|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2549
|
|
เหมือนกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพิ่งจะนึกขึ้นมาได้ว่าที่ผ่านมาได้แต่นั่งมองผู้ประกอบการคาราโอเกะเก็บเกี่ยวรายได้และผลกำไรจากธุรกิจนี้ไปไม่น้อย ทั้งๆ ที่แกรมมี่เป็นเจ้าของสิทธิ์ในเพลงที่ลูกค้าร้องกันอยู่ทุกวัน แต่กลับมีรายได้จากส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หลังจากจดๆ จ้องๆ มาตั้งแต่ปีที่แล้ว มาปีนี้แกรมมี่ก็เลยประกาศรุกเข้าสู่ธุรกิจคาราโอเกะอย่างจริงจังเสียที โดยการควบรวมกิจการระหว่างคลีน คาราโอเกะ ที่เป็นบริษัทในเครือเข้ากับกลุ่มมิวสิค พาวิลเลียน ผู้ประกอบการตู้คาราโอเกะในตลาดโมเดิร์นเทรดที่มีจำนวนตู้มากที่สุดในขณะนี้ และธัญญะ ดาวเรือง ผู้ผลิตตู้คาราโอเกะ รายใหญ่ เพื่อหวังสร้างธุรกิจ Singing Business อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
"ที่ผ่านมาแกรมมี่ผลิตเพลงขายเราได้ค่าลิขสิทธิ์ครั้งเดียว แต่ใน Singing Business ทุกครั้งที่มีการร้องเพลงเราได้ค่าลิขสิทธิ์ทุกครั้ง ในบางประเทศธุรกิจนี้มีตลาดใหญ่กว่าธุรกิจเพลงจริงๆ เสียอีก" สุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสนับสนุนกลาง และพัฒนาธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ให้เหตุผลถึงการเข้าสู่ธุรกิจนี้
คลีน คาราโอเกะ ตั้งขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท และได้มีการเพิ่มทุนเป็น 200 ล้านบาท ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยหลังจากเพิ่มทุนสัดส่วนการถือหุ้นประกอบด้วยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 71% ทวีชัย ตรีธารทิพย์ (กลุ่มมิวสิค พาวิลเลียน) 24% และธัญญะ ดาวเรือง 5%
การร่วมหุ้นระหว่างแกรมมี่และมิวสิค พาวิลเลียน ถือเป็นการรวมจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าด้วยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจุบันเพลงของแกรมมี่มีส่วนแบ่งในตลาดคาราโอเกะประมาณ 70% ขณะที่กลุ่มมิวสิค พาวิลเลียนมีตู้คาราโอเกะตั้งอยู่ในโมเดิร์นเทรด ทั้งที่เป็นห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์สโตร์กว่า 1,500 ตู้ทั่วประเทศ เมื่อร่วมทุนกันแล้วทำให้คลีน คาราโอเกะกลายเป็นผู้ประกอบการคาราโอเกะรายใหญ่ที่สุดในทันที
แกรมมี่วางตำแหน่งคลีน คาราโอเกะ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัวและคนรุ่นใหม่ เน้นการตกแต่งทันสมัย นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบันทึกข้อมูลการใช้เพลงของลูกค้า เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบการใช้งานเพลง ซึ่งจะส่งผลไปถึงการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของเพลงอย่างถูกต้องตามการใช้งานจริง โดยนอกจากแกรมมี่แล้วขณะนี้มีค่ายเพลงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับคลีน คาราโอเกะแล้วกว่า 30 ค่ายด้วยกัน
"ที่ผ่านมาการเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นแบบเหมาจ่าย ซึ่งไม่ได้คิดตามจำนวนที่มีการใช้จริงและยังไม่สะดวกสำหรับค่ายเพลงขนาดเล็ก แต่ระบบของเราเก็บค่าลิขสิทธิ์ตามการใช้งานจริง ลูกค้าร้องเพลงไหนจ่ายเพลงนั้น" ยงศักดิ์ เอกปรัชญาสกุล กรรมการผู้จัดการ คลีน คาราโอเกะกล่าว
ข้อดีอีกประการหนึ่งของระบบดังกล่าวคือ ข้อมูลเพลงทุกเพลง ที่มีการร้องจะถูกบันทึกเอาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเวลา สถานที่และจำนวนครั้ง ช่วยให้แกรมมี่สามารถวิเคราะห์ความนิยมจากการออกอัลบั้มแต่ละชุดได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้สำหรับสร้างสรรค์กิจกรรมการตลาดเพิ่มเติม หรือแม้แต่การออกอัลบั้มชุดต่อไป
"ถ้าเพลงรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงมีการร้องกันมาก ผมก็อาจจะเอาติ๊ก ชิโร่ ไปจัดกิจกรรมร้องเพลงกับลูกค้าที่ร้านก็ได้ หรือมองว่า ได้รับความนิยมก็เตรียมการจัดคอนเสิร์ตและเตรียมตัวทำอัลบั้มชุดใหม่ได้" สุเมธกล่าวถึงรูปแบบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นอกจากการขยายสาขาที่คลีน คาราโอเกะจะดำเนินการเองแล้ว ยังเปิดรับผู้ประกอบการรายอื่นที่สนใจจะใช้ระบบของคลีน คาราโอเกะอีกด้วย ซึ่งแกรมมี่คาดว่าภายในปีนี้น่าจะทำรายได้จากธุรกิจนี้ถึง 100 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท ในปีหน้า
|
|
|
|
|