|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินแผนยุทธศาสตร์ระยะปานกลาง 3 ปีกำหนด 3 แนวทาง 8 แผนกลยุทธ์ เน้นเป็นตลาดรองที่ครบวงจรมีสินค้าครบถ้วน มุ่งสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์สำคัญของภูมิภาค วางแผนเชื่อมโยงระบบซื้อขายของตราสารแต่ละประเภทเข้าสู่บัญชีเดียวกัน และสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นผ่านแบงก์พาณิชย์ได้
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ร่วมกันประชุมกำหนดกรอบแนวคิดเชิงกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระยะปานกลาง 3 ปี (ปี 2550-2552) และได้นำเสนอเป็นแผนยุทธศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แก่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 และได้รับความเห็นชอบด้านการ กำหนด Positioning ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อใช้กำหนดแนวทางแผนปฏิบัติงานระยะปานกลางใน 3 ปีข้างหน้า
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ มี 3 แนวทางจะพัฒนาสู่การเป็นตลาดรองที่ครบวงจร มีสินค้าครบถ้วน หลากหลาย และมีคุณภาพพร้อมมุ่งสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์สำคัญของภูมิภาค โดยพร้อมที่จะมีการสร้างความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความสามารถของผู้เกี่ยวข้องในระดับสากล ทั้งนี้ในการปฏิบัติงานทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดแผนกลยุทธ์สำคัญ (strategic agenda) 8 แผน เพื่อให้บรรลุผลที่ได้ตั้งไว้โดยคำนึงถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนโลก การเชื่อมโยงธุรกรรมและระบบการทำงานระหว่างตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพและความน่าสนใจให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในสายตาของนักลงทุนจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง" นางภัทรียากล่าว
แผนยุทธศาสตร์ครั้งนี้มีสาระสำคัญ 3 ด้านหลัก โดยในด้านการเป็นศูนย์การลงทุนที่ครบวงจรหรือการเป็น Integrated Market โดยมี 2 แผนกลยุทธ์สำคัญได้แก่ จะเน้นออกตราสารใหม่ที่ครบวงจรและตรงกับความต้องการของผู้ลงทุนอย่างแท้จริง รวมถึงเน้นเพิ่มความน่าสนใจในแต่ละตราสารและการให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างสะดวก โดยการรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานของทุกตราสารไว้ที่เดียวกัน
ด้านอุปทานนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ มิได้มุ่งเน้นตราสารทุนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งพัฒนาสินค้าประเภทอื่นๆ ทั้งตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ และนวัตกรรมทางการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุน เช่น Exchange Traded Fund (ETF), Capital guaranteed products, Securities Borrowing & Lending (SBL) เป็นต้น โดยในระยะถัดไป นอกจากจะเพิ่มจำนวนของสินค้าใหม่ให้มากขึ้นแล้ว ยังมุ่งดูแลสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นสินค้าที่น่าลงทุนและมีสภาพคล่องในการซื้อขาย พร้อมกันนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ จะรวมศูนย์ระบบงานต่างๆ ของทุกตราสารไว้ที่เดียวกัน (Integrated trading platform) พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบข้อมูลของทุกตราสาร เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลของตราสารทุกประเภทได้อย่างสะดวกจากจุดเดียวกัน
นอกจากนี้จะมีการการเชื่อมโยงระบบซื้อขายของตราสารแต่ละประเภทเข้าด้วยกัน และจะผลักดันให้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้ผู้ลงทุนสามารถใช้บัญชีเดียวหรือ single account ที่สามารถซื้อขายตราสารทุกประเภทได้โดยไม่ต้องเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายตราสารแต่ละประเภทเช่นในปัจจุบันนี้
สำหรับการมุ่งสู่การเป็นตลาดหุ้นที่สำคัญของภูมิภาคนั้น มี 2 แผนกลยุทธ์สำคัญเพื่อยกระดับมาตรฐานกฎเกณฑ์ต่างๆ ในแนวทางสากลให้ทัดเทียมกับตลาดทุนอื่นๆ ในภูมิภาคโดยจะมีการอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนทั้งรายบุคคล ผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ สามารถซื้อขายตราสารต่างๆ ผ่านช่องทางที่สะดวกมากขึ้น ทั้งทางอินเทอร์เน็ต การเปิดช่องทางส่งคำสั่งซื้อขายตรง หรือ Direct Market Access (DMA) เป็นต้น พร้อมทั้งจะมีการปรับปรุงและยกระดับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมในการทำธุรกรรม โดยเน้นเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี การยกระดับมาตรฐานบัญชีเป็นระดับสากล (International Financial Reporting Standards: IFRS) การเปิดเผยข้อมูลและการบังคับใช้กฎหมาย โดยมุ่งหวังการยกระดับมูลค่าตราสารในตลาดทุนไทยให้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ
ในด้านของความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 แผนกลยุทธ์สำคัญครอบคลุมการสร้างพันธมิตรทั้งธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงผู้เกี่ยวข้องสำคัญกับตลาดทุนโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการทำงาน โดยอาจให้ลูกค้าบุคคลสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ได้ผ่านสาขาของธนาคารพาณิชย์และร่วมผลักดันกฎระเบียบที่ยังเป็นข้อจำกัด และเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรมในตลาดทุน
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังพิจารณาถึงการสร้างความพร้อมในเรื่องความร่วมมือกับตลาดทุนอื่นๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ร่วมและการเชื่อมโยงในมิติอื่นๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ทั้งนี้การพัฒนาตลาดทุนไทยยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลในด้านต่างๆ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯจะยังคงผลักดันนโยบายสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายการออมภาคบังคับ (กบช.) เป็นต้น
|
|
|
|
|