Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กันยายน 2549
เปิดนโยบายเชิงรุก 'บ้านใร่กาแฟ'ชู 'แฟรนไชส์' ขับเคลื่อนธุรกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บ้านใร่กาแฟ

   
search resources

ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย), บจก.
อัศวิน ไขรัศมี
Coffee




องค์กรบ้านใร่กาแฟ เพิ่งทำการเลือกตั้งประธานคนใหม่คือ 'อมรรัตน์ คณานุรักษ์' แทน 'สายชล พเยาว์น้อย' ผู้ที่ได้วางรากฐานแนวคิดธุรกิจมาตลอดระยะ 8 ปีที่ผ่านมากับจำนวนสาขา ณ ปัจจุบันที่ 109 สาขา และ กับประธานคนใหม่นี้ ล่าสุดได้ชูนโยบายการดำเนินธุรกิจเชิงรุก ภายใต้การแข่งขันของตลาดกาแฟ

กลยุทธ์แฟรนไชส์ ถูกหยิบยกขึ้นมาและเป็นหนึ่งในนโยบายเชิงรุกตัวหนึ่ง หลังได้ชิมรางและเปิดตัวแฟรนไชส์ไทชงมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายสาขาครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและกลุ่มลูกค้า ออกสู่ต่างจังหวัดและทำเลใหม่ๆ หรือเพิ่มช่องทางการจำหน่ายนอกจากทำเลในปั๊มน้ำมันที่แข่งกันดุเดือดและมองว่าทำเลดังกล่าวนี้เต็มหมดแล้ว

ชูความพร้อมคน-ระบบ-สินค้า โดดลุยกลยุทธ์แฟรนไชส์

อัศวิน ไขรัศมี ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ขณะนี้บ้านใร่กาแฟ มีความพร้อม 100% ในการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ด้วยความพร้อมที่ว่าคือระบบการบริหารจัดการธุรกิจ บุคลากรที่มีประสบการณ์และสินค้าที่หลากหลายขึ้น รวมถึงราคาตั้งแต่ 10-80 บาท และสินค้าเสริม เช่น ข้าว กาแฟทรีอินวัน กาแฟสำเร็จรูป และพันธมิตรธุรกิจสุรพลฟูดนำอาหารโฟสเซ่นมาให้บริการกับลูกค้า

"ที่ผ่านมาได้ทดลองโมเดลแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 2545 ทั้งแฟรนไชส์เต็มรูปแบบและแฟรนไชส์ที่ขายเฉพาะแบรนด์และโนฮาวเท่านั้นซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบ แต่ปรากฏว่าพบปัญหาค่อนข้างมาก ทำให้ขณะนั้นบริษัทตัดสินใจขยายสาขาของบริษัทเอง จนปัจจุบันมีสาขาแล้ว 109 สาขา ประสบการณ์ดังกล่าวนำมาต่อยอดธุรกิจสู่รูปแบบแฟรนไชส์"

และการกลับมาสู่กลยุทธ์แฟรนไชส์ในครั้งนี้ อัศวินมองว่า ยังคงได้รับการตอบรับจากนักลงทุนจำนวนมาก จากช่วง 1-2 ปีแรกที่ดำเนินธุรกิจมามีนักลงทุนติดต่อเข้ามาร่วมธุรกิจเฉลี่ย 20 รายต่อเดือน วันนี้เช่นเดียวกัน และเป็นจังหวะที่ดีในการคัดเลือกแฟรนไชซีที่มีแนวคิดการพัฒนาธุรกิจ องค์กรไปในทิศทางเดียวกัน เพราะ 8 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ที่เข้ามาลงทุนได้

กับการลงทุนนั้น อัศวินกล่าวว่า ได้แบ่งเป็น 3 รูปแบบ (อ่านล้อมกรอบประกอบ) คือ 1.ชอป สะแตนอะโลนขนาดพื้นที่ 40 ตร.ม. ขึ้นไป ลงทุน 2 ล้านบาท 2.คีออส คอร์นเนอร์ พื้นที่ 6-40 ตร.ม. ลงทุน 1.05 ล้านบาทและ 3.เคาท์เตอร์ ลงทุน 6.5 แสนบาท

อัศวิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเบื้องต้นนี้ได้เปิดรับนักลงทุนเพียง 5 รายเท่านั้น ทั้งนี้ได้ยึดวิธีคิดขององค์กรคือการเติบโตแบบขั้นบันไดหรือพอเพียง ทั้งนี้ต้องการให้ทั้ง 5 สาขาประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจและคุณภาพจะใช้ระยะเวลาติดตามผลประมาณ 6 เดือน หากประสบความสำเร็จจะเริ่มรุกขายสาขาเต็มที่ได้ในปี 2550 สิ่งที่เป็นตัวพิสูจน์คือวิเคราะห์ความสำเร็จธุรกิจ ระยะเวลาการคุ้มทุนเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ทำเลใช่หรือไม่และ ระบบการบริการระหว่างบริษัทและร้านสาขา

นอกจากนี้บ้านใร่กาแฟ ยังให้ความสำคัญกับการคัดเลือกแฟรนไชซี ที่ยอมรับในแนวคิดการบริหารองค์ในแบบฉบับบ้านใร่ ซึ่งมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับคนหรือบุคลากร เพราะความสำเร็จของธุรกิจที่ผ่านมาคนเป็นสิ่งสำคัญ ในการยกย่องคน เพราะจะทำให้เขาเหล่านั้นแสดงศักยภาพสู่ผู้ลงทุนและเกิดความยั่งยืนมากกว่าแค่ผลกำไร

และคำถามที่ว่า การเข้าสู่กลยุทธ์แฟรนไชส์บ้านใร่กาแฟนั้นช้าไปหรือไม่ อัศวินมองว่าเป็นจังหวะมากกว่า โดยไม่ได้มองถึงผลตอบแทนเชิงธุรกิจประเภทน้ำขึ้นให้รีบตัก แต่เป็นจังหวะความพร้อมขององค์กรในการขับเคลื่อนธุรกิจนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าในเชิงธุรกิจนั้น มองว่าการเติบโตของธุรกิจกาแฟยังโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 20% รวมถึงผู้บริโภค และบ้านใร่กาแฟยังมีช่องว่าง จากแบรนด์ที่เข้มแข็งในตลาดที่เป็นที่รู้จักของลูกค้า การต่อยอดธุรกิจจากความสำเร็จของแบรนด์จึงไม่ใช่เรื่องยาก และปัจจุบันอัตราการขยายตัวของร้านกาแฟส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่เข้มแข็งในตลาด และโอกาสการแจ้งเกิดแบรนด์ใหม่ค่อนข้างน้อย จึงไม่ได้มองว่าเป็นการเข้าตลาดมาช้ากว่ารายอื่นแต่อย่างใด

ขยายช่องทางการจำหน่ายทำเลต้นแบบ 'ห้าง-MRT'

อัศวิน กล่าวต่อไปอีกว่า กลยุทธ์แฟรนไชส์นั้นนอกจากจะเป็นการรุกในเชิงธุรกิจเพื่อขยายสาขาครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากจำนวนร้านที่เพิ่มขึ้น เพราะยอมรับว่าช่องทางการขยายบ้านใร่กาแฟ 82 สาขาอยู่ในปั๊มน้ำมันเจท และปัจจุบันทำเลเต็มหรือการจะขยายสู่ปั๊มอื่นส่วนใหญ่จะมีแบรนด์อื่นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้จึงต้องหาทำเลใหม่เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่าย

ห้างสรรพสินค้าเป็นทางเลือกหลักที่จะขายบ้านใร่กาแฟเข้าสู่ห้าง สรรพสินค้า และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เพราะประสบความสำเร็จธุรกิจสามารถเลี้ยงตัวเองได้จากการเปิดบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 10 สาขา

