Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2537
"ตลาดไอสครีมร้อนเพราะเอสแอนด์พี"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (S&P)

   
search resources

เอสแอนด์พี ซินดิเคท, บมจ.
อมเรศ ศิลาอ่อน
Food and Beverage




การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่ง หันมาสนใจการบริโภคสิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย

ตัวอย่างของร้านอาหารประเภทฟ้าสต์ฟู้ดจากตะวันตก ที่เข้ามาเปิดใหม่หรือขยายสาขาเพิ่มได้กลายเป็นดัชนีอย่างหนึ่งสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในเมืองกรุงว่ากำลังอยู่ในช่วงพัฒนาแค่ไหน?

ไอศกรีม เป็นอาหารอีกประเภทที่เคยเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะไอสครีมราคาสูงในตลาดพรีเมียม ที่มีร้านไอสครีมชื่อดังจากตะวันตกหลายเชนเข้ามาเปิดในประเทศมากมายอย่างเช่น สเวนเซ่น หรือรอบบิ้นบาสกิ้นส์ ไม่นับตลาดทั่วไปที่แม้กระทั่งยักษ์ใหญ่อย่างลีเวอร์ ยังมองเห็นว่าเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง จนลงมาเล่นด้วยการออกไอสครีม "วอลล์" และซื้อหุ้นของไอสครีมโฟร์โมสต์

แต่ดูเหมือนว่า ตั้งแต่กลางปีหน้า สงครามการแย่งชิงตลาดลูกค้าไอสครีมในตลาดบนจะระอุขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ เมื่อเชนร้านอาหารชื่อดังของไทยอย่างเอสแอนด์พี หันมาให้ความสนใจในการเพิ่มเมนูอาหารในร้าน ด้วยการขายไอสครีมเพิ่ม

มิหนำซ้ำ เชนที่เอสแอนด์พีเลือก ก็เป็นเชนระดับโลกด้วย คือ ฮาเกน-ดาส จากสหรัฐอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตไอสครีมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และพิถีพิถันในการเลือกประเทศที่ขายมากที่สุดอีกด้วย

"ตอนนี้ เรามีจำหน่ายใน 22 เมืองทั่วโลก มียอดขายรวมประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ" สตีเฟ่น เมอร์ฟี่ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฮาเกน-ดาสฟาร์อีสต์ กล่าว

อมเรศ ศิลาอ่อน กรรมการและที่ปรึกษากรรมการกล่าวว่า จากการที่ตนได้เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ก็มองเห็นว่าไอสครีมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่คิดว่าน่าสนใจในการนำมาขายในเมืองไทย และตัดสินใจเลือกฮาเกน-ดาส เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพ

"การร่วมทุนดังกล่าว ซึ่งเป็นการขยายฐานธุรกิจของเอสแอนด์พีเข้าสู่ธุรกิจไอสครีมเราคาดว่าสามารถที่จะแชร์ตลาดไอสครีมพรีเมียมได้ประมาณ 5-10% ในปีแรกและสามารถขยายจุดขายไม่ต่ำกว่า 100 จุดใน 5 ปี"

แต่การติดต่อที่จะนำฮาเกน-ดาส มาขายในไทยนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่าย เพราะอย่างที่กล่าวคือ ไอสครีมสัญชาติอเมริกันรายนี้ เลือกมากและเรื่องมากในการตัดสินใจขายที่ใดที่หนึ่ง

แม้วันนี้ ลอนดอล ปารีส โตเกียวหรือไทเป จะมีไอสครีมยี่ห้อนี้จำหน่าย แต่ในเมืองใหญ่อีกหลายแห่ง ฮาเกน-ดาส ก็ยังไม่มีจำหน่าย

หลังจากใช้เวลาในการปรึกษา ต่อรองนานประมาณ 15 เดือนหรือเกือบปีครึ่ง เอสแอนด์พีจึงได้รับคำตอบว่าฮาเกน-ดาส สนใจจะเปิดขายในไทย

"เรามองเห็นว่า เมืองไทยเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่เพร้อมที่จะรับการเติบโตของสินค้าชั้นสูงที่มีชื่อเหมือนนิวยอร์ค ปารีสหรือฮ่องกง" สตีเฟ่น เมอร์ฟี่กล่าวถึงการเลือกกรุงเทพ เป็นเมืองที่ 23 ที่ขายไอสครีมฮาเกน-ดาส

