|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2549
|
|
สามชัย สตีลฯ ใช้เวลา 2 ปี ลงทุนโครงการผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 900 ล้านบาท เริ่มเดินเครื่องทำการผลิตในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและหนีการแข่งขันด้านราคา
เดือนกรกฎาคมที่เพิ่งผ่านพ้นไปถือได้ว่ามีความหมายต่อบริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ไม่น้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มทดลองเดินเครื่องจักรในโครงการผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่ ที่เป็นความหวังจะช่วยสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าให้กับสามชัย สตีลฯ เพื่อหนีการแข่งขันจากผู้ผลิตท่อเหล็กที่มีอยู่กว่า 50 รายในประเทศ
สามชัย สตีลฯ เป็นผู้ผลิตท่อเหล็กรายใหญ่ของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 ทำการผลิต และจำหน่ายท่อเหล็กเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม และเฟอร์นิเจอร์ ถึงแม้ว่าสินค้าของสามชัย สตีลฯ จะได้มาตรฐานทั้งของไทยและต่างประเทศ แต่ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตจำนวนมากทำให้สินค้ามีมาร์จินต่ำ จึงมีการมองหาหนทางที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น โดยเลือกไปที่การผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8-18 นิ้ว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว
โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุน 950 ล้านบาท และเป็นที่มาของการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2547 โดยใช้เงินจากการขายหุ้นให้ประชาชนจำนวน 300 ล้านบาท และจากเงินกู้อีก 650 ล้านบาท การก่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรเสร็จเรียบร้อยและเริ่มทำการผลิตในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
พัชวัฐ คุณชยางกูร รองประธานกรรมการบริหาร สามชัย สตีลฯ เล่าว่าเทคโนโลยีที่สามชัย สตีลฯ เลือกใช้เป็นของ Nakata จากญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีการผลิตท่อขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานี้ โดยปัจจุบันมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ที่สามารถทำท่อขนาดใหญ่ได้ถึง 18 นิ้ว ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และไทย ซึ่งสามชัย สตีลฯ เป็นผู้ผลิตในประเทศเพียงรายเดียวที่สามารถทำได้ในขณะนี้
รวมทั้งยังมีสัญญากับ Nakata ห้ามขายเทคโนโลยีเดียวกันนี้ให้กับผู้ผลิตรายอื่นในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ที่สามชัย สตีลฯ เริ่มเดินเครื่องอีกด้วย
ท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่ผลิตได้จะนำไปใช้ในงานโครงสร้าง ซึ่งในประเทศไทยที่ผ่านมามีการใช้งานอยู่บ้างแล้ว แต่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด อาทิ อาคารที่จอดรถ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือแม้แต่สนามบินสุวรรณภูมิก็ใช้ท่อเหล็กขนาดใหญ่ลักษณะเดียวกับที่สามชัย สตีลฯ ทำการผลิต จำนวนถึง 30,000 ตัน
"ท่อเหล็กขนาดต่ำกว่า 8 นิ้วลงไป มีการแข่งขันรุนแรงมาก มาร์จินได้ประมาณ 5 ถึง 8% ส่วนท่อขนาดใหญ่ตอนที่เราคิดโครงการคาดว่า น่าจะได้ 30% แต่ตอนนี้ราคาเหล็กลดลงมาร์จินจะเหลือประมาณ 15% การลงทุนครั้งนี้น่าจะคืนทุนได้ภายใน 6 ปี"
ตามแผนงานที่วางไว้แต่เดิมตลาดของท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่สามชัย สตีลฯ ผลิตขึ้นจะจำหน่ายในประเทศในสัดส่วน 90% แต่จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นและปัญหาการเมืองภายในประเทศทำให้โครงการต่างๆ มีการชะลอออกไปทำให้ผู้บริหารต้องปรับแผนมาส่งออกเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 20-25% จากกำลังการผลิตที่มีอยู่ 8,000 ตันต่อเดือน โดยตลาดต่างประเทศที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกา
ส่วนการทำตลาดในประเทศในขณะนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายมาเป็นการตั้งทีมงานขึ้นเพื่อติดต่อโดยตรงไปยังบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เช่น ไทยโคบา ยาชิ ไทยคาชิมาและซิโนไทย โดยคาดว่าจะมียอดขายท่อเหล็กขนาดใหญ่ในปีนี้ 800 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 30% ของยอดขายทั้งหมดภายในปีหน้า
นอกจากการผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่เพิ่งเริ่มเดินเครื่องไปแล้ว สามชัย สตีลฯ ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยขณะนี้ให้ความสนใจไปที่การผลิตท่อสำหรับใช้ในการขนส่งน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิตต้องนำเข้าเพียงอย่างเดียว
"ตอนนี้เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตท่อส่งน้ำมัน แต่คิดว่าเราทำแน่ เพราะไม่อย่างนั้นก็เสียโอกาส ทุกวันนี้ ปตท. และโรงกลั่นต้องใช้ท่อจำนวนมากในแต่ละปีและต้องนำเข้าทั้งหมด ผู้ผลิตท่อส่งน้ำมันอย่าว่าแต่ในไทยเลย ขนาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังไม่มีเลย" พัชวัฐเล่าถึงโอกาสในอนาคตของสามชัย สตีลฯ
เขาขยายความว่าหากสามชัย สตีลฯ จะผลิตท่อส่งน้ำมันจะต้องลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 200 ล้านบาท ในส่วนของเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพท่อเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน API หรือ American Petrolium Institute ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้มาร์จินสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยเปิดตลาดใหม่ๆ ให้มีกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
|
|
|
|
|