การปฏิวัติครั้งใหม่ในโลกคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยซัน ไมโครซิสเต็มส์ และเนตสเคป
ได้ทำให้เกิดการทำนายว่า ไมโครซอฟท์จะสูญเสียบัลลังก์ เนตสเคปจะแทนที่ไมโครซอฟท์
เครื่องลูกข่ายราคาถูกของซัน ไมโครซิสเต็มส์ จะกวาดเครื่องพีซีตกไปจากเวทีประวัติศาสตร์
อันที่จริง ไมโครซอฟท์ก็มิได้ปฏิเสธว่าสภาพแวดล้อมทางการตลาดได้เปลี่ยนไปแล้ว
และกำลังหาประโยชน์จากแนวทางของคู่แข่ง เพื่อแย่งธงชัยผืนใหม่ไว้ในมือ โดยอาศัยกลยุทธ์
เลียนแบบโอบล้อม แล้วเขาตีด้านหน้า
การบูมขึ้นของอินเตอร์เน็ต การขยายตัวของตลาดเซิรฟ์เวอร์ทำให้ตัวละคนเช่น
บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ ก็ยังเป็นภาพที่ตามหลอกหลอนได้เรื่อย ๆ
หากจะพูดว่า MICROSOFT IS STILL ALIVE ประโยคนี้ แม้จะเป็นบทเพลงที่ไม่ค่อยอยากมีผู้ร่วมประสานเสียง
แต่ก็ยังต้องยอมรับว่า เป็นอมตะ
"จากการวิจัยพบว่า ในปี 2539-2542 อัตราเติบโตของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กจะเพิ่มขึ้น
70% ในกลุ่มองค์กรขนาดเล็กเพิ่มขึ้น 19% ในกลุ่มองค์กรขนาดกลางและ 7% ในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่
ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทขนาดเล็กถึงกลางอยู่ถึง 30 ล้านแห่งทั่วโลก" คิม
ยู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวเลตต์ แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
ธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือที่เรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ ย่อมประกอบไปด้วยตัวเครื่องฮาร์แวร์
และซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเรียกว่า โอเอสเซิร์ฟเวอร์นอกจากนั้นคือโปรแกรมประยุกต์ต่าง
ๆ
เป็นธุรกิจซึ่งกำลังขึ้นสู่กระแสสูง และแข่งขันช่วงชิงตลาดกันอย่างหนักมือ
ยิ่งเมื่อมีการสร้างตลาดใหม่ ดังนี้
1) นำเอาเซิร์ฟเวอร์เข้าเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายในองค์กร
สามารถใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตได้ด้วย
2) นำเอามาตรฐานการสื่อสารและเทคโนโลยีบนอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่อข่าย
ในองค์กรหรือที่เรียกกันว่าอินทราเน็ต
3) นำเอาเครื่องเทอร์มิลอลราคาถูกเชื่อมต่อเข้าเซิร์ฟเวอร์
4) ทั้งหมดก็ยิ่งทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ร้อนแรงยิ่งขึ้น
เป็นเสมือนการเล่นหมากรุกในกระดานเก่า ซึ่งมีเพียงบริษัทอินเทล และไมโครซอฟท์ได้ประโยชน์สูงสุด
นี่เป็นวิสัยทัศน์อันงดงามที่สุดอีกครั้งหนึ่งในสงครามคอมพิวเตอร์ ซึ่งไมโครซอฟท์จำเป็น
ต้องเปลี่ยนท่าทีของตนเองเสียใหม่ ก่อนจะกลายเป็นผู้ล้าหลังอย่างน้อยการขยายตัวของระบบเน็ตเวิร์กก็ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า
ในยุคเมนเฟรมผู้ชนะคือไอบีเอ็ม ในยุคเครื่องพีซี แอปเปิลคือวีรบุรุษ แต่ผู้ชนะคือไมโครซอฟท์ส่วนในยุคเน็ตเวิร์กปัจจุบัน
เช่น อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ผู้ชนะคือซํน ไมโครซิสเต็มส์ และเนตสเคป
