Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2537
"คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน"             
 

   
related stories

"อินเดีย คลื่นเศรษฐกิจใหม่ของเอเซีย"
"การลงทุนในอินเดีย เงื่อนไขเบื้องต้น"

   
search resources

ราเจนดร้า อะเนจา
Economics
India




ราเจนดร้า อะเนจากำลังตรวจนับสต็อคผงซักฟอกบนชั้นวางของในร้านแห่งหนึ่ง ที่อยู่ในเมืองเฟทฮาแบด ทางเหนือของอินเดีย รถมารูติ ยิบซีสีน้ำเงินใหม่เอี่ยมแล่นเข้ามาจอดที่หน้าร้านคนที่กำลังก้าวลงมาจากรถเป็นชาวนาร่างกำยำ เขาเดินเข้ามาในร้านแล้วก็เริ่มต้นสั่งของ "เอานี่ 200 ข้าว 30 โล ข้าวสาลีอีก 20 กิโลด้วย---"

ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีการถามไถ่ถึงราคาเลย ชาวนาเดินกลับไปที่รถ ดึงธนบัตรใบละ 100 รูปี สองสามปึกออกจากกระสอบป่าน เพื่อมาจ่ายให้เจาของร้าน

"นี่คือความมั่งคั่งของชนบทอินเดีย" อะเนจาซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของฮินดูสถาน ลีเวอร์ ผู้ผลิตสบู่และผงซักฟอกรายใหญ่ของอินเดียกล่าว

ความมั่งคั่งนี้เป็นผลมาจากนโยบาย 2 ข้อของรัฐบาล นโยบายแรกคือ การยกเว้นภาษีรายได้ที่เกิดจากการเกษตรกรรม และนโยบายข้อที่สองก็คือ นับตั้งแต่ปี 1967 รัฐบาลแจกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้กับชาวนา ให้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูก สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ใช้น้ำจากคลองชลประทานฟรี ๆ

ทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติเขียว"

ระหว่างปี 1981-1991 มูลค่าผลิตผลจากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 167% รายได้ต่อพื้นที่ 1 เอเคอร์เพิ่มขึ้น 354% และจำนวนคนยากจนในชนบทลดลงจาก 54% ของประชากรทั้งหมดเหลือ 28% ในปี 1950 มีเพียง 3,000 หมู่บ้านจากทั้งหมด 500,000 หมู่บ้านที่มีใช้ไฟฟ้า พอมาถึงปี 1989 ไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้าน 450,000 แห่ง

ในเมืองเล็ก ๆ ทางตอนเหนือที่แทบจะไม่ปรากฏอยู่ในแผนที่อย่างเมืองฮีซาร์ มีช้อปปิ้งอาเขตถึง 3 แห่ง ขายสินค้าคุณภาพที่ดีเมื่อก่อนมีขายเฉพาะตามเมืองใหญ่ ๆ ของอินเดียเท่านั้น

อะเนจาเล่าว่า เมื่อ 15 ปีก่อนเขาเคยเดินทางเข้าไปในถิ่นของชนเผ่าพื้นเมืองที่บาสทาร์เพื่อหาลู่ทางในการขายสบู่ราคาถูก

"ตอนนั้น ไม่มีใครมีรองเท้าใส่เลย เด็ก ๆ ต้องเดินเท้าเปล่า แต่ทุกวันนี้เด็ก ๆ มีชุดนักเรียนใส่แล้ว และคุณจะพบเห็นประชาชนอ่านหนังสือ 'อินเดีย ทูเดย์' ฉบับภาษาอินดู" (อินเดียทูเดย์ เป็นนิตยสารที่ขายดีที่สุดในเอเซีย)

เมืองเล็ก ๆ อย่างฮีซาร์เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าบางชนิด สภาวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของอินเดียระบุว่า 70% ของวิทยุ นาฬิกาข้อมือแบบไขลาน และจักรยานที่ขายในอินเดีย ผู้ซื้อคือชาวชนบท โฆษณา ภาพยนตร์ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ต่างก็มีบทบาทในการสร้างลัทธิบริโภคนิยมให้เกิดขึ้น แม้แต่ในหมู่บ้านที่เล็กที่สุด ชาวบ้านก็ยังมีทีวีดู

