|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จับตาความเคลื่อนไหว 50 สุดยอดแบรนด์ท็อปฮิตในใจชาวญี่ปุ่น จากผลสำรวจประจำปี 2549 ของ Nikkei BP Consulting ที่เช็คความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ของแต่ละสินค้าผ่านมุมมองของผู้บริโภคและนักธุรกิจทั้งหลาย โดยผลวิจัยที่ได้จากฟากผู้บริโภคและฝั่งนักธุรกิจจะเป็นตัวให้คำตอบว่า แบรนด์ที่ทรงพลังและมีคุณค่ามากอาจไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นแค่เฉพาะแบรนด์ของสินค้าอย่างเดียวเท่านั้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า แบรนด์คือ เครื่องมือหนึ่งในการชี้วัดถึงการรับรู้ภาพลักษณ์และคุณค่าของสินค้าและองค์กรที่อยู่ในใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ทำให้ทุกบริษัททุกค่ายหันมาให้ความสนใจในการสร้างแบรนด์กันอย่างอุตลุด แต่ทว่ามีเพียง 50 รายชื่อแบรนด์ที่อยู่ในใจของผู้บริโภคแดนปลาดิบ และอีก 50 แบรนด์ที่อยู่ในใจของนักธุรกิจแดนปลาดิบเท่านั้นที่จะฟันธงว่า การสร้างแบรนด์ของบรรดานักการตลาดเหล่านั้น เดินมาถูกทางแล้ว
สำหรับผลวิจัยที่ใช้ผู้บริโภคเป็นฐานข้อมูลเพื่อวัดความทรงพลังในแต่ละแบรนด์นั้น จะแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลัก คือ เป็นแบรนด์ที่สะดุดตา โดดเด่นหรือไม่, มีการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดหรือไม่ โดยสองตัวนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ในเรื่องความเป็นมิตรกับผู้บริโภคและให้ประโยชน์หรือสิ่งใหม่ๆ กับผู้บริโภคได้จริง
นอกจากนี้ในการวัดภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่อยู่ในการรับรู้ของผู้บริโภคนั้น สามารถแบ่งย่อยได้อีก 5 ประเภท กล่าวคือ การมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนร่วมหรือส่วนหนึ่งของแบรนด์, คุณภาพของสินค้าที่ผู้บริโภครับรู้, การเป็นพรีเมียมของสินค้าหรือมีตำแหน่งสินค้าที่สูง, มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตหรือไม่ ตลอดจนการสะท้อนความมีรสนิยมที่ดี เก๋ เท่ห์อีกด้วย
ส่วนการวิจัยในภาคนักธุรกิจแบ่งออกเป็น 5 เกณฑ์ เช่นกัน คือ ความสามารถเชื่อถือหรือไว้วางใจในตัวสินค้าได้, เป็นแบรนด์ที่สะท้อนการมีวิสัยทัศน์ทางการทำธุรกิจ, การเปิดโอกาสให้เข้าไปส่วนหนึ่งหรือสร้างความรู้สึกร่วมต่อแบรนด์, ศักยภาพและควาทรงพลังของแบรนด์ ตลอดจนเป็นแบรนด์ที่มีพรสวรรค์และเฉลียวฉลาดแค่ไหน
แบรนด์ที่อิงวัฒนธรรมครองแชมป์เหนือทุกแบรนด์
สตูดิโอ กีบลี (STUDIO GHIBI) ขึ้นแท่นครองแชมป์อันดับหนึ่งอย่างลอยลำ สำหรับการจัดอันดับสุดยอดแบรนด์ประจำปี 2006 ทางทีมผู้สำรวจกล่าวว่า นี่อาจเป็นความเป็นสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีการทำสำรวจมา จากเดิมที่ สตูดิโอ กีบลี (STUDIO GHIBI) ยืนอยู่อันดับ 2 ในปีที่แล้ว แต่ด้วยผลงานที่เข้าตาและโดดเด่นโดยเฉพาะหนัง "Howl's Moving Castle" เป็นหนังแอนนิเมชั่นที่ทุบบล็อคออฟฟิศหนังแนวนี้ในญี่ปุ่นอย่างถล่มทลาย ด้วยการทำรายได้สูงสุดในประวัติการณ์ อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถสะท้อนความสำเร็จของตัวแบรนด์นี้ได้เป็นอย่างดีก็คือ ยอดขายของแผ่นดีวีดีที่โตขึ้นอย่างมากด้วยเช่นกัน
