|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดอนุพันธ์ อนุมัติให้ 3 โบรกฯ "ภัทร-ฟิลลิป-เคจีไอ" เป็นมาร์เก็ตเมกเกอร์ เริ่มเปิดดำเนินการ 18 ก.ย.นี้ พร้อมรับสมาชิกใหม่อีก 3 ราย เริ่มซื้อขาย 4 ก.ย. “เกศรา” เผย ปีนี้ไม่เพิ่มสินค้าใหม่ –ยังคงเป้าปริมาณการซื้อขายปีนี้ 1 พันสัญญาต่อวัน
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX เปิดเผยว่า ตลาดอนุพันธ์จะเปิดให้ผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เก็ตเมกเกอร์) เริ่มดำเนินการในวันที่ 18 กันยายนนี้ โดยขณะนี้ตลาดอนุพันธ์ได้มีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานไปทางบริษัทสมาชิกที่ยื่นความจำนงจะเป็นมาร์เกตเมกเกอร์ตอบรับ ซึ่งเบื้องตนบริษัทที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการจำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA, บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย), บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) หรือ KGI ซึ่งก่อนหน้านี้ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST มีความสนใจที่จะเป็นมาร์เกตเมกเกอร์ แต่ ก.ล.ต.ยังไม่ได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการ
สำหรับเงื่อนไขในการทำหน้าที่นั้นจะต้องมีการส่งคำสั่งครั้งละ 5 สัญญา ซึ่งความห่างของการส่งคำสั่งซื้อขายนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุสัญญา โดยผลตอบแทนที่ผู้ทำหน้าที่เป็นมาร์เกตเมกเกอร์จะได้รับคือ การได้รับยกเว้นการจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ตลาดอนุพันธ์ในการซื้อขายจำนวน 50 บาทต่อสัญญา และจะต้องมีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 60% ของเวลาในการซื้อขาย
นางเกศรา กล่าวว่า จากการมีมาร์เกตเมกเกอร์ การเปิดให้ซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต และการรับสมาชิกใหม่อีก 3 ราย ก็จะทำให้มูลค่าซื้อขาย และปริมาณการซื้อขายสัญญาอายุยาวมีการซื้อขายมากขึ้น แต่ยังคงเป้าปริมาณการซื้อขายปีนี้ที่ 1,000 สัญญาต่อวัน ซึ่งขณะนี้เฉลี่ยปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันประมาณ 600 สัญญาต่อวัน หากมีการปรับน่าจะเป็นในปีหน้าซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการดำเนินงาน
อย่างไรก็ตามในปีนี้ตลาดอนุพันธ์ยังไม่มีการเพิ่มสินค้าใหม่ เนื่องจากการที่จะมีสินค้าใหม่นั้นจะต้องให้ผู้เขียนโปรแกรม (เวนเดอร์) มีความพร้อมในการดำเนินงาน รวมถึงบริษัทสมาชิกต้องมีความพร้อมก่อน ซึ่งคาดว่าจะมีการเพิ่มสินค้าใหม่ในปีหน้า โดยจะเป็นออฟชั่น โดยขณะนี้ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานที่ประเทศเกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงใช้กับประเทศไทย
นอกจากนี้คณะกรรมการตลาดอนุพันธ์ อนุมัติรับสมาชิกเพิ่มอีก 3 ราย คือ บล.บีที, บล.เกียรตินาคิน, บล.นครหลวงไทย โดยจะเริ่มเปิดซื้อขายตั้งแต่ 4 กันยายนนี้ โดยทั้ง 3 รายได้ผ่านการพิจารณาความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชีกำหนด แต่จะต้องมีการทดสอบความพร้อมของระบบงานซื้อขายร่วมกับ ตลาดอนุพันธ์ และสำนักหักบัญชี
รวมถึงจะต้องได้รับการทดสอบและอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจนายหน้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้วย ซึ่งตลาดอนุพันธ์มั่นใจว่าสมาชิกทั้ง 3 ราย มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยการรับสมาชิกเพิ่มอีก 3 ราย ทำให้กันยายนี้มีบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มเป็น 23 แห่ง
สำหรับอีก 2 บริษัทที่ยังไม่พร้อมในการเปิดซื้อขายอนุพันธ์ คือ บล.ไซรัส และบล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ยังไม่อนุญาตเปิดดำเนินงานธุรกิจ เพราะ ก.ล.ต.ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบระบบ
|
|
|
|
|