Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549
“Monopoly” Returns!             
 


   
www resources

Hasbro Homepage

   
search resources

Game
Parker Brothers
Hasbro




ออกจากคุกฟรี! จอดฟรี! บัตรเสี่ยงโชค บัตรหีบสมบัติ รับเงินเมื่อเดินผ่านจุดเริ่มต้น... คุณยังจำเกมกระดานที่ชื่อ "เกมมหาเศรษฐี" กันได้หรือไม่

หลายคนในวัย 20 ตอนปลายขึ้นไป น่าจะเคยรู้จักและเล่นเกมมหาเศรษฐีมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า เกมมหาเศรษฐีที่คนไทยเล่นกันเมื่อหลายสิบปีก่อนเกือบทั้งหมดเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ใช่แค่คนไทย "เกมแห่งมนุษยชาติ" ในยุคเกมกระดานเกมนี้ถูกเล่นอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นเกมที่ไม่มีลิขสิทธิ์

ตามเอกสารของ Parker Brothers บริษัทลูกของ Hasbro ยักษ์ใหญ่วงการเกม เจ้าของลิขสิทธิ์เกมมหาเศรษฐี ระบุว่า เกมนี้ถือกำเนิดบนโลกมาแล้วกว่า 65 ปี โดยในปี 1934 Charles B.Darrow ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดค้น ดาร์โรว์เป็นพนักงานขายที่ต้องตกงานหลังวิกฤติเศรษฐกิจ จึงคิดเกมนี้ขึ้นมาเพื่อเล่นฆ่าเวลากับครอบครัวและเพื่อนฝูง และกลายเป็นที่นิยมจนเพื่อนบ้านขอซื้อในราคา 4 เหรียญสหรัฐ

ดาร์โรว์เห็นโอกาสจึงนำไปเสนอขายกับ Parker Brothers แต่ครั้งแรกถูกปฏิเสธ เพราะมองว่าเกมเล่นยาวเกินไป กติกายังดูซับซ้อนเกินไป และไม่มีเป้าหมายการเป็นผู้ชนะที่ชัดเจน รวมถึงเกมมหาเศรษฐียุคนั้นยังมีข้อผิดพลาดอยู่ถึง 50 กว่าแห่ง

ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนที่เป็นช่างพิมพ์ ดาร์โรว์จึงขายเกมนี้ให้กับห้างในฟิลาเดลเฟียได้ถึง 5 พันชุด ในช่วงนั้นเกมมหาเศรษฐีเป็นที่นิยมมาก จนลูกสาวผู้ก่อตั้ง Parker Brothers ซึ่งได้ยินจากเพื่อนว่า เกมนี้สนุกมาก บอกสามี Robert Barton ซึ่งเป็นประธานบริษัทให้ซื้อมาทดลองเล่น หลังจากได้ทดลอง โรเบิร์ตจึงขอคุยกับดาร์โรว์อีกครั้ง และได้ซื้อลิขสิทธิ์เกมนี้มาตั้งแต่ปี 1935

ขณะที่เกมมหาเศรษฐีก็ทำให้ดาร์โรว์ได้กลายเป็น มหาเศรษฐีในชั่วข้ามคืน แต่ก็ทำให้บริษัท Parker Brothers ต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกหลายหมื่นเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อลิขสิทธิ์เกมอื่นๆ ที่มีกฎกติกาคล้ายกับเกมมหาเศรษฐี เช่น เกม Landlord's ซึ่งเชื่อว่าเป็นเกมต้นแบบที่ดาร์โรว์นำมาดัดแปลง เป็นต้น

เกมมหาเศรษฐีได้รับการบันทึกลงกินเนสบุ๊กว่า เป็นเกมกระดาน (board game) ที่ขายดีที่สุด ตั้งแต่ปี 1935 ขายได้แล้วกว่า 200 ล้าน ชุด ภายหลังที่ Hasbro เริ่มกระจายขายเกมมหาเศรษฐีไปทั่วโลกจริงๆ เมื่อ 7 ปีก่อน วันนี้มีขายแล้วใน 80 กว่าประเทศ และมีแปลถึง 26 ภาษา มีผู้เล่นมากกว่า 716 ล้านคนทั่วโลก เคยมีสถิติการเล่นเกมนี้นานที่สุดกว่า 1,680 ชั่วโมง หรือ 70 วันติดกัน

ทุกวันนี้ Parker Brothers มีเกมที่ดัดแปลงมาจากเกมมหาเศรษฐี อีกกว่า 50 ดีไซน์ เช่น เดอะ ดิสนีย์ สตาร์วอร์ส สโนไวท์ จูเนียร์ และ "Braille" คอลเลกชั่นสำหรับคนตาบอด เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย เกมมหาเศรษฐีเวอร์ชั่น 2 ภาษา คือไทยและอังกฤษ ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Hasbro ถูกนำเข้ามาในไทยโดย TS Lifestyle ก่อนเข้ามาเมืองไทย เกมมหาเศรษฐีได้บุกตลาดเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และเกาหลี มาแล้ว โดยสนนราคาเวอร์ชั่นที่มีลิขสิทธิ์นี้อยู่ที่ 999 บาท

ระหว่างนี้ถึง ต.ค.2549 จะหาซื้อเกมมหาเศรษฐีกลับไปรื้อฟื้นความหลังได้จากร้าน Toy R Us เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่ง 1,500 ชุดแรกจะมีใบรับรองความเป็นแฟนพันธุ์แท้เกมมหาเศรษฐีมอบให้ด้วย หลังจากนั้นจึงจะหาซื้อได้ตามห้างร้านทั่วไป และซื้อได้ที่ Duty Free โดย TS Lifestyle ตั้งใจให้เป็นของขวัญของฝากจากเมืองไทยได้ด้วย

เป้าที่ตั้งไว้ 2 หมื่นกว่าชุดในสิ้นปีหน้า อาจดูเป็นเรื่องง่าย เพราะเกมมหาเศรษฐีเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วของผู้ใหญ่หลายคนซึ่งเลยวัยเล่นเกมไปแล้ว แต่ก็อาจจะซื้อเพื่อรำลึกความหลัง แต่ที่น่าคิดก็คือ ทำอย่างไรให้ขาโจ๋เซียนเกมทั้งหลายยอมวางมือจากคอมพิวเตอร์เพื่อมานั่งเล่นเกมกระดานแทน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us