมงานจัดแสดงสินค้าของรัฐบาลจีนที่มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศของจีนที่มีชื่อว่า “เจียวอี้ฮุ้ย” ที่เป็นงานที่นำสินค้าจากแทบทุกมณฑลในจีนมารวมกัน ซึ่งงานนี้จะมีนักลงทุนเดินทางมาเลือกติดต่อซื้อสินค้าจากทั่วโลกรวมถึงพ่อค้าไทยด้วย

ทั้งนี้การขนส่งสินค้าจีนทางน้ำเพื่อมาขึ้นท่าเรือแหลมฉบังนั้น ดีกว่าการที่จีนจะเข้ามาที่ด่านศุลกากรทางตอนเหนือของไทย เพราะต้องขนส่งสินค้าทางบกจากจังหวัดเชียงราย-เชียงใหม่ มาสู่กรุงเทพอีกรอบหนึ่ง ซึ่งปัญหาน้ำมันแพงจะทำให้สินค้าจีนเหล่านี้มีต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่การขนส่งทางเรือมีต้นทุนสินค้าที่ถูกกว่ามาก รวมทั้งสินค้าหากขนส่งมาทางเรือจะสามารถขนส่งในปริมาณที่มากกว่าการขนส่งทางบกหลายเท่า ฉะนั้นในอนาคตที่จะมีการเปิดเส้นทางขนส่งทางบกจากตอนใต้ของจีนมาที่ภาคเหนือของไทย โดยส่วนตัวแล้วมองว่าไม่คุ้มค่าขนส่ง การขนส่งทางเรือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และต้องขนส่งมาที่ท่าที่ใกล้กับสถานที่ตั้งของธุรกิจของเราให้มากที่สุด

“ของเด็กเล่นจะมีการทำมากที่สุดที่เมืองเถ่งไห้(ภาษาแต้จิ๋ว) ทางมณฑลกวางตง ทางขนส่งมาทางเรือจะถูกกว่าขนส่งทางรถมาก เพราะเอามาได้น้อย แถมค่าน้ำมันแพง อีกทั้งอาจประสบอุบัติเหตุ และไม่สามาถกำหนดเวลาส่งมอบได้ ไม่เหมือนกับขนส่งทางน้ำไม่มีปัญหาการกำหนดเวลาส่งมอบ”

ระวัง! ถูกพ่อค้าจีนโกง

อย่างไรก็ดีประธานกรรมการบริษัท ไชน่า ซิตี้ ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ บอกว่า อยากเตือนพ่อค้าหรือคนที่เริ่มคิดจะซื้อสินค้าจีนมาขาย ว่าในการทำการค้ากับคนจีนไม่ง่าย ถ้าจะติดต่อทำการค้ากับบริษัทใด ก็ต้องดูให้ดีว่าเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันพ่อค้าจีนมีการโกงสินค้ากันมาก โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งมาถึงเมืองไทยมักจะได้ไม่ตรงกับที่สั่งไป เช่น สั่งกางเกงเอว 30-31-32 แต่ส่งมาเป็นเอว 27-28 เพราะใช้เนื้อผ้าน้อยกว่า หรือ สั่งเสื้อผ้าฝ้ายได้ผ้าผสม ฯลฯ

“ครั้งหนึ่งเคยไปเลือกซื้อมีดที่บริษัทหนึ่ง มีความคมมาก ได้มีการตกลงซื้อขายกัน และบริษัททางจีนจะทำการส่งสินค้ามาทางเรือมาให้ แต่ปรากฏว่าพอสินค้ามาถึง ทางเราก็ไปส่งเงินให้เขา แต่พอเอาสินค้ามาดู มีดคุณภาพต่ำมาก แถมไม่มีความคม ตอนนั้นต้องยอมขาดทุน เพราะถ้าจะส่งสินค้ากลับไปให้เขาเจียระไนใหม่ ทำแพคกิ้งใหม่ ต้นทุนสินค้าจะแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในเมืองไทยเสียอีก”

ดังนั้นจึงมองว่าปัจจัยสำคัญในการซื้อสินค้าจากจีนมาขาย พ่อค้าไทยจึงต้องเลือกทำการค้ากับบริษัทที่น่าเชื่อถือเท่านั้นปัจจุบันได้มีตัวแทนเอเย่นต์คนไทยหลายคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ และนำสินค้าจีนหลายประเภทมาขาย หากไม่อยากถูกโกงก็สามารถซื้อสินค้าจีนจากเอเย่นต์เหล่านี้ได้ แต่หากขายสินค้าประเภทเดียว เช่นนาฬิกา แนะนำว่าไปเลือกเองที่เมืองจีนจะดีกว่า เพราะสามารถขนสินค้ามาเต็มคอนเทนเนอร์ และคุ้มกว่า แต่ต้องดูคู่ค้าให้ดี ส่วนเอเย่นต์นั้นควรพิจารณาคนที่มีประสบการณด้านชิปปิ้งและมีประสบการณ์มาก จะทำให้สามารถทุ่นเวลาในการไปซื้อสินค้าจากจีนโดยตรง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us