ความโดดเด่นสะดุดตาและความเป็นมิตรต่อผู้บริโภคเป็นความรู้สึกอันดับต้น ๆ ที่ผู้บริโภคคิดถึงสตูดิโอ กีบลี ส่วนการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในตัวแบรนด์นั้น สตูดิโอ กีบลีครองแชมป์อันดับหนึ่งมา 5 สมัยติดต่อกัน สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยทั้งหลายต่างเห็นตรงกันว่า สำหรับตลาดผู้บริโภคในญี่ปุ่นแล้ว แบรนด์ที่ผูกเกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้นจะทำให้คนรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ตนคาดหวังไว้ได้ดีกว่าแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าแค่เพียงอย่างเดียว
อันดับที่ 2 ที่ชาวปลาดิบเทคะแนนให้คือ "โตโยต้า" หลังจากปีที่แล้วเคยครองแชมป์อันดับหนึ่งในผลวิจัยนี้มาแล้ว สิ่งที่ผู้บริโภครับรู้ได้ชัดเจนที่สุดคือ การเป็นเจ้านวัตกรรมของโตโยต้า ซึ่งจากผลสำรวจชี้ชัดว่า นี่เป็นปัจจัยหลักที่ดันให้โตโยต้ายังคงอยู่ใน 3 สุดยอดแบรนด์ที่ครองใจชาวญี่ปุ่นได้อยู่
"พรีอุส" เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ตอกย้ำความเป็นเจ้านวัตกรรมให้กับโตโยต้า ด้วยการเป็นเจ้าแรกที่ออกรถไฮบริดออกมาในตลาดรถยนตร์ โดยสะท้อนถึงความมีวิสัยทัศน์ที่ไกล และเป็นแบรนด์ที่เฉลียวฉลาด ไว้วางใจได้ ที่ผ่านมาโตโยต้าได้คลอด "เล็กซัส" แบรนด์รถใหม่เพื่อแข่งกับเมอร์เซเดสเบนสซ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเพิ่งจะส่งเข้าทำตลาดในญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว ดังนั้นโดยรวมแล้ว เล็กซัส ยังไม่จัดอยู่ในความเป็นแบรนด์ของโตโยต้าที่จะมาใช้วัดความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ได้ อย่างไรก็ตามเล็กซัสก็ติดโผแบรนด์ยอดนิยม โดยอยู่ในอันดับที่ 332 แต่ถ้าในมุมมองของความเป็นรถระดับพรีเมี่ยม เล็กซัสอยู่ในอันดับที่ 26 ทางทีมวิจัยยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อาจจะต้องใช้เวลานานที่จะใช้ในการสร้างแบรนด์และปูพื้นฐานการรับรู้ตัวแบรนด์ที่มีต่อผู้บริโภคของเล็กซัสในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นแบรนด์ในบริษัทแม่ชื่อดังสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง โตโยต้าก็ตาม
หากมองภาพรวมในการจัดอันดับแบรนด์ทั้งหมดนั้นในปี 2006 อุตสาหกรรมรถยนต์น่าจะดูโดดเด่นไม่แพ้วงการอื่น ๆ ไม่เพียงแต่โตโยต้าที่ติดโผแบรนด์ท็อปของญี่ปุ่น แต่ฮอนด้ายังติดโผผลวิจัยนี้ด้วย โดยขึ้นจากอันดับ 24 ในปีที่แล้ว เป็น อันดับที่ 5 ของปีนี้ ส่วนค่ายนิสสันก็พุ่งทะยานจากอันดับที่ 94 ในปีที่แล้วมาอยู่อันดับที่ 24 ของในปีนี้เช่นกัน
