Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549
ดูหนังแบบเปียกปอน             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามโอเชี่ยนเวิลด์ - Siam Ocean World

   
search resources

Theatre
สยามโอเชี่ยนเวิลด์, บมจ.




อควาเรียมหรืออุทยานสัตว์น้ำ กลายเป็นจุดขายของหลายๆ โครงการ ทั้งในศูนย์การค้า และแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ต้องหาของเล่นใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นคนดูให้รู้สึกแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง และกลับเข้ามาดูซ้ำแล้วซ้ำอีก

สยามโอเชี่ยนเวิร์ลในศูนย์การค้าสยามพารากอน ก็หยิบเอาโรงภาพยนตร์ 4 มิติ มาเรียกคนดู ซึ่งที่ผ่านมาโรงหนังแบบนี้ มีเพียงโรงหนัง 3 มิติ ที่โรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ เมเจอร์ รัชโยธิน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นโรงหนังที่สร้างรายได้มากมายนัก แต่เป็นโรงหนังที่เอาไว้ให้คนพูดถึงและรับรู้ว่าบ้านเราก็มีอยู่เหมือนกัน

การดูภาพยนตร์ 3 มิติ ก็คือหนังที่ถ่ายทำด้วยเทคนิคพิเศษแตกต่างจากหนังทั่วไป แล้วนำมาฉายในโรงภาพยนตร์ ที่มีระบบการฉายและจอภาพต่างจากธรรมดา และผู้ชมต้องใส่แว่นตาในการรับชม ส่วนภาพที่เห็นจะเหมือนกับตัวละครเหล่านั้นแสดงอยู่ตรงหน้า และให้ความรู้สึกว่าสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในหนังยื่นเข้ามาชิดหน้า ชิดตา เรียกความตื่นเต้นได้ไม่น้อย

แต่ภาพยนตร์ 4 มิติ ที่สยามโอเชี่ยนเวิร์ล มีความพิเศษออกไปอีกก็คือ ได้นำเก้าอี้ที่ออกแบบพิเศษมาติดตั้ง เพื่อให้เก้าอี้เหล่านี้เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับหนังที่ฉาย โดยมีการเป่าลม ฉีดน้ำ ปล่อยกลิ่น ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เปรียบเหมือนว่าหากในภาพยนตร์ ดาราที่แสดงตกน้ำ คนดูก็มีสิทธิ์ที่จะถูกน้ำกระเด็นใส่ หรือหากมีพายุ คนดูก็จะถูกลมพายุพัดมาสัมผัสที่ผิวหน้าได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาจากเก้าอี้พิเศษเท่านั้น หากไม่มีก็เหมือนกับภาพยนตร์ 3 มิติทั่วไป

หรรษา ถนอมสิงห์ ผู้จัดการทั่วไป สยามโอเชี่ยนเวิร์ล หวังว่า โรงภาพยนตร์ 4 มิติแบบนี้ จะสามารถเรียกลูกค้าให้เข้ามาในสยามโอเชี่ยนเวิร์ลได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 1,600 คน โดยจะขายตั๋วร่วมกับการชมสวนสัตว์น้ำในราคา 600 บาท หรือหากจะแยกซื้อเฉพาะดูภาพยนตร์ก็ราคา 290 บาท

ส่วนเทคนิคการฉายภาพยนตร์ 4 มิติ ใช้ของบริษัทซันโย (Sanyo 4D-Xventure) ซึ่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายนี้ เป็นผู้ติดตั้งจอ LCD จอพลาสม่า และจอโปรเจกเตอร์ทั้งหมดในสยามโอเชี่ยนเวิร์ล โดยการทำโรงภาพยนตร์ 4 มิติ ซันโยจะได้สิทธิใช้ชื่อ Sanyo 4D-Xventure ในสยามโอเชี่ยนเวิร์ล เป็นเวลา 5 ปี สัญญาจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2554

สำหรับภาพยนตร์ 4 มิติเรื่องแรกที่เปิดฉายก็คือ เรื่อง Prirate ความยาวประมาณ 20 นาที ส่วนการเปลี่ยนโปรแกรมหนังก็ต้องใช้เวลานานสักระยะ เพราะต้องมีการจัดเตรียมในเรื่องของเก้าอี้พิเศษให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง

นี่คือจุดอ่อนของโรงภาพยนตร์ประเภทนี้ เพราะหนังที่สร้างออกมามีน้อย และเนื้อหาก็ไม่เร้าใจหรือตื่นเต้นเท่าไรนัก โอกาสที่จะมีคนดูซ้ำก็อยู่ในระดับต่ำ และที่ผ่านมาสปอนเซอร์รายใหญ่อย่างสถาบันการเงินที่สนับสนุนโรงภาพยนตร์ 3 มิติ ก็ถอนตัวไปแล้ว

โรงภาพยนตร์ 4 มิติ ที่มีทั้งรูป รส กลิ่น เสียง ครบถ้วน อาจไม่เพียงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ พวกเขาต้องการสิ่งเร้า และดึงลูกค้าให้เข้ามาบ่อยๆ ในอนาคตอาจจะได้เห็นโรงภาพยนตร์ 5 มิติ หรือ 6 มิติก็ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us