Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ภาพลวงตาและหลุมพรางตลาดหุ้นไทย             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
search resources

ธวัช อังสุวรังษี
Stock Exchange




ในช่วงสิ้นปีเช่นนี้ นักลงทุนในตลาดไทยส่วนมากรวมทั้งนักวิเคราะห์ และสื่อสารมวลชนเองก็ตาม จะมีประเด็นหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจติดตามข้อมูล นั่นคือการคาดหมายหรือทำนายภาวะตลาดหุ้นในปีหน้า เพื่อที่จะดูว่าจะลงทุนอย่างไรต่อไป

ปกติการทำนายภาวะตลาดก็มีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รวมถึงการคาดหมายภาวะเศรษฐกิจด้วย และสื่อมวลชนจะรายงานรายละเอียดเช่นนี้ตลอดเวลา แต่ประเด็นที่ควรต้องคำนึงถึงมากกว่า คือคนที่ฟังเรื่องเหล่านี้ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากคำทำนายและคำแนะนำเหล่านั้น

ในสหรัฐอเมริกา มีคนทำนายภาวะตลาดเยอะมาก เยอะจนกระทั่งไม่มีใครนั่งฟังคนทุกคนทำนายได้หมด และคำทำนายนั้นมีที่ขัดแย้งกัน มีทั้งผิดและถูกเต็มไปหมดในตลาดสหรัฐฯ คนบรรลุนิติภาวะการลงทุนไปแล้วแต่ประเทศไทยนักลงทุนไทยยังไม่อยู่ในระดับนั้น

ดร.ธวัช อังสุวรังษี กรรมการผู้จัดการบลจ.บัวหลวง ซึ่งบริหารกองทุนเปิดรายใหญ่ที่สุดในประเทศเวลานี้ให้ทัศนะว่า "หากมีคนเขียนเรื่องทำนายตลาดหุ้น ผมคิดว่าควรจะเขียนหรือพูดเรื่องแนวคิดและความเข้าใจในการลงทุนอย่างถูกต้องมากกว่า มันเป็นเรื่องที่จะทำนายได้ยากมากกว่าตลาดหรือความสัมพันธ์ของราคาจะเป็นอย่างไร แต่ว่าสื่อมวลชนอาจจะไม่เข้าใจตรงจุนี้ มันก็เป็นเรื่องที่ว่าไม่ได้เพราะกระทั่งผู้บริหารกองทุนส่วนใหญ่ที่ผมรู้จักก็ยังไม่เข้าใจจุดนี้เช่นกันคนที่เข้าใจอย่างนี้มีน้อย นับนิ้วได้"

"ผมจะไม่มีการทำนายภาวะตลาดในอนาคต แม้ว่าผมจะทำบ้างโดยส่วนตัว แต่ผมจะไม่มีการแนะนำเพราะว่ามันมีหลุมพรางมาก และจริงแล้วการทำนายตลาดหุ้นเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์" ทั้งนี้เขาเปรียบเทียบว่าการจัดการกองทุนคล้ายกับการขับรถ มันมีปัจจัยที่จะเข้ามามีผลบกระทบเยอะมาก คนขับรถที่เก่งจะมองไปข้างหน้าไกลกว่าคนอื่น ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจว่าข้าหน้าสั้น ๆ จะมีอะไร คนที่จัดการกองทุนเก่งไม่ต้องทำนายอันนี้เป็น แต่เขาต้องมีข้อมูลเพียงพอ มีความสามารถในการจำแนกแยกแยะข้อเท็จจริง มีเงินลงทุน และมีการโต้ตอบเก่งพอ

ทั้งนี้หน้าที่ในอาชีพของผู้บริหารกองทุนไม่ใช่การจับผิดแต่เขาต้องพยายามที่จะดูว่าอะไรคือข้อเท็จจริง และอะไรที่ไม่ใช่ต้องพยายามแยกแยะออกมาให้ได้