สำหรับค่ายรถนิสสันแล้ว ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงโฉมหน้าการทำสื่อสารการตลาดใหม่จนทำให้ขึ้นมาแตะอันดับที่ 24 ได้ จากที่เคยเพิกเฉยต่อการสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านทางแผ่นแทรกโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เพราะคิดว่า ไม่ใช่ปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถจากนิสสันมากขึ้น แม้กระทั่งดีลเลอร์ระดับท้องถิ่นเองก็ไม่สนใจที่ซื้อแม้กรอบโฆษณาเล็ก ๆในหนังสือพิมพ์ด้วยเช่นกัน แต่ทว่าหลังจากมีผลงานวิจัยที่แสดงว่า ผู้หญิงจะให้ความสำคัญและอ่านแผ่นโฆษณาแทรกในหนังสือพิมพ์เป็นอย่างมาก จึงทำให้นิสสันเปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการทำแผ่นแทรกโฆษณาในหนังสือพิมพ์ใหม่รวมไปถึงปรับปรุงให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วโลกด้วย ผลตอบรอบจากการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารใหม่นี้ ค่ายรถนิสสันสามารถครองใจจากลูกค้ากลุ่มผู้หญิงได้มาก รวมไปถึงผลการจัดอันดับครั้งนี้กลุ่มลูกค้าผู้หญิงเทใจให้กับรถนิสสันถึง 10 คะแนน
เซเว่นอีเลฝเว่น คืออีกหนึ่งแบรนด์ที่ก้าวกระโดดจากอันดับที่ 61 มาเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งถือว่าโตมากที่สุดในบรรดาแบรนด์ที่ถูกวิจัย และนี่ถือเป็นครั้งแรกสำหรับร้านสะดวกซื้อที่มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในหลาย ๆ เกณฑ์ ทั้งในเรื่องสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน รวมไปถึงเอกลักษณ์ของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เซเว่นอีเลฟเว่นเปลี่ยนชื่อจากเดิม ไอโต-โยกาโด (Ito Yokado) มาเป็น เซเว่นแอนด์ไอ โฮลดิ้งส์ (Seven&I Holdings) เพื่อรองรับการบริหารแบรนด์ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ในขณะที่ตัวแบรนด์ ไอโต โยกาโด (Ito Yokado) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเซเว่นฯ ตกลงจากอันดับที่ 149 เป็น 172 หรือแม้แต่แบรนด์ เดนนี่ส์ (Denny's) ที่เป็นร้านอาหารในเครือเดียวกันกับเซเว่นฯ ไม่ติดแม้กระทั่งอันดับที่ 300
ในอนาคตประธานกรรมการบริหาร โตชิฟูมิ ซูซูกิ (Toshifumi Suzuki) เปิดเผยว่า หลังจากการควบรวมทั้ง 3 แบรนด์นี้เข้าด้วยกันภายใต้โลโก้ใหม่คือ Seven&I แล้วจะสามารถสร้างกำไรและทำรายได้ให้กับบริษัทในระยะยาว
หันกลับมาดูในผลวิจัยในแวดวงเครื่องใช้ไฟฟ้าในแดนปลาดิบที่ปีนี้ พานาโซนิคสามารถแซงหน้าโซนี ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 4 โดยแบรนด์เวียร่า โทรทัศน์ทีวีจอแบนและบาง สามารถครองตลาดญี่ปุ่นได้ถึง 60% และ25% ในตลาดโลก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายมาก อย่างไรก็ตามแบรนด์อื่น ๆ ภายใต้บริษัทแม่อย่าง มิตสุชิตะ เช่น กล้องดิจิตอล ลูกมิกซ์ (LUMIX) เครื่องบันทึกดีวีดี ดีก้า (Diga) ต่างก็เป็นแบรนด์สินค้าที่แข็งแกร่งและมีการเติบโตที่รวดเร็วเช่นกัน ในส่วนของโซนี่ที่เป็นคู่แข่งของพานาโซนิคนั้น ตกจากอันดับที่ 1 ในปีที่แล้วมาอยู่อันดับที่ 8 เพราะว่า เกณฑ์ที่ใช้วัดแบรดน์ทั้งหมด 16 ตัว โซนี่ได้รับการประเมินที่ลดลงถึง 15 ตัว
