Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
YANKEE BOND ของ TAC รุ่นบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
ธนา เธียรอัจฉริยะ




TAC เป็นเอกชนรายแรกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากมูดี้ส์และเอสแอนด์ พี ในอันดับ VA1 และ BBB - ตามลำดับ และเป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จในการไปออกหุ้นกู้ในตลาดสหรัฐอเมริกา ด้วยวงเงินที่สูงถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

หลังจากที่ TAC หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จจากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (ECD) อายุ 10 ปี จำนวน 200 ล้านเหรียญฯ เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่บริษัทเทเลคอมของไทยเคยออกมา โดยมีคูปอง 2% และได้ส่วนเกินในการแปลงสภาพ (CONVERSION PREMIUM) สูงถึง 16.02% รวมทั้งยังให้อัตราผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนที่มาไถ่ถอนคืนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดอายุ (YIELD TO PUT) ในอัตรา 7.71% ด้วย

มาถึง ณ วันนี้ TAC ปิดฉากการระดมทุนในปีนี้ลงอย่างงดงาม ด้วยการออกไประดมทุนยังตลาดอเมริกาในรูปแบบของ "YANKEE BOND" ซึ่งถือเป็นเอกชนไทยรายแรกที่สามารถออกไประดมทุนในตลาดหุ้นกู้ของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ไม่นับธนาคารพาณิชหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของไทย นอกจากนี้ยังเป็น YANKEE BOND ที่มีวงเงินสูงสุดเท่าที่บริษัทไทยเคยระดมทุนด้วยวิธีการนี้ คือเป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หุ้นกู้อายุ 5 ปี จำนวน 100 ล้านเหรียญฯ อัตราดอกเบี้ย 7.625% ซึ่งจะครบอายุไถ่ถอนคืนหุ้นกู้ในวันที่ 4 พ.ย. 2544 และหุ้นกู้ อายุ 10 ปี จำนวน 300 ล้านเหรียญฯ อัตราดอกเบี้ย 8.735% ซึ่งจะครบอายุในวันที่ 4 พ.ย. 2549

"ปัจจุบัน TAC อยู่ระหว่างการ RESTURCTURE DEBT ของบริษัท โดยพยายามจัดให้ MATURITY ของหนี้ MATCH กับ ASSET และธุรกิจของบริษัท ซึ่งมีลักษณะเป็นสัมปทานและมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง" ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการเงินของ TAC กล่าวถึงความจำเป็นในการที่ TAC ต้องออกหุ้นกู้ตัวนี้ และเขายังเล่าอีกว่าเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาทนั้น จำนวน 70%-80% จะนำไปจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้หนี้สินระยะสั้นของ TAC ณ สิ้นปี'39 นี้คงเหลือประมาณ 2,000 ล้านบาท และระยะยาวประมาณ 20,000 ล้านบาท และเงินส่วนที่เหลือก็จะนำไปใช้ลงทุนในธุรกิจต่อไป

"ก่อนหน้านี้สัดส่วนหนี้สิ้นระยะสั้นต่อระยะยาวของ TAC อยู่ที่ประมาณ 50:50 แต่หลังจากที่เราปรับโครงสร้างทางการเงินแล้ก็น่าจะกลายเป็นประมาณ 10:90 เพราะธุรกิจเราเป็นสัมปทาน อย่างน้อยการแข่งขันก็ต้องมองกันในระยะยาวจนสิ้นอายุสัมปทาน ซึ่งถ้าเราสามารระดมทุนในระยะยาวได้ก็จะเป็นการ MATCH กับ ASSET ที่เรามีอยู่" เขาอธิบาย ทั้งนี้หลังจากที่ TAC ระดมเงินครั้งนี้เสร็จสิ้นแล้วสัดส่วนหนี้สิ้นต่อทุนของ TAC ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1.3:1 ซึ่งนโยบายของบริษัทต้องการทีจะคงสัดส่วนไว้ให้ไม่เกิน 1.5:1

เบื้องหลังความสำเร็จ

จากความต้องการใช้เงินของ TAC ในข้างต้นนั้น กลายเป็นที่มาของการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ยังตลาดอเมริกา ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับการที่บริษัทใดก็ตามที่ต้องการระดมทุนด้วยวิธีนี้ เนื่องจากตลาดอเมริกาเป็นตลาดที่มีความเข้มงวดในเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของบริษัทที่จะเข้ามาระดมทุนด้วย ประกอบกับชื่อเสียงของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาก็ไม่ดีนัก เนื่องจากการที่มูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือในความสามารถชำระหนี้ระยะสั้นของประเทศไทย

