|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2549
|
|
สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ชื่อของ Red Hat หรืออ่านออกเสียงว่า เรดแฮท อาจจะไม่คุ้นหูมากนัก แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่ดูแลระบบไอทีขององค์กรหลายแห่งคงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อนี้เป็นแน่
Red Hat นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นที่รู้จักในธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1993 และถือเป็นบริษัทแรกๆ ที่ฉีกกฎอย่างชัดเจนของระบบโอเพ่นซอร์สในโลกนี้ และชี้ให้เห็นว่าโอเพ่นซอร์สโดยเฉพาะกับระบบปฏิบัติการทางเลือกอย่าง Linux ไม่ได้มีให้ใช้กันแบบฟรีๆ อย่างเดียวแต่หากว่าอยากจะใช้ได้อย่างคุ้มค่าและวางใจในการทำงานว่าจะไม่ประสบปัญหา ก็สามารถเลือกที่จะรับบริการจาก Red Hat แบบเป็นแพ็กเกจตั้งแต่ขั้นตอนให้คำปรึกษาไปจนถึงการดูแลระบบตลอดเวลาหลังการติดตั้ง
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาหนักอกของ Red Hat ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Red Hat Enterprise Linux เป็นตัวชูโรง ซึ่งสลัดทิ้งไม่หมดไปจากมือเสียที ก็เห็นจะเป็นการโปรโมตภาพลักษณ์ของตนให้คนเชื่อถือให้ได้ว่า Linux แบบไม่ฟรีและเป็นของดีก็มีในโลกนี้
Scott Crenshaw General Manager ของ Enterprise Linux Red Hat Inc. ที่เพิ่งเดินทางมาเยือนเอเชียเพื่อโปรโมตธุรกิจของ Red Hat บอกกับสื่อมวลชนจากหลายประเทศที่เข้าพบปะพูดคุยกับเขา และโยนคำถามให้กับเขาว่า ทำไมองค์กรต้องเลือกโอเพ่นซอร์สมาใช้ ทั้งๆ ที่ก็มีทางเลือกอื่นให้ใช้กันอยู่อีกมากมาย
Scott ดูไม่ลังเลเลยสักนิดที่จะตอบกลับมาว่า ทุกวันนี้โอเพ่น ซอร์สได้รับการเชื่อมั่นแล้วในระดับหนึ่งว่าปลอดภัย ขณะที่ต้นทุนในการติดตั้งเมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการอื่น ทั้งฮาร์ดแวร์ ระบบการดูแล หรือแม้แต่ไลเซนส์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
องค์กรทั้งหลายก็ให้ความสำคัญในการลดต้นทุนแทบทุกส่วนให้ได้มากที่สุด แม้แต่ระบบไอทีเอง บางครั้งก็ถูกผูกรวมเข้าไปในแผนการลดต้นทุนนั้นด้วย ทั้งการลดฮาร์ดแวร์ การจัดการไฟฟ้า การดูแลไปจนถึงเครือข่ายเน็ตเวิร์ก
ยิ่งเมื่อซีไอโอหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายไอทีขององค์กร มีหน้าที่หลักในการควบคุม และดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรให้สามารถตอบสนองการทำธุรกิจขององค์กรได้โดยไม่สะดุด ขณะที่ต้องมองถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในธุรกิจให้กับองค์กร ลดต้นทุนการดำเนินการ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายปฏิบัติการสามารถทำงานได้ในสภาวะที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ไปจนถึงการเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเน้นถึงความสำคัญของการเพิ่มรายได้
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ Scott มั่นใจว่าโลกของโอเพ่นซอร์ส ซึ่งเมื่อคิดเทียบรวมแล้วต่ำกว่า จึงน่าจะเข้าไปช่วยเหลือให้กับองค์กรได้ดี ไม่แพ้กับระบบปิดอย่างที่ใช้กันอยู่ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์จากค่ายไมโครซอฟท์ ซึ่งหลายคนก็มักมองว่า dominate หรือครองตลาดอยู่คนเดียวมาตลอด
ผู้บริหารของ Red Hat คงตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงเลือกใช้ Linux ได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับคนใช้งานจริงๆ โดยเฉพาะกับซีไอโอที่มีบทบาทสำคัญในการเลือกสรรระบบไอทีมาใช้ในองค์กรของตน ก็คงต้องเก็บคำตอบที่ได้มาขบคิด และตัดสินใจเองว่าจะเลือกอันไหน ระหว่างไมโครซอฟท์ หรือ Red Hat
|
|
|
|
|