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ทำนายตลาดอยู่เป็นจำนวนมากในตลาดหุ้นไทย มีผู้ที่มองว่าตลาดจะผงกหัวกลับขึ้นมาได้ถึงระดับ 1,000 ซึ่งผู้บริหารกองทุนบางท่านก็รู้สึกอยู่เช่นกัน เพราะนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนเริ่มขายไม่เยอะแล้ว

แต่หากกล่าวโดยรวม ดร.ธวัชมองว่าราคาได้ลงมาเยอะแล้ว "จากประสบการณ์ทั้งหมด มันต้องมี rebound หรือราคาต้องดีดตัวกลับ แต่ปัญหาคือที่ตรงจุดนี้ หรือตรง 850 หรือ 800 มันก็แล้วแต่แนวทางที่ลงทุน ว่าเป็นสั้นหรือยาว หากถือยาวก็ยังรับมือกับการลงได้ เพราะใช้วิธีซื้อถัวเฉลี่ย ไม่ใช่ซื้อราคาเดียวเพราะว่าข้อมูลก็มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ"

นอกจากว่าการทำนายภาวะตลาดจะเป็นเรื่องที่ยากและไม่ควรทำแล้ว ประเด็นที่นักลงทุนควรสนใจทำความเข้าใจให้ถ่อนแท้เพื่อให้เกิดภาพลวงตาอีกอย่างคือเรื่องการวดัผลการดำเนินงาน ซึ่งปรากฏว่าการวัดผลไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามในสังคมไทยนั้น เช่น การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม การวัดผลการดำเนินงานของรัฐบาลดร.ธวัชให้ทัศนะว่า "ในสังคมเราขาด perspective หรือการมองเปรียบเทียบกว้าง ๆ และเราก็ขาด long term view ที่จะมองย้อนไปไกล ๆ และ anticipate ข้างหน้าไกลหน่อย นี่เป็นวัฒนธรรมที่แย่มากสำหรับการพัฒนาประเทศ

ประเด็นนี้เป็นเชื่อโรคร้ายสำคัญของประเทศไทยในแง่ที่ว่าเราไม่สามารถวัดผลการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม เหมือนกับผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งคนที่สามารถควบคุมได้ก็จะวัดเป็นรายไตรมาสไป แต่ข้อเท็จจริงควรเป็นเช่นไร

ในการเปรียบเทียบการบริหารกองทุนนั้น อาจจะนำเอาอัตราผลตอบแทนในอดีตที่กองทุนทำได้มาเป็นตัวตัดสิน แต่การเปรียบเทียบเช่นนี้จะมีความน่าเชื่อถือเพียงใดควรพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ในการเปรียบเทียบด้วย

ช่วงเวลาในการวัดผลที่สั้นไป เช่น การวัดผลรายไตรมาส หรือรายปี อาจบิดเบือนความสามารถในการบริหารของบางกองทุนได้ ถ้าขยายเวลาที่ใช้วัดผลให้กว้างขึ้นจะได้ผลการวัดที่น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เช่น การเปรียบเทียบผลงานระหว่างกองทุน ก. และ กองทุน ข. ซึ่งเป็นกองทุนที่ตั้งพร้อมกัน

นักลงทุนระยะยาว จึงควรให้ความสำคัญกับการวัดผลที่ใช้ช่วงเวลายาว ๆ เพราะข้อมูลจะน่าเชื่อถือถือมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับวัดกองทุนหุ้นทุน ควรจะประมาณ 3-5 ปี

การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนเป็นประเด้นที่มีการโต้เถียงกันมากในช่วงหนึ่งในบรรดากองทุนรวมทั้งหลาย 8 รายในประเทศเวลานี้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักลงทุนจะพึ่งได้คือการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของตนขึ้นมาเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะได้แยกแยะหลุมพรางหรอืภาพลวงตาออกจากข้อเท็จจริงได้เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us