Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537
"สภาสถาปนิก ความมุ่งหมายของ "หัวหมู่ทะลวงฟัน"             
 


   
search resources

สภาสถาปนิก
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์




สถาปนิกเป็นอีกวิชาชีพประเภทหนึ่ง ที่พร้อมจะได้รับคำสรรเสริญและก่นด่าได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบุคคลว่ามีความเห็นเป็นเช่นไร แต่ "จรรยาบรรณ" และความรับผิดชอบต่อผลงาน จะเป็นสิ่งที่ตีกรอบให้สถาปนิกแต่ละคนไม่ออกนอกลู่นอกทางมากเกินไปนัก

แต่อำนาจที่จะคอยควบคุมจรรยาบรรณของสถาปนิกได้อย่างเต็มที่นั้น ปัจจุบันไปตกอยู่ในมือของคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือ กส. ซึ่งขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ในขณะที่สมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมตัวกันขึ้นโดยมวลหมู่สถาปนิก กลับไม่มีบทบาทประการหนึ่งประการใดในเรื่องนี้

ความคิดเรื่อง "สภาสถาปนิก" จึงได้ก่อตัวขึ้นและมีทีท่าว่าจะเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เมื่อการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของสมาคมชุดใหม่ได้จบสิ้นลงและได้ทีมงานบริหารชุดใหม่ ซึ่งมีจ่าฝูงที่ชื่อว่า "ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์" ซึ่งชูประเด็นหาเสียงก่อนการเลือกตั้งไว้ว่าจะผลักดันให้ "สภาสถาปนิก" เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้จงได้

อันที่จริงแล้ว ความคิดเรื่อง "สภาสถาปนิก" นี้เกิดขึ้นมานานพอสมควรแล้ว นับแต่สมัยที่สมาคมมีมติ ตั้งพานิชเป็นนายก และได้มีการสานต่อความคิดกันเรื่อยมา จนเมื่อสมัยที่แล้วที่มีนิธิ สถาปิตานนท์ เป็นหัวเรือใหญ่นั้น ก็ได้มีการร่างแนวทางที่จะเข้าไปแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม เมื่อเตรียมจะทำคลอดให้สภาสถาปนิกเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน

และเมื่อสมาคมสถาปนิกได้มีการผลัดแผ่นดินให้ยอดเยี่ยม ขึ้นมาเป็นนายกฯ ในครั้งนี้ ก็มีความหวังว่าเขาจะสามารถอาศัย "บุคลิกพิเศษ" ฝ่าฟันงานชิ้นนี้ไปถึงฝั่งจนได้

บุคลิกพิเศษดังว่าของยอดเยี่ยมนี้คือ ความเป็นคนชอบ "ลุย" และบุกในทุกสถานการณ์ที่ขวางหน้า จนเป็นที่รู้กันในหมู่กรรมการของสมาคมว่า เขาเป็นหนึ่งในหนุ่มไฟแรงของสมาคม ที่ทำงานแบบจิกไม่ปล่อย จนได้สมญาว่า "หัวหมู่ทะลวงฟัน" และเป็นผู้หนึ่งที่มีฝีปากร้าย จนหลายคนที่เคยปะทะคารมมาด้วยต้องพากันหนาวไปตาม ๆ กัน

ดังนั้นเมื่อสมาคมได้มอบหมายภาระกิจอันหนักอึ้งเช่นนี้ให้เขาทำเป็นการพิสูจน์ตนเองเช่นนี้ เขาจึงต้องวางแผนการผลักดันเรื่องนี้ อย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง โดยสังเกตได้จากนโยบายที่เขาได้นำเสนอเพื่อผลักดันเรื่องนี้ว่า ค่อนข้างดุดันพอสมควร

"จะมีการผลักดัน-จัดตั้ง "สภาสถาปนิก" เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมระบบเบ็ดเสร็จโดยบุคคลภายนอก (ดังเช่นปัจจุบัน) หากประสบความสำเร็จจะดำเนินการประสานงานกับวิชาชีพอื่นเช่น แพทย์ ทนายความ เภสัชกร ผู้ตรวจสอบบัญชี พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร เพื่อเจรจากับต่างประเทศตามข้อตกลง ให้สถาปนิกไทย และต่างชาติอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันทั้งเกียรติศักดิ์ และผลประโยชน์ กีดกันการเป็นอาณานิคมทางธุรกิจ-วิชาชีพ ซึ่งกระทำกันอย่างลับ ๆ ในปัจจุบัน"

ขั้นตอนที่จะดำเนินการนั้นในขณะนี้ได้มีการ "จับเข่า" คุยกันทาง กส. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเดิมแล้วว่า การจัดตั้งสภาสถาปนิกขึ้นครั้งนี้ ไม่ใช่ขึ้นมาเพื่อแก่งแย่งอำนาจ หรือให้เกิดความซับซ้อน แต่หวังจะให้มีอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน คอยเป็นหูเป็นตา ให้สอดส่องการกระทำของมวลหมู่สถาปนิก ให้กว้างไกลกว่าที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น มีความเป็นไปได้สูงว่า แทนที่จะตั้งสภาสถาปนิกให้เป็นองค์กรเอกเทศขึ้นมาต่างหาก ก็อาจจะยกฐานะของ กส. ขึ้นเป็นสภาฯ แทน และให้มีสมาชิกจากทั้ง 2 หน่วยงานเข้ารวมตัวกัน โดยให้มีการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้นมาบริหารเป็นวาระ ๆ ไปซึ่งการเจรจาจับเข่าคุยกันกับ กส. ในรอบแรกนี้ ทาง กส. ก็รับหลักการด้วยดี

