Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2549
ดาต้าแมทโละทิ้ง 5 บริษัทย่อย แก้ปัญหาปี 48 ขาดทุน 500 ล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ดาต้าแมท

   
search resources

ดาต้าแมท, บมจ.




ดาต้าแมท แจงผลงานปี 2548 ขาดทุนสุทธิกว่า 500 ล้านบาท เหตุขาดสภาพคล่องทางการเงินทำให้บริษัทย่อยต้องหยุดดำเนินกิจการ พร้อมเผยแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการโละทิ้งบริษัทย่อยทั้งหมด 5 แห่ง และเดินหน้าฟื้นฟูกิจการหลังผ่านการอนุมัติจากศาลล้มละลายกลาง

นางกุลชลี นันทสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ็ดวานซ์ แพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) หรือ DTM เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 500.75 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.46 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 119.27 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.11 บาท

โดยในปี 2548 บริษัทมีรายได้จากการขายและการบริการเพิ่มขึ้น 77.32 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 26% แต่บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้ลดลง 31.07 ล้านบาท หรือลดลง 5% เกิดจากบริษัทย่อยบางแห่งหยุดการดำเนินกิจการชั่วคราวในปี 2548 เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียน ขณะที่มีกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย 3 แห่ง จำนวน 40.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.54 ล้านบาท หรือ 13%

ขณะเดียวกัน บริษัทถูกเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ปัจจุบันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งในมูลหนี้เป็นเงินต้นจำนวน 1,322.75 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวน 321.91 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจำนวน 0.11 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,455.77 ล้านบาท ทำให้บริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและตั้งเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่มขึ้น 96.42 ล้านบาท

ด้านค่าใช้จ่ายนั้น ในปี 2548 บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 234.13 ล้านบาท หรือคิดเป็น 142% ขณะที่งบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 268.41 ล้านบาท หรือ 82% โดยปัจจัยหลักเกิดจากการที่บริษัทบันทึกตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจากลูกหนี้ เงินทดรองและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องจำนวน 122.87 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทที่เกี่ยวข้องได้หยุดดำเนินกิจการ

ขณะเดียวกัน บริษัทได้ตั้งสำรองรายการขาดทุนจากการประมาณการต้นทุนโครงการ 90.61 ล้านบาท เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ของโครงการต่างๆ ระหว่างบริษัทและคู่สัญญา ซึ่งส่งผลกระทบทำให้มีการเปลี่ยนแปลงราคาของวัสดุอุปกรณ์จากเดิมที่ได้จัดทำไว้ แต่โดยภาพรวมแล้วบริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการโครงการต่างๆ และควบคุมต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้และมีกำไรจากโครงการต่างๆ ได้

พร้อมกันนี้ บริษัทได้ชี้แจงถึงกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินเกิดจาก 2 กรณีคือ 1. บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นสาระสำคัญอย่างมากและมีผลขาดทุนสะสมเกินทุน และ 2. บริษัทอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งของศาลล้มละลายกลาง

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น บริษัทพยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนด้วยการพิจารณาขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่เหลือจำนวน 5 แห่ง ให้กับบุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยในเดือนธันวาคม 2548 ได้ขายบริษัทย่อย 3 บริษัท เดือนกุมภาพันธ์ 2549 ได้ขายบริษัทย่อย 1 บริษัท และเดือนมีนาคม 2549 ได้ขายบริษัทย่อยอีก 1 บริษัท รวมเป็น 5 บริษัท

ส่วนแนวทางการฟื้นฟูกิจการนั้น ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้เลื่อนวันนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 4 กันยายน 2549 นี้ หากศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูฯ แล้ว บริษัทจะดำเนินการฟื้นฟูกิจการภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงในการปรับโครงสร้างหนี้ โครงสร้างเงินทุน โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างทางการเงิน โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้และผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นฟูกิจการของบริษัทประสบความสำเร็จ และทำให้บริษัทฯ มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนสามารถเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการใหญ่ๆ ได้ในอนาคต จะส่งผลให้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานและสามารถล้างขาดทุนสะสมเกินทุนในงบการเงินให้หมดไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us