ปัจจุบัน การตลาดของธุรกิจอินเดียโดยส่วนใหญ่ยังคงพุ่งเป้าไปที่เมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีอัตราการเติบโตของสินค้าบางประเภทปีละ 5-10% แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่า ในท้องถิ่นชนบทสินค้าบางอย่าง เช่น สบู่ยี่ห้อมีชื่อ มีการเติบโตถึงปีละ 50-60%

สถิติของสภาวิจัยเศรษฐกิจเปิดเผยว่า คนอินเดีย 72% อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บริโภคสินค้าในสัดส่วน 40% ของการบริโภคทั้งหมด โดยใช้จ่ายเงินปีละ 700 ล้านเหรียญเป็นอย่างต่ำซึ่งเท่ากับ 1% ของรายได้ในภาคชนบทเท่านั้น

อะเนจา ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจากผลงานการเจาะตลาดชนบทอินเดียประเมินว่า ชาวชนบทอินเดียจ่ายเงินซื้อสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าคงทนและสินค้าใช้สิ้นเปลืองเดือนละ 30 รูปีเป็นอย่างน้อย หรือเดือนละ 1 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถ้ามองในแง่มูลค่าตลาดรวม ตลาดชนบทก็มีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญต่อปี

ถึงแม้ชนบทจะมีศักยภาพอยู่มาก แต่ก็มีผู้ผลิตสินค้าคอนซูมเมอร์น้อยรายที่เข้าไปทำตลาด เพราะความยากลำบากในการเดินทาง เครือข่ายการกระจายสินค้าที่ไม่เพียงพอ แต่ก็มีบางบริษัทที่สามารถทำตลาดได้สำเร็จด้วยการเปลี่ยนแปลงแพ็คเก็จสินค้าเสียใหม่ เช่น แพนมาซาลา ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายหมากฝรั่งที่ผสมใบพลูจาก 5 ล้านเหรียญในปี 1985 เป็น 66 ล้านเหรียญในปี 1991 โดยลดปริมาณหมากฝรั่งจากซองละ 200 กรัมเหลือเพียง 10 กรัม

ส่วนบริษัทอื่น ๆ ก็พยายามปรับปรุงสินค้าให้เป็นที่ดึงดูดใจของลูกค้า จากการสำรวจของอินเดีย ทูเดย์พบว่า แคดบิวรี่กำลังพัฒนาช็อคโกแลตแบบใหม่ที่ไม่ละลายเมื่อเจอกับอากาศร้อน โลเฮีย แมชชีน ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ สกูตเตอร์ออกรถรุ่นใหม่ที่กำลังเครื่องยนต์เพียงพอต่อการใช้บรรทุกสินค้าได้เท็กซ์ล่า ซึ่งผลิตทีวีขาวดำขายคนในเมืองก็หันไปผลิตทีวีสีสดใสสำหรับชนบท

สำหรับฮินดูสถาน ลีเวอร์ก็ใช้วิธีการโปรโมชั่นด้วยการฉายหนังและการแสดงของช้าง

บนเส้นทางออกจากบอมเบย์ไปตามท้องทุ่งของ GUJARAT และ
MAHARASHITRA จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ยี่สิบปีก่อน บิลบอร์ดสองข้างทางโฆษณาสินค้าจำพวกบุหรี่ราคาถูก พัดลม จักรยาน สบู่และปุ๋ย เดี๋ยวนี้เปลี่ยนมาเป็นทีวีสี เครื่องบันทึกและเล่นวิดีโอ ตู้เย็นและมอเตอร์ไซค์สกูตเตอร์

อีกไม่นาน เสื้อผ้าฝีมือดีไซน์เนอร์และรีสอร์ตตากอากาศก็อาจมีสิทธิขึ้นป้ายโฆษณาได้เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us