Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ไมโครซอฟท์บนเส้นทางแห่งการปฏิวัติ             
โดย ยังดี วจีจันทร์
 


   
www resources

โฮมเพจ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

   
search resources

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), บจก.
ไตรรัตน์ ใจสำราญ
Computer




ไตรรัตน์ ใจสำราญ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทลอจิก จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายของ ซัน ไมโครวิสเต็มส์ กล่าวว่า "ถึงที่สุดไมโครซอฟท์ เขาก็จะต้องเดินตามแนวทางของซันเพราะถ้าเขาไม่เดินแนวทางนี้ เขาก็ตาย"

ในขณะที่สุเทพ อุ่นเมตตาจิต ผู้บริหารอีกรายหนึ่งของลอจกกล่าวว่า "ในตลาดเครื่องพีซี ไมโครซอฟท์กับอนเทลเขาชนะอยู่แล้ว ตอนนี้ไม่โครซอฟท์ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะยกระดับตลาดให้สูงขึ้นระบบเครือข่าย โดยผ่านวินโดวส์เอ็นที เขาคงจะรุกจากเซิร์ฟเวอร์ในระดับล่างไปสู่ระดับบนทีเดียว"

โลกคอมพิวเตอร์นั้นเอาชนะกันด้วยวิสัยทัศน์ เริ่มจากยุคเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งไอบีเอ็มตักตวงเงินทองอย่างสนุกมือ เทคโนโลยีดูเหมือนจะอยู่ในบริษัทใหญ่เท่านั้นไม่ต่างจากอำนาจรัฐที่อยู่ในมือชนชั้นปกครอง

ต่อมามีการคิดเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ โดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ มีราคาถูกในระดับที่ชนชั้นกลาง และวิสาหกิจทั่วไปสามารถซื้อได้ เท่ากับเทคโนโลยีได้มาอยู่ในมือชนชั้นกลาง เพราะใช้งานง่าย นี่อาจถือได้ว่า เป็นการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง

แต่ก็ใช่ว่าการปฏิวัติจะหยุดเพียงเท่านี้ โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูล อีกทั้งยังต้องการสินค้าซึ่งมีราคาต่ำลงเรื่อย ๆ จึงเกิดแนวคิดการใช้เครื่องลูกข่าย/เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสมควรมีเครื่องลูกข่ายราคาถูก เจ้าของแนวคิดนี้ก็คือซันไมโครซิสเต็มส์ และพันธมิตร เช่น ออราเคิล

ออราเคิลเป็นผู้นำตลาดระบบบริหารฐานข้อมูล หากตลาดเซิร์ฟเวอร์ขยายตัว ซอฟต์แวร์ระบบบริหารฐานข้อมูลของออราเคิลก็ขายดีตามไปด้วย จึงทำให้ออราเคิลเห็นด้วยกับแนวทางซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่สำคัญคือออราเคิลประกาศที่จะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีรายได้เป็นอันดับ 1 แต่ก็ยังแพ้ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นผู้นำตลาดระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซี

อันที่จริง โลกคอมพิวเตอร์นั้นมีองค์ประกอบสำคัญอยู่สามประการคือ การประมวลผล ซึ่งมีอินเทลเป็นผู้ครองตลาด การควบคุมระบบ ซึ่งมีไมโครซอฟท์เป็นผู้นำ การบริหารฐานข้อมูลซึ่งอยู่ในกำมือของออราเคิล แต่ในฟากซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซี ไมโครซอฟท์กลับร่ำรวยสูงสุดเพราะการครองตลาดระบบปฏิบัติการทำให้ซอฟตืแวร์คอมปานีต่าง ๆ ต้องพัฒนาโปรแกรมให้เข้ากับระบบของไมโครซอฟท์นี่นับเป็นหนามตำใจออราเคิลมานานเท่านาน

THE NETWORK IS THE COMPUTER ทำให้ซัน มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าที่สุด และเป็นความจริงขึ้นทุกขณะ แต่ก็ยังไม่ได้หมายความว่า ไมโครซอฟต์จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากไมโครซอฟท์มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งคือ ปรับซอฟท์คือ การขายโปรแกรมภาษาซี การร่วมกับไอบีเอ็มผลักดันเครื่องพีซี เพื่อปิดล้อมแอปเปิลคอมพิวเตอร์ด้วยการให้มีเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็มไปทั่วโลก และขายในราคาถูก ในยุทธการนี้ ไมโครซอฟท์เป็นผู้ออกแบบระบบปฏิบัติการ เอ็มเอสดอส ให้กับไอบีเอ็ม

ต่อมาไอบีเอ็มต้องการขยายตลาดคอมพิวเตอร์ โดยทำให้ระบบปฏิบัติการมีลักษณะง่ายขึ้น คือเป็น GRAPHICS USER INTERFACE จึงให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้สร้างระบบปฏิบัติการนี้ ในชื่อโอเอส/ทู แต่โครงการนี้ก็ล้มเลิกลงกลางคัน

ไมโครซอฟท์หันไปทำระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของตนเองมีลักษณะการใช้เป็นกราฟิก เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการแมคโอเอสของแอปเปิล จึงถูกฟ้องในข้อหาเลียนแบบ แต่อันที่จริงต้นคิดในเรื่องกราฟิก หรือสร้างหนากากคลุมลงไปบนระบบปฏิบัติการที่ต้องสั่งงานโดยการพิมพ์หน้าจอ เป็นแนวคิดของซีร็อกซ์

เมื่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้รับความนิยม และมีความใกล้เคียงกับแมคโอเอส ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของแอปเปิลขายไม่ดีอีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us