Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549
มูลนิธิ Bill & Melinda Gates             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
www resources

Bill & Melinda Gates Foundation Homepage

   
search resources

Bill Gates
Bill & Melinda Gates Foundation




ฉบับที่แล้วเกริ่นถึงมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ไปเพียงเล็กน้อย ฉบับนี้มาทำความรู้จักกับมูลนิธินี้กันแบบเต็มๆ

มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถือเป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ก่อตั้งและบริหารโดยครอบครัว Gates แต่ก็มีเพื่อนเก่าแก่อย่าง Patty Stonesifer มาช่วยทำให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น มูลนิธิฯ นี้กำเนิดโดยการรวมเอามูลนิธิ Gates Learning และมูลนิธิ William H. Gates Sr. (บิดาของเจ้าพ่อไมโคร ซอฟท์) เข้าด้วยกันในปี 2000 โดย Gates ได้สละเงินเป็นเงินขวัญถุงจำนวน 106 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 ปีแรก มูลนิธิฯ มีเงิน ทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้านเหรียญ ยิ่งกว่านั้น ตามที่เล่าไว้ในฉบับที่แล้วว่า Warren Buffett อภิมหาเศรษฐีอันดับ 2 ของโลกรองจาก Bill Gates ได้ประกาศพินัยกรรมบริจาคหุ้นของ บริษัท Berkshire Hithaway รวมมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านเหรียญ จากธุรกรรมนี้เพิ่มขนาดเงินกองทุนให้แก่มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถึงเท่าตัว

"มีคนถามเราว่า ทำไมเราถึงมองอนาคตในแง่ดี ในเมื่อทุกปีมีเด็กจำนวน 3 ล้านคน เสียชีวิตด้วยโรคร้ายต่างๆ ทั้งๆ ที่สามารถป้องกันได้ มีนักเรียนเพียง 70% เท่านั้นที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา (High School) โดยเฉพาะเด็กแอฟริกัน-อเมริกัน (Black) และเด็กฮิสแปนิก (Hispanic) ที่มีแค่ 50% เท่านั้นที่จบไฮสคูล และในจำนวนนั้นมีไม่ถึง 1 ใน 3 ของนักเรียนที่จบไฮสคูล ที่มีความพร้อมที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือเข้าทำงาน ทั้งยังเป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า เด็กผิวขาว (White) และคืนนี้จะมีคนไร้บ้านมากกว่า 8,000 คนในซีแอตเทิล

คำตอบก็คือ เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มการลงทุนเพื่อลดความไม่เท่าเทียมกัน อันเป็น ตัวการหลักในการแบ่งแยกสังคมมนุษย์ การที่ตระหนักถึงปัญหาต่างๆ นั้น ไม่เพียงพอหรอก ทุกคนต้องช่วยกันลงมือปฏิบัติอย่าง จริงจัง เพื่อทำให้เกิดความแตกต่าง

ภารกิจของมูลนิธิของเราคือ อุทิศตัวเพื่อปิดช่องว่างทางด้านสุขภาพ (Health) การศึกษา (Education) และการเข้าถึงข้อมูล ดิจิตอล เช่น ในพื้นที่ Pacific Northwest (มลรัฐวอร์ชิงตันและโอเรกอน) เราร่วมงานกับ พาร์ตเนอร์หลายฝ่าย เพื่อช่วยเหลือครอบครัว ที่มีปัญหา และช่วยวัยรุ่นให้เติบโตพัฒนาเป็น ผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ

เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ ทางมูลนิธิจะ ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น เราทำงานกับรัฐบาล มูลนิธิอื่น ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรทั้งหลาย เพื่อเพิ่มแรงกำลัง ขนาด และการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โครงการที่รับการบริจาคเงินช่วยเหลือของเรา จะต้องมีการปฏิบัติจริง มีจุดมุ่งหมายในระยะยาว มีแผนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้ต่อๆ ไปได้ เราต้องการ ให้โครงการที่สำเร็จเป็นแม่บทของโครงการอื่น..." เป็นข้อความส่วนหนึ่งในจดหมายของ Bill และ Melinda ที่เขียนถึงที่มาและภารกิจ ของมูลนิธิฯ โดยมูลนิธิฯ มีภารกิจแบ่งเป็น 5 เป้าหมายหลัก คือ โครงการเกี่ยวกับการศึกษา (Education) โครงการเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยของโลก (Global Health) โครงการห้องสมุดระดับสากล (Global Libraries) โครงการแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ (Pacifi Northwest) และโครงการอื่นๆ (Other Initiatives)

