จากการตรวจสอบข้อมูลการถือครองหุ้นของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ใหม่
(เอ็มเอไอ) รอบ 1 ปีที่ผ่านมา หุ้นบริษัท รอยเนท (ROYNET) และหุ้นบริษัท
บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (BROOK) เปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากที่สุด
โดยเฉพาะหุ้น ROYNET ซึ่งส่วนการถือครองหุ้นตระกูลเยาวพฤกษ์ ตั้งแต่ไตรมาส
1/2545 จนถึงไตรมาส 3/2545 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของผู้บริหารแต่อย่างใด
โดยเฉพาะส่วนของนายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์ ที่ถือสัดส่วน 28.93% และนางดวงพร
เยาวพฤกษ์ ซึ่งถือ 24.59% สิ่งน่าสังเกตคือ หลังจากไตรมาส 3/2545 จนถึง 20
ธ.ค.2545 สัดส่วนถือครองหุ้นของผู้บริหารเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะส่วนของนางดวงพร
เยาวพฤกษ์ ซึ่งไม่ปรากฎสัดส่วนถือครองหุ้นเหลืออยู่เลย
ขณะที่นายกิตติพัฒน์สัดส่วนถือครองหุ้นเหลือเพียง 18.03% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า
ผู้บริหารเทขายหุ้นช่วงระหว่าง ต.ค.-ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาหุ้นเคลื่อนไหวระดับสูงถึง
2 บาทต่อหุ้น ยังเป็นช่วงที่ผู้สอบบัญชี้สั่งปรับงบบัญชีใหม่ จึงตั้งข้อสังเกตว่าพฤติกรรมดังกล่าวของผู้บริหาร
อาจแสดงให้เห็นเจตนาที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่ทิ้งหมด เนื่องจากรับรู้ว่างบการเงินบริษัทมีปัญหา
โดยพลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ถือเป็นการใช้ข้อมูลภายใน (อินไซด์) เอื้อประโยชน์ตน
อย่างไรก็ตาม นอกจากบริษัท รอยเนท ยังตรวจสอบพบการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนอื่น
ๆ ในตลาดใหม่อีก ได้แก่ บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายราย
โดยเฉพาะส่วนของบริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ (ZMICO) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
บรุ๊คเคอร์ ขายหุ้น โดยวันที่ 9 เม.ย.2545 สัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 15.01%
ต่อมา 2 ม.ค.2546 ถือหุ้นเหลือเพียง 10.99%
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ในเครือกลุ่มยูโอบีจากสิงคโปร์
และบริษัท มอร์แกน สแตนเลย์ จำกัด ในเครือกลุ่มมอร์แกน สแตนเลย์จากแดนมะกัน
ก็ขายหุ้นออกมาจนหมดเช่นเดียวกัน จากเดิมซึ่งเคยถือหุ้น 5.38% และ 1.32%
ตามลำดับ รวมทั้งกลุ่มนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ พากันเทขายหุ้นทิ้งหมด รวมถึงบริษัทเอบีเอ็ม
แอมโร เอเชีย (สิงคโปร์) จำกัด ในเครือกลุ่มเอบีเอ็น แอมโร จากเนเธอร์แลนด์
จากเดิมถือหุ้นอยู่ถึง 9.97% เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2545 ปัจจุบันไม่มีการถือครองหุ้นบริษัทนี้เลย
การขายหุ้นออกมาจำนวนมากของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แสดงให้เห็นความไม่มั่นใจตัวบริษัท
หรืออาจมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนให้ตัดสินใจเทขายหุ้น ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ
ผู้บริหารยังคงถือครองหุ้นอัตราสม่ำเสมอ และไม่เปลี่ยนแปลงการถือหุ้น
แสดงให้เห็นว่า ผู้บิรหารไม่มีเจตนาจะทิ้งหุ้น ได้แก ่บริษัท ชูโอเซ็นโก
(ประเทศไทย) (CHUO) ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในเครือชูโอเซ็นโกจากญี่ปุ่น กำหนดนโยบายระยะเวลาห้ามขายหุ้น
(ไซเลนท์ พีเรียด) เพิ่มจากปกติ 6 เดือน เป็น 1 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจทำธุรกิจในประเทศไทยของกลุ่มนี้จริงจัง
ผู้ถือหุ้นใหญ ่ได้แก่ Chuo Senko Advertising 26% Mastermitsushige Nakamichi
12% นายวิเชียร ลินจงสุบงกช 9% บริษัท เอราวัณพัฒนาอุตสาหกรรม 8.53% และ
นายกำจร รัตนชัยกานนท์ 4%
บริษัท ทีมพริซิชั่น จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ นายจักรพันธ์ มานัสสถิตย์
ถือหุ้น 18.68% นายสถาพร มานัสสถิตย์ 16.93% นางสาวจันทิพย์ มานัสสถิตย์
15.38% นายอนันต์ มานัสสถิตย์ 15.38% ปัจจุบันก็ยังถือระดับดังกล่าว
นอกจากนี้ บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ จำกัด (TRAF) เป็นบริษัทแสดงให้เห็นว่า
ตั้งใจจะพัฒนาธุรกิจของตนเอง โดยระดมทุนเพิ่มเพื่อใช้ขยายธุรกิจ โดยตัวผู้บริหารเองก็ไม่เคยขายหุ้นออกมาแต่อย่างใด
ผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ถือหุ้น 30% นายวินิจ เลิศรัตนชัย
5.02% และนางสาวศรวณีย์ ศิริจรรยากุล 5% ส่วนบริษัทอื่นๆ การถือครองหุ้นส่วนใหญ่
ยังอยู่ระยะไซเลนท์ พีเรียด
นายชาลี จันทยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าการที่บริษัทจะรายงานการถือครองหุ้นให้สำนักงาน ก.ล.ต.หรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดชอบของผู้บริหาร
เป็นหน้าที่ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ และข้อปฏิบัติ
ที่ผ่านมา ยอมรับว่ามีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไม่รายงานการถือครองหุ้นมาที่
ก.ล.ต. ครบถ้วน สำนักงาน ก.ล.ต.อาจตรวจสอบไม่ได้ทั้งหมด แต่สามารถตรวจสอบและเช็คข้อมูลได้เมื่อพบสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
และจะลงโทษโดยเปรียบเทียบปรับ
กรณีบริษัท รอยเนท เนื่องจากเชื่อมโยงกับงบการเงินที่มีปัญหา จึงทำให้กลายเป็นเรื่องซับซ้อน
บริษัทจด ทะเบียนส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 90% ที่รายงานงบการเงินมา
ก.ล.ต ผู้สอบบัญชีจะไม่มีเงื่อนไขการสอบงบการเงิน