เป็นหน้าที่ของ UNION BANK OF SWITZERLAND (UBS) และ LEHMAN BROTHERS ในฐานะ LEAD MANAGER และ JOINT MANAGER ของดีลนี้ที่ต้องการหาวิธี PRESENT สถานการณ์ภาพรวมของประเทศ สภาพธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ และศักยภาพทางการดำเนินธุรกิจและการเงินของ บริษัทให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในหุ้นกู้ตัวนี้

"สถานภาพความมั่นคงทางการเงินและการดำเนินธุรกิจของ TAC ดีอยู่แล้วดีขนาด INVESTMENT GRADE น่าจะอยู่ที่ A หรือ AA ทีเดียว แต่สิ่งที่นักลงทุนถามถึงมากก็เป็นเรื่องของ MASTER LPAN ของรัฐบาลบที่มีต่อ SECTOR TELECOM รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจการเมืองโดยรวมของประเทศด้วย ทำให้เราต้องมีการวางแผนเป็น STEP BY STEP ให้กับ TAC ในการไป ROAD SHOW โดยเริ่มจากให้นักลงทุนได้รู้จักตัวบริษัท TAC ก่อนจากนั้นก็พูดถึงสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจเทเลคอม และปิดท้ายด้วยเรื่องของประเทศไทย" ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล CHIEF REPRESENTATIVE ของ UBS ประจำประเทศไทย เล่าถึงความพร้อมเมื่อครั้งไป ROAD SHOW หุ้นกู้ของ TAC และผลที่ออกมาก็ OVER SUBSCRIBE นับเป็นความภาคภูมิใจของทั้ง TAC และ LEAD MANAGER ทั้งสอง

ทั้งนี้ ธนาเล่าถึงกุญแจสำคัญที่ทำให้ YANDEE BOND ของ TAC ประสบความสำเร็จว่า อยู่ที่วิธีการ PRESENT และ TIMING

"UBS วางแผนให้เราดีมาก เขาแนะนำว่า ณ เวลานี้ควรทำอะไร อย่างไร ประกอบกับผ้บริหารของเราเองก็สามารถ PRESENT ภาพของบริษัทได้อย่างแจ่มแจ้งตอบคำถามได้ตรงประเด็น ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ดี ผู้บริหารของเราสามารถสร้างศรัทธนาให้เกิดแก่นักลงทุนได้ว่า คน ๆ นี้สามารถนำพาบริษัทฝ่ามรสุมต่าง ๆ ไปได้และสามารถสร้างความเข้มแข็งแรงให้กับบริษัทได้เรื่อย

และอีกประเด็นที่สำคัญก็คือ ภาพพจน์ของประเทศ เพราะหากเขาไม่มีความเชื่อมั่นในประเทศไทยแล้ว เขาก็คงไม่ซื้อสินค้าที่มาจากประเทศไทยแล้ว เขาก็คงไม่ซื้อสินค้าที่มาจากประเทศแน่ ต่อให้บริษัทเราดีขนาดไหนก็ตาม เพราะประเทศ คือ สภาวะแวดล้อมทั้งหมดที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท นั่นคือสิ่งที่เรากังวลในตอนแรก แต่พอเราไปพบกับนักลงทุนเข้าจริงแล้ว เขากลับมีความเชื่อมั่นในประเทศของเราในระยะยาว ทำให้เขากล้าลงทุนในหุ้นกู้ 5 ปี 10 ปี ของเราเพราะอย่างน้อยเขาก็มองว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยต้องแข็งแรง มีฉะนั้นเขาคงไม่ลงทุนหรอก"

TAC ได้ BA1/BBB-จาก มูดี้ส์ และ เอสแอนด์ พี ตามลำดับ

TAC ถือเป็นเอกชนไทยรายแรกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก มูดี้ส์และ เอส แอนด์ พี ไม่นับปตท.สผ.ซึ่เป็นเสมือนรัฐวิสหกิจและไม่รวมถึงสถาบันการเงินอื่น

"CASE นี้ถือเป็น ISSUE แรกของบริษัทและเป็น ISSUE แรกของเอกชนไทยที่ไปออกหุ้นกู้ในวงเงินที่ค่อนข้างสูงคือ 400 ล้านเหรียญฯ ซึ่งถือเป็นวงเงินที่สูงที่สุดในปีนี้และในภูมิภาคเอเชียด้วย และ RATING ที่เราได้ก็อยู่ในอันดับทีเรียกว่า SPLIT RATING ซึ่งเป็นเรตที่อยู่คาบเส้นระหว่าง INVESTIMENT GRADE และ NON INVESTMENT GRADE พอดี คือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะมีเส้นแบ่งอยุ่เส้นหนึ่งคือเส้น INVESTIMENT GRADE ซึ่ง BBB-ที่เราได้จาก เอส แอนด์ พี เป็นเรตที่อยู่เหนือเส้น แต่เรตที่เราได้จาก มูดี้ส์ คือ BA1 นั่นอยู่ใต้เส้น สาเหตุที่แตกต่างกันเช่นนี้กเนื่องจากเอส แอนด์ พี จะให้ความสำคัญในเรื่องของตัวบริษัทมากกว่า ซึ่งเขามองว่าความมั่นคงทางกาเรงินของบริษัทอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ ในขณะที่มูดี้ส์จะเป็นห่วงในเรื่องของ REGULATORY จึงให้เราได้ในอันดับ NON INVESTMENT GRADE" ธนาอธิบาย และจากการที่ได้ NON INVESTMENT GRADE จากมูดี้ส์นี้เองทำให้เกิดความยากในการที่จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ดี