สงครามที่ร้อนแรงในตลาดไอที
แบรนด์วินโดว์ คือแบรนด์ในกลุ่มไอทีที่มีตำแหน่งสูงสุด คืออยู่ในอันดับ 7 จากอันดับที่ 25 ในปีที่แล้ว ยาฮูขึ้นจากอันดับ 7 มาเป็นอันดับ 6 และกูเกิลขึ้นพรวดจากอันดับที่ 63 มาเป็นอันดับที่ 15 อย่างไรก็ตามแม้แอปเปิ้ลที่ได้ไอพอดที่มีคะแนนสูงสุดในแง่ขอนวัตกรรม และในปีที่แล้วอยู่อันดับที่ 75 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 15 ก็ไม่สามารถเข็นแบรนด์แอปเปิ้ลให้เข้า ท็อป 100 แบรนด์ที่ครองใจชาวยุ่นได้ ทว่า ทางทีมวิจัยให้ข้อสังเกตประการหนึ่งว่าแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคหลายแบรนด์นั้นไม่ได้ติดอันดับแบรนด์ที่ครองใจนักธุรกิจ เช่นเดียวกันกับที่หลายแบรนด์ที่ติดอันดับท็อป ๆ ของนักธุรกิจ ก็ไม่ได้ติดอันดับของผู้บริโภค
ซีเอสอาร์ เครื่องมือชี้วัดความสำเร็จ
เมื่อการวัดคุณค่าของธุรกิจใด ๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่มักวัดหรือมองกันที่กำไร และความคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์เป็นอันดับแรกก่อน แต่สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) กลับเป็นสิ่งที่บริษัททั้งเล็กและใหญ่กลับมองข้ามและละเลยไป จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ซีเอสอาร์กลับมาได้รับความสนใจจากนักธุรกิจมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ได้มีหนังสือ Concept of the Corporation ของปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) ซึ่งได้ตีพิมพ์มากว่า 60 ปีแล้วพูดถึงความสำเร็จของธุรกิจควรจะมีมากกว่าแค่ผลประกอบการเท่านั้น แม้แต่โคโนะสุเกะ มัตสุชิตะ (Konosuke Matsushita) ผู้ก่อตั้งพานาโซนิคได้กำหนดซีเอสอาร์เป็นภาระกิจอันดับต้นๆ ขององค์กรด้วย
แม้ว่าจะมีปัจจัยการชี้วัดผลประกอบการหลายตัวเช่น ผลกำไร-ขาดทุน,ดุลบัญชี และปริมาณการไหลเวียนของเงินสด แต่ซีเอสอาร์ คืออีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญไม่หยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นๆ เช่นกัน จากผลวิจัยแบรนด์สินค้าในตลาดญี่ปุ่นปีนี้สามารถสะท้อนได้ว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรและแบรนด์ในอนาคตที่มองจากมุมผู้บริโภค เช่นการทำซีเอสอาร์และการประเมินภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นจะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม และสำคัญมากกว่าการยอดดุลบัญชี การกำไร-ขาดทุน เพราะซีอาร์เอสคือการชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาว
|
|
|
|
|