การทำงานเป็นเครือข่ายนั้นจะล้มระบบการตลาดแบบเดิม ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องพีซีในแบบสแตนด์
อะโลน มีราคาแพงอยู่ในระดับ 30,000-70,000 บาท เข้าสู่การให้เซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์กลาง
โดยมีเทอร์มินอลราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณเครื่องละหมื่นบาทเท่านั้น ทั้งยังอาจจะมีราคาถูกเรื่อย
ๆ หากตลาดขยายตัว ค้าขายกันในวอลุ่มมาก ๆ
แนวคิดนี้ มีซัน ไมโคร ซิสเต็มส์ เป็นผู้นำ ประกอบด้วยแนวร่วมเช่น ไอ บี
เอ็ม ออราเคิล เนตสเคป และกระทั่งอดีตอเมริกันฮีโร่ เช่น แอปเปิล คอมพิวเตอร์
ได้บีบบังคับให้ไมโครซอฟท์ และอินเทลต้องปรับตัวสู่ตลาดระดับบน และอินเตอร์เน็ตเนื่องจากตลาดเครื่องพีซีราคาแพงเริ่มไม่สอดคล้องกับโลกภิวัฒน์ซึ่งมีแต่คนกระเป๋าฉีก
ในตลาดเก่า อินเทลได้ประโยชน์จากการไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครซอฟท์ได้ประโยชน์จากการขายระบบปฏิบัติการทั้งสองฝ่ายรวมกันเป็นมาตรฐาน
"วินเทล" ซึ่งครองตลาดอยู่ถึง 90% แต่ถึงที่สุด อินเทล และไมโครซอฟท์
ซึ่งแม้จะทำทีบ่ายเบี่ยงไม่เห็นด้วยกับเทอร์มินอลราคาถูกในตอนแรก ก็เริ่มมีดวงตาเห็นธรรมว่า
1) มนุษย์ต้องไปสู่อินเตอร์เน็ต 2๗ มนุษย์ต้องทำงานเป็นกลุ่ม 3) เทอร์มินอลต้องมีราคาถูกกว่านี้
หากคอมพิวเตอร์ราคาไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท ถูกใช้ในลักษณ์เครื่องพิมพ์ดีดสูงขึ้นมาอีหน่อยก็คือ
แชร์ไฟล์ข้อมูลก็เท่ากับใช้งานเพียง 10% ของความสามารถของตัวเครื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้
การมีเทอร์มินอลราคาถูก โดยลดสเป็กลงมา เพราะเก็บฮาร์ดดิสก์ไดว้ที่เซิร์ฟเวอร์
ก็นับว่าสมเหตุสมผล
แนวคิดง่าย ๆ เช่นนี้ ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับจุดยืนของตนเองอีกครั้งหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ชิงลงมือเน็ตพีซี
หลักฐานยืนยันคือ ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่ซัน ไมโครซิสเต็มส์
จะเปิดตัวเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อว่า จาวาสเตชั่น ราคาเครื่องละ
742 เหรียญสหรัฐ ไมโครซอฟท์ก็รีบออกมาประกาศก่อนหน้าเพียงวันเดียวว่า ตนและพันธมิตรในกลุ่มอินเทลมีแผนที่จะทำ
"เน็ตพีซี" ซึ่งเป็นพีซีราคาถูกเช่นเดียวกัน นี่เป็นแถลงโดยโฆษกไมโครซอฟท์
มิใช่การซุบซิบนินทาที่ไหน แม้ไมโครซอฟท์ถูกกล่าวว่า "พลิกลิ้น"
ก็คงไม่สนใจนักเพราะนักการตลาดย่อมรู้ดีว่า อิทธิพลทางการตลาดที่แท้จริงอยู่ที่ขายสินค้าได้มากหรือไม่
ในขณะเดียวกัน อินเทลก็ตระหนักดีว่า เครื่องพีซีในปัจจุบันราคา 1,500-2,000
เหรียญสหรัฐ จะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาประมาณ 6,000-12,000 เหรียญ จึงมีแผนหารือกับบริษัทฮาร์ดแวร์
เพื่อผลิตเครื่องพีซีที่ลดต้นทุนในการบำรุงรักษา
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเห็นได้ว่า ทิศทางของโลกคอมพิวเตอร์นั้นเป็นไปในแนวทาง
THE NETWORK IS THE COMPUTER ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของซัน ไมโครซิสเต็มส์มาตั้งแต่ก่อนบริษัทนี้
เป็นเวลาประมาณ 14 ปีแล้ว