ในส่วนของเอสแอนด์พีการลงมาทำตลาดไอสครีมครั้งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเล็ก ๆ แน่นอน เพราะรูปแบบของการดำเนินงานที่ร่วมทุนกันตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียบ 50 ล้านบาท โดยเอสแอนด์พีซินดิเคทและฮาเกน-ดาสคอมพานี ถือหุ้นฝ่ายละ 49% ส่วนอีก 2% ประเวศวุฒิ ไรวา ถือหุ้น นับเป็นการลงทุนไม่น้อยสำหรับการขายไอสครีม

เป็นการเปิดตลาดไอสครีมของเอสแอนด์พีและเปิดสงครามไอสครีมระดับสูงในไทยครั้งสำคัญ

"จากนี้ไป สเวนเซ่นหรือรอบบิ้นบาสกิ้น คงจะไม่อยู่เฉยแน่นอน" คนในวงการให้คอมเมนต์ถึงการรุกตลาดของเอสแอนด์พี

อย่างไรก็ดี การทำตลาดของฮาเกน-ดาส ไม่ได้ง่ายอย่างที่เอสแอนด์พีวาดฝัน !!!

ปัญหาของเอสแอนด์พีก็คือ กว่าที่พวกเขาจะเริ่มทำการตลาดไอสครีมอย่างจริงจัง ก็จะเป็นกลางปี คือในเดือนพฤษภาคม ซึ่งนั่นหมายความว่า บรรดาคู่แข่งต่างก็พร้อมและสามารถที่จะตั้งตัวกับการเข้ามาใหม่ของเชนร้านค้าไอสครีมรายใหญ่รายใหม่ของโลกในไทยได้

มิหนำซ้ำ ปัญหาอีกประการที่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ของเอสแอนด์พี ที่แม้จะเป็นจุดเด่นก็คือ ไอสครีมที่พวกเขาจำหน่ายนั้น เป็นไอสครีมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศตามระบบการทำงานของฮาเกน-ดาส ที่ต้องการให้คุณภาพของสินค้าของเขาเหมือนกันทั่วโลก จึงไม่ให้มีโรงงานมากเกินกว่าที่สามารถควบคุมได้

"การนำเข้านี่สำคัญมาก เพราะต้องรักษาอุณหภูมิเอาไว้ที่ประมาณ 26 องศา" คนที่รู้เรื่องบอกกับ "ผู้จัดการ" ในการทำตลาดไอสครีมอิมพอร์ตครั้งนี้

อย่างไรก็ดี เอสแอนด์พีเอง รู้ตัวว่าพวกเขายังมีจุดอ่อนในเรื่องการตลาด เพราะที่ผ่านมาแม้ว่าชื่อเสียงของบริษัทในเรื่องร้านอาหาร จะเป็นที่รู้จักดีแต่ไม่ได้เกิดจากการทำตลาดอย่างมืออาชีพมากนัก

โชคดีที่เอสแอนด์พี สามารถที่จะดึงสมชัย ไชยศุภรากุล อดีตกรรมการผู้จัดการอินช์เคปคอนซูเมอร์ มาดูด้านการตลาดของเครือข่ายเอสแอนด์พี รวมทั้งผู้ช่วยอีกคน คืออารยา เตชานันท์ อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของอินช์แคปอีกคน

ตลาดไอสครีมระดับพรีเมียม ที่มีอัตราการเติบโตสูงถึงปีละประมาณ 20% จะเป็นงานที่ท้าทายฝีมือของทั้งสองมาก

ประเวศวุฒิ ไรวา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดเอสแอนด์พีซินดิเคท กล่าวถึงการเปิดจำหน่ายไอสครีมฮาเกน-ดาสว่า จะมี 3 รูปแบบคือเปิดจำหน่ายในร้านเอสแอนด์พี เปิดร้านขายเฉพาะ ซึ่งคาดว่าจะเปิดสาขาแรกที่สีลม และจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

ที่น่าสนใจก็คือ การจำหน่ายของฮาเกน-ดาสในเมืองใหญ่ทั่วโลกนั้น พวกเขาจำหน่ายในร้านเซเว่น-อิเลฟเว่นซึ่งมีหลายสาขาในประเทศไทย

แต่สำหรับเมืองไทย ลิขิต ฟ้าปโยชน์ กรรมการผู้จัดการเซเว่น-อิเลฟเว่น บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า จะมีการเจรจากันอีกครั้ง แต่ในขณะนี้ ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการจำหน่ายในร้านเลย

ไม่ว่าการเจรจาระหว่างเอสแอนด์พีกับเซเว่น-อิเลฟเว่น ในการขยายช่องทางการจำหน่ายสำเร็จหรือไม่ก็ตามแต่ดูเหมือนว่า สงครามแย่งชิงความเข้มข้นของรสชาติไอสครีมกำลังจะร้อนแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us