กับการขยายสู่ห้างสรรพสินค้านั้นอยู่ระหว่างการติดต่อห้างสรรพสินค้า คาดจะสามารถเปิดได้ภายในปลายปีนี้ 1 สาขาได้ก่อน ทั้งนี้ทำเลห้างสรรพสินค้าเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย จากการวิจัยฐานลูกค้าที่ใช้บริการบ้านใร่กาแฟในปั๊มตามเส้นเดินทางนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพฯ และยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดยาว 20-30% ฉะนั้นห้างสรรพสินค้าจะเป็นช่องทางการจำหน่ายเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้สามารถใช้บริการได้ถี่ขึ้น

และสำหรับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น เป็นการขยายฐานลูกค้าที่โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งไม่มีโอกาสได้ใช้บริการในปั๊มน้ำมัน ทั้งนี้พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯ แต่การให้บริการในกรุงเทพฯ ค่อนข้างน้อย จึงเปิดทำเลในห้าง ซึ่งเป็นทำเลที่บริษัทได้สนับสนุนให้แฟรนไชซีด้วยเช่นกัน

อัศวินกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ทำเลในห้างสรรพสินค้าจะเป็นทำเลที่ร้านกาแฟแบรนด์ไทยและต่างชาติแห่ไปจับจองกันจำนวนมากแล้วนั้น ยังมีช่องว่างของบ้านใร่กาแฟด้วยสินค้าที่แตกต่างในเรื่องรสชาติที่เข้มค้น ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าประจำ เพราะจากการเก็บสถิติลูกค้าจาก 109 สาขาพบมียอดลูกค้าประมาณ 120,000 คนต่อเดือนและเพิ่มขึ้น 20-30% ในช่วงวันหยุด ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าคือคนกรุงเทพฯ ที่เข้ามาใช้บริการในห้างสรรพสินค้า

เปิดแผนตลาดต่างประเทศ 6 ปท.ตะวันออกลาง-กัมพูชา

วุฒิชัย สร้อยฟ้า ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจตลาดต่างประเทศ กล่าวถึงการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากและที่เห็นชัดเจนคาดจะสามารถสรุปได้ภายในสิ้นปี 2549 ใน 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย โอมาน คูเวต บาเรนห์ การ์ต้า ยูเออี ซึ่งเป็นนักธุรกิจจากซาอุดิอาระเบียสนใจโมเดลธุรกิจบ้านไร่ทั้งในส่วนของแฟรนไชส์และสินค้าเพื่อนำไปจำหน่าย

สำหรับแฟรนไชส์ นั้นนักธุรกิจรายดังกล่าวได้เห็นรูปแบบการลงทุนในปั๊มน้ำมันและต้องการที่จะเปิดตลาดเช่นเดียวกันไทย ส่วนสินค้านั้นเป็นเจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าหลายแห่งสามารถนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายได้เลยและโอกาสการเติบโตในตลาดของ 6 ประเทศสูงมาก เพราะประชากรเกือบทั้งหมดนิยมการบริโภคกาแฟ

นอกจากนี้ได้แก่ นักลงทุนจากกัมพูชา ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไทยหลายยี่ห้อ สนใจที่จะเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์บ้านใร่กาแฟในกัมพูชา คาดจะสามารถได้ข้อสรุปเร็วนี้ๆ เช่นกัน

"ที่ผ่านมาความสนใจจากนักลงทุนมีหลายภูมิภาคทั้งยุโรป อเมริกา ซึ่งเป็นนักลงทุนไทยที่ไปเปิดร้านอาหาร ทำกิจการในต่างประเทศและความสนใจของนักลงทุนในประเทศนั้นๆ ที่เห็นจุดเด่นของแบรนด์กาแฟไทยและคอนเซ็ปต์ธุรกิจที่เป็นจุดขายที่แตกต่าง จากนี้ไปคาดจะมีการเจรจาอย่างต่อเนื่องเพราะความสนใจเข้ามาสูงมาก และเป้าหมายโมเดลในต่างประเทศนั้นตามแผนงานต้องสามารถดำเนินการภายในปี 2549นี้" วุฒิชัยกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us