ในความเป็นจริง ซัน ไมโครซิสเต็มส์ เติบโตขึ้นมาจากตลาดเฉพาะทางโดยการนำเสนอเครื่องเวิร์กสเตชั่น
มีสมรรถนะในการประมวลผลสูง เหมาะสำหรับการทำงานออกแบบหรือ CAD/CAM ในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ
ต่อมาได้ผลติเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ แล้วผลักดันคอนเซ็ปต์ แม่ข่าย/ลูกข่ายคอมพิวเตอร์
หรือไคลเอนต์/เซิฟร์เวอร์ขึ้นมาในตลาดโลก อันเป็นการเริ่มตลาดเน็ตเวิร์กอย่างจริงจัง
ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก
ขั้นต่อมาจึงเปิดเกมการตลาดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต โดยพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้บนเครือข่ายนี้ถึง
80% เซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเตอร์เน็ตก็เป็นผลิตภัณฑ์ของซันถึง
60% ดังนั้น หากไมโครซอฟท์ไม่ปรับตัว ซัน ไมโครซิสเต็มส์ก็จะเป็นฝ่ายกำชัยได้โดยง่ายในตลาดใหม่
ในทิศทางใหม่นี้ โครงสร้างการตลาดจะประกอบไปด้วย
1) เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2) เครือข่ายภายในองค์กร
3) เครื่องแม่ข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์
4) เครื่องแม่ข่ายหรือเทอร์มินอลราคาถูก เช่น เน็ตเวิรก์คอมพิวเตอร์
5) ระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์หรือโอเอสเซิร์ฟเวอร์
6) ความเร็วของชิปหรือตัวประมวลผล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่คอยกำหนดเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก
และระบบปฏิบัติการ
หากต้องการตักตวงเงินทองในสงครามคอมพิวเตอร์ ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ก็ต้องขึ้นต่อ
โครงสร้างดังกล่าว และพยายามทำตัวเป็นมาตรฐานในองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อกีดกันคู่แข่งขันออกจากตลาดซึ่งในระยะเริ่มต้นก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ในเกมใหม่ ไมโครซอฟท์ปรับตัวรวดเร็วมาก ดูได้จากวิธีคิด
วุฒิชัย รุจิระประภา ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
กล่าว
กับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าในแต่ละปีเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ คือตัวประมวลผลจะเปลี่ยนไปเรื่อย
ๆ ในแง่ของความเร็ว
"เวลาไมโครซอฟท์ทำธุรกิจ ไมโครซอฟท์จะมองความก้าวหน้าของฮาร์ดแวร์และเน็ตเวิร์ก
ว่าเป็นเช่นไร หากฮาร์ดแวร์เป็นเพนเทียมโปร ระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์
เอ็นที ก็ต้องสอดคล้องกัน"
ไมโครซอฟท์กำลังนำเสนอวินโดวส์เอ็นที ขึ้นมาเป็นมาตรฐานระบบปฏิบัติการบนเครือ
ข่าย เพื่อดึงดูดแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ให้มาอยู่ล้อมรอบไมโครซอฟท์ ไม่ต่างจากที่ไมโครซอฟท์เคยนำเสนอระบบปฏิบัติการดอสและวินโดวส์
เวอร์ชั่นต่าง ๆ เข้ายึดกุมตลาดพีซีแบบสแตนด์ อะโลนและโปรแกรมเมอร์ก็ต้องเขียนโปรแกรมให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์
ซึ่งเป็นผู้นำตลาด
ในภารกิจครั้งใหม่ การยึดกุมตลาดระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์ ไมโครซอฟท์ต้องแย่ง
