Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537
"ไพโรจน์ หวังวงศ์วิโรจน์ ทนายมืออาชีพผู้อยู่เบื้องหลังทุนไทยในจีน"             
 


   
search resources

สำนักงานไพโรจน์
ไพโรจน์ หวังวงศ์วิโรจน์
Consultants and Professional Services




ไพโรจน์ หวังวงศ์วิโรจน์ เป็นทนายความมืออาชีพชั้นเยี่ยมที่จับงานทำสัญญาระหว่างประเทศให้กับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของคนไทย ที่ไปลงทุนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงแห่งเดียว จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่พ่อค้าจีน

"คนนิยมเรียกใช้ผมนั้นเป็นเพราะเหตุบังเอิญ ซึ่งผมไม่รู้ว่าเป็นบุญหรือกรรม" ไฟโรจน์รำพึงกับตัวเอง

ลูกแต้จิ๋วแซ่เฮ้งที่เกิดในไทยอย่างไพโรจน์ มีใจรักในภาษาตั้งแต่ยังเยาว์วัย เมื่อเรียนจบสูงสุดที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และขวนขวายเรียนต่อภาษาจีนในภาคกลางคืน หลังจากนั้นก็เรียนต่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่เจ็ดปีครึ่งจึงจบได้

ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ชอบตัวเลขแต่ชอบด้านภาษา แต่ก็ต้องเข้าไปเรียนเพราะคิดว่าเป็นลูกพ่อค้าก็เรียนรู้พวกนี้เอาไว้ เพื่อนรุ่นเดียวกันที่เรียนตอนนั้นก็มี ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ และอธิบดีกรมสรรพสามิต "ศุภชัย พิศิษฐ์วานิช" ไพโรจน์เล่าให้ฟัง

ความที่เป็นคนเก่งด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน ถึงขั้นเป็นครูสอนกวดวิชาไวทยากรณ์ภาษาอังกฤษถึง 14 ปี ทำให้มารุต บุนนาคซึ่งเป็นรุ่นพี่ธรรมศาสตร์ดึงตัวมาช่วยที่สำนักงานและสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย

ตรงนี้นี่เองที่ทำให้ไพโรจน์คิดได้ว่าถ้าเพียงแต่รู้บัญชีอย่างเดียวไม่พอเพียง จำเป็นต้องรอบรู้ด้านกฎหมายด้วย ไพโรจน์จึงเรียนเพิ่มเติมที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์จนกระทั่งจบในปี 2513

"เพราะความรู้ภาษานี้เองทำให้ผมทำอะไรได้มากมาย ผมได้เขียนบทความ ลงประจำในหนังสือพิมพ์จีนทุกฉบับ เช่น ซิงเสียนเยอะเป้า เขียนเกี่ยวกับเรื่องการค้าโดยรัฐ กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัติการใช้เช็ค อธิบายให้พ่อค้าจีนได้เข้าใจ" นี่คือบทบาทหนึ่งของทนายไพโรจน์

ไพโรจน์เริ่มสร้างกิจการสำนักงานของตัวเองในชื่อ "สำนักงานไพโรจน์" ขึ้นที่หัวมุมห้าแยกพลับพลาไชยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันก็ยังอยู่ที่นี่ มีลูกค้ารายใหญ่ ๆ อย่างธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงเทพ บริษัทสหพัฒนพิบูล ฯลฯ

ล่าสุดกิจการบริษัทเอเชีย แลมป์ ซึ่งแบงก์กรุงเทพเข้าถือหุ้นร่วมกับนักลงทุนชาวจีนเพื่อลงทุนในมณฑลหูหนาน ก็ได้ให้ไพโรจน์เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายและสัญญาการร่วมลงทุน ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญมาก ๆ ในการต่อรองผลประโยชน์ทางธุรกิจ

"คนไทยเราไปลงทุน ก็ถือว่าเป็นคนต่างด้าวในประเทศเขา ไม่ว่าจีน ลาว เขมร หรือเวียดนาม กฎหมายของเขาก็ย่อมจะควบคุมการประกอบธุรกิจ ในฐานะที่ผมทำงานด้านนี้ ผมก็ต้องศึกษามาตรการสำคัญ ๆ ในกฎหมายของเขาอย่างละเอียดว่า มีข้อไหนที่น่าจะเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูง ยิ่งกฎหมายจีนเขาซอยย่อย ๆ เป็นกฎหมายบังคับใช้กับแต่ละมณฑลและแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ผมก็ต้องพยายามหาซื้อหรือขอจากหน่วยราชการ เวลานี้ผมพยายามเดินทางไปเสาะแสวงหากฎหมายของไต้หวันและฮ่องกงมาศึกษา" ไพโรจน์เล่าให้ฟัง

หากนักลงทุนไม่ใช้มือกฎหมายมืออาชีพที่เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ แน่นอนผลเสียหายมหาศาลย่อมเกิดขึ้นจากความไม่รัดกุมในสัญญาร่วมลงทุน เช่นกรณีหุ้นส่วนคนไทยกลับประเทศสองอาทิตย์ ระหว่างนั้นหุ้นส่วนอีกฝ่ายเรียกประชุม โดยกระทำการประกาศในหนังสือพิมพ์จีนก่อน 7 วัน เพื่อผ่านมติเพิ่มทุนหรือปลดกรรมการฝ่ายไทยออก เรื่องก็จบเห่ ต้องฟ้องศาลซึ่งผลแพ้ชนะในอนาคตไม่ต้องเดาก็ต้องรู้ว่ากฎหมายประเทศเขาก็ต้องคุ้มครองคนของเขา

แต่ไพโรจน์ไม่เคยพลาด ภารกิจตลอดยี่สิบกว่าปีจึงได้สั่งสมชื่อเสียงให้แก่เขาอย่างดี ทั้งนี้เพราะมุมมองกฎหมายของไพโรจน์นั้นลึกซึ้งละเอียดรอบคอบ บ่อยครั้งที่เขามักพูดว่า

"ถ้าเรามองมุมกลับว่าคนต่างด้าวที่มาลงทุนในไทยเขาต้องเจอกับกฎหมายไทยอย่างไรบ้าง เขาเลี่ยงกฎหมายแบบไหน และมีกฎหมายที่เป็นภัยต่อเขาหรือไม่? เราก็เอาประสบการณ์นี้มาคิดเมื่อต้องอยู่ใต้กฎหมายประเทศอื่น ๆ" ทนายจีนไพโรจน์เล่าให้ฟัง

ทุกวันนี้ไพโรจน์ยังคงทำงานหนักอย่างเงียบ ๆ ให้กับลูกค้าระดับบิ๊ก ๆ และเตรียมตัวจะล้างมือในอ่างทองคำกับปัจฉิมวัยที่ใกล้หกสิบ กับงานที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพในยุคโลกาภิวัตรนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us