แต่ความยากของการผลักดันเรื่องนี้นั้นกำลังรออยู่ข้างหน้า นั่นก็คือการเจรจาและผลักดันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านเห็นคุณค่าความสำคัญของการแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งการก่อกำเนิดของสภาสถาปนิกนี้ รวมถึงการเร่งผลักดันให้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาโดยเร็วหากเป็นไปได้ ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ยอดเยี่ยมและทีมงานต้องฝ่าฟันไปให้จงได้

"ซึ่งหากเป็นไปตามขั้นตอน และไม่เกิดอุบัติเหตุทางด้านการเมืองขึ้นแล้ว ก็เชื่อได้ว่าเราจะสามารถผลักดันสภาสถาปนิกเกิดขึ้นได้ในไม่ช้านี้ แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง ๆ แล้ว เรื่องนี้ก็ต้องล่าช้าออกไปพอสมควร" ยอดเยี่ยมกล่าว

สำหรับข้อดีของการมีสภาสถาปนิกขึ้นมา นอกจากจะมีหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลมวลหมู่สมาชิกด้วยกันอย่างรู้ซึ้งถึงจิตใจของกันและกัน แล้วก็จะช่วยยกระดับงานสถาปัตยกรรมของไทย โดยเฉพาะงานอาคารให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหลักประการหนึ่งที่ทีมงานของยอดเยี่ยม จะต้องเข้าไปแก้ไขให้ได้ด้วยคือ การยกระดับการยอมรับสถาปนิกไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติ เพื่อตัดปัญหาสถาปนิกจากต่างชาติเข้ามาแย่งงานในไทย ซึ่งกำลังลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตในขณะนี้

ผลพวงจากการยกระดับสถาปัตยกรรมขึ้นมานี้เองจะส่งผลให้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม (FEE) ซึ่งเป็นมติของ GATT ต่อการรับงานสถาปนิกทั่วโลกนั้น จะหันมามองประเทศไทยด้วยมาตรฐานการมองที่ไม่แตกต่างจากชาติอื่น อัตราค่าธรรมเนียมของไทยก็คงต้องสูงขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อมวลหมู่สถาปนิกโดยตรง

เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ได้มีการผลักดันให้มีการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมของสถาปนิกภายในประเทศให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่คือประมาณ 1-3% มานานพอสมควรแล้ว แต่เนื่องด้วยศักยภาพของสถาปนิกไทยที่จะเรียกร้องให้เจ้าของโครงการขึ้นค่างานของตนให้สูงขึ้นนั้นยังทำไม่ได้ในทันที เพราะค่าธรรมเนียมนี้เป็นอัตราที่ยึดถือกันมาเป็นเวลาช้านาน การปรับค่าธรรมเนียมขึ้น จะมีผลต่อความคุ้นเคยที่เคยติดต่อกันมาและงานที่ได้รับในอนาคตด้วย เหล่าสถาปนิกไทยจึงต้องกล้ำกลืนฝืนทนมาตลอดเวลา

นอกจากเรื่องสภาสถาปนิก ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการทำงานของนายกสมาคมสถาปนิกสยามคนใหม่นี้ แล้วประเด็นหลักอีกอย่างหนึ่งที่ยอดเยี่ยมเน้นเป็นอย่างมาก คือการมุ่งกระจายให้บริการของสมาคมไปสู่สังคมระดับกลาง และระดับล่างให้มากกว่าที่เป็นมา ทางด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกฎหมายนั้น ทีมงานของยอดเยี่ยมกำลังศึกษาที่จะเข้าไปผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้อยู่อาศัยระดับกลาง และระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อบัญญัติ หรือข้อกำหนดผังเมืองที่ว่าด้วยการจัด ZONING หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการกำหนดประเภทบ้านจัดสรร รวมถึงกฎหมายควบคุมอาคารที่ยังมีช่องโหว่อีกมากมาย เหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายความสามารถของทีมงานของคนหนุ่มไฟแรงนี้ว่า จะทำงานด้วยสโลแกนของยอดเยี่ยม ที่ประกาศตัวเองแปลกกว่าคนอื่นที่ว่า จะตั้งหน้า ตั้งตา ตั้งใจ … ทำงาน ทำงาน ทำงาน ไม่เสพติดในตำแหน่ง ไม่นำชื่อสมาคมและมวลสมาชิกไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ก็เป็นสัจจพจน์ที่เป็นเหมือนสัญญาประชาคมว่า

ได้เวลาที่ "หัวหมู่ทะลวงฟัน" จะตะลุยยุทธจักรแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us