ชิงเจ้าตลาดกับเน็ตแวร์ของบริษัทโนเวลล์ และยูนิกซ์ ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่นเพราะเป็นของหลายบริษัท
ในส่วนการแข่งขันด้านโปรแกรมประยุกต์บนเครือข่ายไมโครซอฟท์ดูจะต้องขับเคี่ยวอย่างหนักกับเนตสเคป
คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งมีโปรแกรมนำทางหรือบราวเซอร์ตัวดังคือ เนตสเคป นาวิเกเตอร์
"ไมโครวอฟท์ฟาดฟันกับเนตสเคปมิใช่แค่เรื่องบราวเซอร์ แต่ยังมีเรื่องแอพพลิเคชั่นบน
อินทราเน็ต หรือเว็บ เซิร์ฟเวอร์ ด้วย เพราะส่วนที่จะทำเงินคือตรงนี้"
อาภารณ์ ศรีพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการไมโครซอฟท์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"
โลกคอมพิวเตอร์นั้นปรับเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการทางสังคมและธรรมชาติ ดังนั้น
ใครไม่เปลี่ยนแปลงก็มีสิทธิ์ตกเวทีประวัติศาสตร์ ทว่ากุญแจสำคัญของไมโครซอฟท์ที่จะเอาชนะคือ
1) เลียนแบบ 2) ทำให้ดีกว่า 3) ทำให้กระหึ่ม
ตัวอย่างการเลียนแบบเพื่อทำให้ดีกว่าของไมโครซอฟท์คือ โปรแกรมระบบปฏิบัติการวิน
โวส์ 95 ซึ่งมีลักษณะ USER FRIENDLY คล้ายระบบปฏิบัติการแมคโอเอสของแอปเปิลคอมพิวเตอร์
ทั้งสองฝ่ายล้วนนำแนวคิดในการสร้างสรรค์มาจากบริษัทซีร็อกซ์
ส่วนวิธีการทำให้กระหึ่มจะสังเกตเห็นได้ว่า เมื่อตอนจะเปิดตัววินโดวส์
95 นั้น มีอาการดรคเลื่อนด้วยสาเหตุต่าง ๆ อยู่หลายครั้งทุกครั้งสื่อมวลชนทั่วโลกจะรายงานข่าวกันราวกับโปรแกรมนี้เป็นร็อกสตาร์
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว วินโดวส์ 95 จึงดังไม่รู้เรื่อง เมื่อเทียบกับโอเอส
ทู/วอร์ป ของไอบีเอ็ม
หากจะมองว่าไอบีเอ็มเป็นพวกลูกผู้ดี ลูกชาวบ้านอย่างไมโครซอฟท์ก็ยิ้มเยาะไอบีเอ็มมาหลายหน
ซัน ไมโครซิสเต็มส์, เนตสเคป และโนเวลล์ เจ้าของระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งเรียกว่า เน็ตแวร์ กำลังจะได้ลองลิ้มชิมรสแท็กติกเก่า ๆ ของไมโครซอฟท์อีกครั้งหนึ่ง
ก้าวร้าว แต่รู้ใจชาวบ้าน
แม้แต่บิล เกตส์ ก็ยอมรับเช่นนี้เพียงแต่ย้ำว่า ผลิตภัณฑ์ ต้องมีหมัดเด็ดราคาถูก
ซึ่งจะทำให้ขายได้ง่าย จากนั้นก็จะเกิดผลกระทบในเชิงบวก กล่าวคือทุกฝ่ายจะถูกดึงดูดเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ของเขา
นี่น่าจะเป็นจุดแข็งและอันตรายที่สุดของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นนักการตลาดอย่างเต็มตัว
บุคลิกของบิล เกตส์นั้นออกจะก้าวร้าว แต่ก็เป็นคนยอมรับความจริงในบางโอกาส
สังเกตได้จากยามอยู่หน้าจอทีวีพลาสมาขอโซนี่ ในงานคอมเด็กซ์'95 เขาจะซักถามอย่างสนอกสนใจ
เช่นเดียวกับเมื่อ "ผู้จัดการรายเดือน" ถามวุฒิชัยว่าคนของไมโครซอฟท์นั้นเป็นเช่นไร
เขาตอบว่า "ต้องแอเกรสซีฟ แต่พูดคุยกับคนรอบข้างได้อย่างเข้าอกเข้าใจ"
ไม่ว่าจะก้าวร้าวอย่างไร ไมโครซอฟท์ก็เป็นคนรู้ใจชาวบ้าน และพยายามออกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเสมอ
จึงไม่แปลกที่เมื่อกระแสอินเตอร์เน็นขึ้นสูงไมโครซอฟท์จึงพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับอินเตอร์เน้ต