แต่ในที่สุด PRICE ของหุ้นกู้ทั้งสองส่วนที่ TAC ได้มาก็นับว่าไม่เลวทีเดียวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่อิงกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (TREASURY BILL) คือ หุ้นกู้อายุ 10 ปีได้อัตราดอกเบี้ยที่ 7.625% (TREASURY BILL บวก 2%) และสำหรับหุ้นกู้อายุ 5 ปีได้ 8.375% (TREASURY BILL บวก 1.5%)

"ในส่วนของ 10 ปี เดิมทีเราตั้ง RANGE ไว้ที่บวกประมาณ 190-210 BASIS POINT เราพยายามขยับตามตลาด ในที่สุดหลังจากที่เราไป ROAD SHOW แล้ว DEMAND ก็ได้ที่ 200 พอดี ส่วนตัว 5 ปี ก่อนไปเราก็ตั้งไว้ที่ 160-170 BASIS POINT แต่ DEMAND ก็ออกมาที่ 150 นับว่าดีทีเดียว" ธนาชี้แจง พร้อมกันนั้นเขายังเล่าถึงเทคนิคในการทำให้อัตราดอกเบี้ยออกมาในอัตราที่น่าพอใจว่า

"ตอนที่เราไป ROAD SHOW ทาง UBS แนะนำว่า เราไม่ควรบอกกับนักลงทุนก่อนว่าคูปองจะเป็นเท่าไร ซึ่งตามธรรมดาเขาจะต้องบอกว่าอยู่ในช่วงเท่าไร แต่ครั้งนี้เราไม่บอก จนถึงวันสุดท้าย เพื่อกระตุ้นให้เขาอยากรู้ว่า ดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไรและผลที่ออกมาก็คือเขาสนใจและก็ BID กันเข้ามาจนในที่สุดก็ได้เรตที่ค่อนข้างดี"

TAC เริ่มมองตลาดฯ ที่ 3

นับเป็นเวลา 1 ปีเต็มแล้ว หลังจากที่ TAC สามารถฝ่าด่านเข้าไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 38 ที่ผ่านมา จากนั้นก็ได้มีการคิดค้นวิธี TRANFER หุ้น TAC ให้กลับมาเทรดใน BSDC ของไทยได้สำเร็จ และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องยากมากที่ TAC จะเข้ามาเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได ้เนื่องจากประเด็นหลักประเด็นเดียวคือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทแม่คือ UCOM

ณ วันนี้ เกิดคำถามว่า TAC จะไป LIST ในตลาดหลักทรัพย์อื่น อาทิ NAS DAQ หรือ NYSE อีกหรือไม่ และมีความจำเป็นเพียงใดที่ต้องทำเช่นนั้น ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงินของ TAC ก็ให้คำตอบว่า "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า

"มองในแง่ของความจำเป็นในด้านของการระดมทุนแล้ว TAC ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไป LIST ที่ไหนอีก แต่ถ้ามองในแง่ของประโยชน์ของผู้ถือหุ้นแล้วก็มีความเป็นไปได้ที่ TAC จะไป เพื่อให้สภาพคล่องในการซื้อขายดีขึ้น และทำให้นักลงทุนมีช่องทางในการเทรดมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับความเห็นของ FUND MANAGER ทั้งหมด ถ้าเขาเห็นด้วยทั้งหมดว่าดีก้ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีเสียงแตกออกไปก็ต้องมานั่งคิดหนัก"

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม TAC เองก็ได้ศึกษาช่องทางในการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดอื่นด้วย

"เราก็กำลังศึกษาอยู่มี 2 ตลาดคือ อเมริกากับลอนดอน ซึ่งถือเป็นตลาดระดับ INTERNATIONAL ที่เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าไป LIST ได้ แต่เราก็ต้องศึกษาว่าดีจริงถึงจะไป ถ้าไม่ดีเราก็ไม่ไป" เป็นคำยืนยันของมือการเงินของ TAC

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us