บริษัทนิลุบล จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทเทเลคอม โฮลดิ้ง 99.99% ของทุนจดทะเบียน
100 ล้านบาท ทำหน้าที่จัดซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใช้เป็นสถานที่ในการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องชุมสาย
(RCU) ในโครงการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมาย
เทเลเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิสเซส ถือหุ้นโดยเทเลคอมโอลดิ้ง 99.99%
ของทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม
เช่นบริการระบบสื่อสารสำหรับอาคาร รวมทั้งระบบอัจฉริยะสำหรับโครงการอาคารขนาดใหญ่
การเดินสายโทรศัพท์ภายในบ้าน รวมทั้งการเปิดร้านจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสาร
ดับเบิ้ลยู เซเว่น เรนท์ทัล เซอร์วิสเซส ถือหุ้นโดยบริษัทเทเลคอมโฮลดิ้ง
99.99% ของทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทเป็นธุรกิจให้เช่ารถแก่เทเลคอม เอเซียและบริษัทเครือซีพี
ไลน์ส เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) เดิมมีชาวต่างชาติเป็นหุ้นใหญ่ ได้รับสัมปทานการให้บริการวิดิโอเท็กซ์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
เป็นเวลา 15 ปี จนถึงปี 2521 ต่อมาเทเลคอมโฮลดิ้งได้เข้าไปซื้อหุ้น 90% ของทุนจดทะเบียน
3 ล้านบาท
วิดิโอเท็กซ์เป็นบริการให้ข้อมูลตามสายโทรศัพท์ โดยการเช่าสายโทรศัพท์ในโครงข่าย
2 ล้านเลขหมาย โดยภายใต้สัมปทานนี้ ไลน์ส เทคโนโลยี่จะดำเนินการในด้านสร้างหรือติดตั้งระบบการส่งผ่านข้อมูล
(PACKAGE SWITCHING : DATA CONNECTION), ส่งข้อมูลตัวอักษรและภาพต่าง ๆ เช่นระบบอิเล็คโทรนิคส์เมลล์
ข้อมูลสำหรับการช้อปปิ้ง การสำรองที่พัก หรือตั๋วเครื่องบิน หรือข้อมูลข่าว
ทั้งยังทำหน้าที่จัดหาข้อมูลซึ่งจะส่งผ่านด้วย
ตามแผนการ ไลน์ส เทคโนโลยี่จะเริ่มให้บริการได้ประมาณเดือนมีนาคม 2537
เรดิโอโฟน ถือหุ้นโดยเทเลคอมโฮลดิ้ง 60% เป็นกิจการร่วมทุนกับกลุ่ม บริษัทจัสมิน
อินเตอร์เนชั่นแนล โดยได้รับสัมปทานจาก ทศท.ให้เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างดำเนินการและบำรุงรักษาเครือข่ายวิทยุสื่อสารเฉพาะกลุ่มธุรกิจ
(COMMON BASE RADIOTELEPHONE-CBR) ทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 15 ปี จนถึงปี
2550
ระบบสื่อสารแบบ CBR หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในต่างประเทศอีกชื่อหนึ่งว่าระบบ
TRUNKED MOBILE RADIO (TMR) เป็นระบบสื่อสารเคลื่อนที่ที่อาศัยหลักการใช้ช่องสัญญาณร่วมกันระหว่างผู้ใช้บริการหลายคน
เพื่อความมีประสิทธิภาพและความประหยัด ระบบนี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อกลุ่มธุรกิจที่มีการติดต่อสื่อสาร
หรือสั่งการตลอดเวลากับพนักงานที่เคลื่อนที่ไปมา หรือกลุ่มยานพาหนะ เช่น
กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ กลุ่มแพทย์ของโรงพยาบาล หรือกลุ่มผู้ทำงานก่อสร้าง
ระบบ TMR ของเรดิโอโฟน ยังสามารถโทรข้ามกลุ่มคือโทรเข้า PABX และโทรเข้าโครงข่าย
(PSTN CALL) ของ ทศท. ได้ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อได้กับระบบโทรคมนาคมทุกรูปแบบ
คอมลิงค์ ถือหุ้นโดยบริษัทเทเลคอม โฮลดิ้งในอัตราร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียน
1,000 ล้านบาท รับสัมปทานจาก ทศท. เป็นเวลา 20 ปีตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม
2535 ถึง 21 ธันวาคม 2553 ให้เป็นผู้วางเครือข่ายสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์กรุงเทพฯ
กับโครงข่ายต่างจังหวัด (รวม 3 ล้านเลขหมาย)
เดิม ทศท. มีโครงข่ายเชื่อมต่ออยู่แล้ว แต่ใช้สายเคเบิ้ลทองแดง ซึ่งมีความสามารถในการใช้งานต่ำกว่า
สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่ใช้นี้ จะเดินแขวนตามเสาของทางรถไฟ
ยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น อินดัสตรี หรือ ยูคอม ถือหุ้นโดยเทเลคอมโฮลดิ้ง 6.25%
ของทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท
ยูคอมดำเนินธุรกิจทางด้านการจัดจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่โมโตโรล่า
โทรศัพท์เคลื่อนที่โมโตโรล่า โทรศัพท์พกพาโฟนพ้อยต์ โมโตโรล่า ซิตี้โฟน เครื่องรับส่งวิทยุในระบบวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจหรือ
TRUNKED RADIO ซึ่งสำหรับตัวนี้นอกจากจะเป็นผู้ขายเครื่องแล้ว ยังได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้ให้บริการด้วยโดยมีระยะเวลา
15 ปี จนถึงปี 2550
ยูคอมยังเป็นเจ้าของบริษัทโทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
AMPS 800 ของ กสท. ด้วย
ไทยเคเบิล วิชั่น เป็นบริษัททำเคเบิลทีวี 10 ช่องผ่านสายโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายร่วมกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยโดยเทเลคอม
โฮลดิ้ง จะลงทุนเป็นเงิน 100 ล้านบาท และหลังจากนั้นจะโอนหุ้นให้กับ อสมท.
10% ช่องสัญญาณ 5 ช่องแรกจะเป็นรายการของสถานีโทรทัศน์เดิม 5 ช่อง ส่วนอีก
5 ช่องที่เหลือจะเป็นของบริษัทเอง โดยกำหนดแพร่ภาพในปี 2538
เอพีทีแซทเทิลไลท์ ถือหุ้น 14.3% เป็นกิจการดาวเทียมในจีน มีแผนยิงดาวเทียมแอปสตาร์
1 และ 2 ในปี 2537 ซึ่งจะครอบคลุมประชากร 2 ใน 3 ของโลก