เป้าหมายแรก ปฏิรูประบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในอเมริกา (Education) เชื่อหรือไม่ว่า ปัจจุบันโรงเรียนระดับมัธยมในอเมริกาไม่ได้สอนให้เยาวชนพร้อมเผชิญหน้ากับระบบเศรษฐกิจที่ท้าทายในทุกวันนี้ เป้าหมายของมูลนิธิฯ คือ นักเรียนทุกคนในอเมริกาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมจะต้องมีความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดม ศึกษา มีความความพร้อมในการเข้าทำงาน และมีความพร้อมในการเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆ องค์กรด้าน การศึกษาอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยกันระดมความคิด กำหนดแนวนโยบายช่วยให้โรงเรียนสอนในสิ่งที่เด็กควรรู้ ในที่สุด นักการศึกษาได้คิดสูตร "the new 3 R's" ขึ้นมา ประกอบด้วย หลักสูตรที่เข้มงวด (rigorous curriculum) วิชาที่สัมพันธ์กัน (relevant classes) ความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่มีส่วนผลักดันให้เด็กประสบ ความสำเร็จ (relationship) ซึ่งสูตร 3 R's ใหม่นี้จะเป“นรากฐานของความสำเร็จของเด็ก ในอนาคต

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ในงาน ประชุมการศึกษาแห่งชาติ วาระเรื่องการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ที่จัดโดยสมาคมผู้ว่าการรัฐแห่งชาติ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากมูลนิธิฯ โดยมี Bill Gates ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ เขาเรียกระบบการศึกษาของ อเมริกาในปัจจุบันว่า "ล้าสมัย" (obsolete) ถึงเวลาที่ต้องนำมาปัดฝุ่นใหม่ และจากงานสัมมนาในครั้งนั้น มีหลายมลรัฐที่เห็นด้วยในการกำหนดนโยบายปรับปรุงพัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียนมัธยมในแต่ละรัฐ เพื่อมาตรฐานการศึกษาที่สูงขึ้น และมีหลายโรงเรียนที่เริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่ มีการปรับวัฒนธรรมบรรยากาศให้น่าเรียน และเป็นกันเอง แต่กระนั้นผลการเรียนของนักเรียนยังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ ในกรณีนี้ทางมูลนิธิฯ ยังคงเน้นการเรียนการสอน ที่เป็นเลิศและท้าทาย ควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างการเรียนการสอน ปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ให้ทุนเรียนดีแก่นักเรียนเก่งกว่า 9,000 คน ผ่านทุน Gates Millennium Scholars (GMS) โดยนักเรียนทุนเหล่านี้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังสนับสนุนรายการ Think ของ MTV ซึ่งเป็นรายการทาง การศึกษาสไตล์ MTV ที่เข้าถึงเยาวชนกว่า 13 ล้านคนทั่วประเทศ

เป้าหมายที่ 2 มุ่งเน้นที่สุขภาพอนามัย ของโลก (Global Health) เป็นโครงการระดับนานาชาติที่ต้องการช่วยป้องกันและรักษาโรคร้ายต่างๆ เช่น มาลาเรีย และเอดส์ เป็นต้น ที่กำลังจู่โจมประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายในแถบแอฟริกา และเอเชีย มูลนิธิฯ ให้เงินสนับสนุนโครงการพัฒนายารักษาโรคและวัคซีนป้องกันโรคร้ายต่างๆ ให้กับประเทศ ยากจนเหล่านั้น รวมถึงสนับสนุนยาและเครื่องมือรักษาโรคที่มีอยู่แล้วให้ถึงผู้ป่วยอย่างทั่วถึง

ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนโครงการต่อสู้โรคมาลาเรียในแอฟริกาเป็นจำนวน 35 ล้านเหรียญ ผ่าน PATH องค์กรพิชิตมาลาเรียที่มีสำนักงานใหญ่ในซีแอตเทิล โดย PATH ร่วมมือกับรัฐบาล Zambia และองค์กรอื่น จัดตั้งสมาพันธ์ควบคุมและการประเมินผลโรคมาลาเรียในแอฟริกา หรือ MACEPA (Malaria Control and Evaluation Partnership in Africa) ที่จะทำหน้าที่บันทึก ผลของการควบคุมโรคมาลาเรียในระดับชาติ จากการใช้มุ้ง ยารักษาโรค และเครื่องมืออื่นๆ ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ยังบริจาคเงินกว่า 200 ล้านเหรียญในการสนับสนุนการวิจัยวัคซีนป้องกัน โรคมาลาเรียของกลุ่ม PATH การวิจัยยารักษาโรคนี้ขนานใหม่ๆ และกระบวนการควบคุมประชากรยุง

นอกจากนั้นมูลนิธิฯ ยังให้การสนับสนุนการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของโลก และรายการโทรทัศน์ที่ให้ความรู้แก่คนทั่วไป เพื่อให้เขามีส่วนร่วมในการบริจาคหรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ยากไร้ในประเทศกำลังพัฒนาพิชิตภัยโรคร้าย

เป้าหมายที่ 3 สร้างห้องสมุดให้เป็นใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะ ทุกคนสามารถมาใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้าหาข้อมูล พัฒนาการเรียนรู้ การสร้างสรรค์จินตนาการ นอกจากในอเมริกาแล้ว มูลนิธิฯ ยังเริ่มโครงการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ ห้องสมุดในแคนาดา ชิลี และอังกฤษอีกด้วย ส่วนโครงการในเม็กซิโกคืบหน้าไปมากแล้ว และเมื่อสำเร็จก็จะใช้เป็นต้นแบบสำหรับประเทศอื่นๆ ต่อไป

เป้าหมายที่ 4 แปซิฟิก นอร์ธเวสต์ หรือเขตมลรัฐวอร์ชิงตัน ซึ่งมีเมืองซีแอตเทิล เป็นบ้านเกิดของมูลนิธิฯ และมลรัฐโอเรกอน ในพื้นที่เหล่านี้มีประชากรผู้ยากไร้อยู่จำนวนหนึ่ง ทางมูลนิธิฯ พยายามให้ความช่วยเหลือ ผ่านองค์กรอื่นๆ ในด้านต่างๆ เช่น ที่พักอาศัย และการศึกษาระดับเด็กเล็ก

เป้าหมายสุดท้ายเป็นการช่วยเหลือโครงการด้านอื่นๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสร้างโอกาสให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งเน้น 3 ด้าน ด้วยกัน ได้แก่ ผลผลิตและการพัฒนาด้านการเกษตร การบริการด้านการเงิน การจัด หาน้ำ ระบบสุขาภิบาล และสุขอนามัย นอก จากนี้ยังสนับสนุนโครงการบางโครงการที่ครอบครัว Gates ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น ช่วยสร้างมหาวิทยาลัยสำหรับสตรีชาวเอเชียผู้มาจากครอบครัวที่ยากจน บริจาค 3 ล้านเหรียญช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮอริ เคน คาทริน่า และช่วยสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเมาต์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างงานส่วนหนึ่งที่มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ให้การสนับ สนุนภายใต้ความเชื่อที่ว่า ทุกอย่าง ทุกคน สามารถพัฒนา เปลี่ยนแปลง และปฏิรูปได้ โดยทุกฝ่ายต้องทุ่มทั้งแรงกายแรงใจและต้องอดทนเพราะใช้เวลานาน แต่เมื่อเวลานั้นมาถึง คนทุกคนบนโลกใบนี้ ไม่ว่า เชื้อชาติใด สีผิวใด จะมีความเท่าเทียมกันในทุกด้าน... ผู้มีให้ผู้ด้อย ผู้ด้อยไขว่คว้าพัฒนา กลายเป็น ผู้มีจากนั้นเริ่มให้ต่อๆ ไปเป็นวัฏจักร...โลก คงน่าอยู่ขึ้นไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us