และอินทราเน็ต
อินทราเน็ตเป็นศัพท์ที่คิดกันขึ้นมาเพื่อที่จะขายสินค้า บริษัทที่จะใช้ซอฟต์แวร์อินทราเน็ต
จะต้องมีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว
"แต่อินทราเน็ตก็เป็นมุมมองที่ดีเพราะจะทำให้ผู้จัดการด้านระบบสารสนเทศรู้ว่าประโยชน์ของเซิร์ฟเวอร์มิใช่แค่การใช้งานด้าน
FILE&PRINT เท่านั้น แต่ยังต้องทำงานด้านแอพพลิเคชั่นได้ด้วย" วุฒิชันกล่าวเหมือนเห็นชัยชนะอยู่รำไร
ยังห่างเนตสเคปหลายช่วงตัว
ทางด้านเน็ตสเคป คอมมิวนิเคชั่น เป็นคู่แข่งที่ทิ้งห่างไมโครซอฟท์ไปหลายช่วงตัว
ในตลาดโปรแกรมนำทางบนอินเตอร์เน็ต (บราวเซอร์) และตลาดเว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเรียกกันว่า
อินทราเน็ต แต่หากวิเคราะห์ถึงบุคลิกของผู้นำบริษัท ก็จะเห็นได้ว่าพวกเนตสเคปนั้นเป็นพวกเล่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ตามมหาวิทยาลัย และใช้งานยาก ขณะที่ไมโครซอฟท์เป็นพวกขายระบบปฏิบัติการดอส
และวินโดวส์มาร่วมสองทศวรรษความรู้ใจผู้บริโภคมากกว่านับเป็นแต้มต่อสำคัญในการวางเกมตลาด
แม้จะเป็นการเดินตามเนตสเคป แต่ไมโครซอฟท์ก็ได้เปรียบในแง่การมีผลติภัณฑ์ที่ครบวงจรมากกว่า
คือมิได้มีเพียงระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นบนเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำตลาดระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีซึ่งเป็นตัวลูก
ซึ่งจะทำให้ไมโครซอฟท์ผลักดันตลาดเซิร์ฟเวอร์ได้ง่าย เพราะตัวแม่และตัวลูกเป็นมาตรฐานเดียวกัน
แต่กระนั้นก็ดี นี่ก็เป็นสงครามในระดับตัดไม้ข่มนามกันเท่านั้น เนตสเคปยังเป็นผู้ครองตลาดอินทราเน็ตมากที่สุดในโลก
โดยในไตรมาสที่ผ่านมาทำกำไร 7.7 ล้านดอลลาร์ และสร้างสถิติยอดขายประจำไตรมาสเกิน
100 ล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เปิดกิจการเป็นต้นมา
ส่วนกรณีไมโครซอฟท์วางตลาดวินโดวส์ เอ็นที ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์
ในขั้นตอนของการดีไซน์ ผลิตภัณฑ์ ดำเนินไปตามคอนเซ็ปต์ เลียนแบบ แล้วทำให้ดีกว่า
มีหมัดเด็ด ราคาถูก และสร้างความกระหึ่ม ทุกประการ
หมัดเด็ดถล่มเน็ตแวร์
เดิมผู้นำตลาดระบบปฏิบัติการบนเครือข่ายคือ เน็ตแวร์ของบริษัทโนเวลล์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ในแง่
FILE&PRINT เท่านั้น ส่นยูนิกซ์นั้นเป็นพลังที่ก้าวหน้ากว่า คือเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานด้านโปรแกรมประยุกต์ได้
ดังนั้น แนวคิดในการสร้างระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์คือ 1) ระบบปฏิบัติการเช่นเน็ตแวร์
มีความสามารถจำกัดอยู่แค่ FILE&PRINT 2) ในขณะที่ยูนิกซ์นั้นเป็นระบบที่จะได้รับความนิยมในวันข้างหน้า
3) กระแสอินเตอร์เน็ตกำลังมาแรง โดยมีเนตสเคป เป็นผู้ตักตวงเงินทองจากโปรแกรมบราวเซอร์
และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งถือได้ว่า เป็นแอพพลิเคชั่นอย่างหนึ่ง
ไมโครซอฟท์จึงนำเอาคุณลักษณะทั้งสามประการมาดีไซน์วินโดวส์ เอ็นทีทำให้มีแต้มต่อเหนือเน็ตแวร์คือ
มีคุณสมบัติเป็นทั้ง FILE&PRINT SERVER, APPLICATION SERVER และ WEB
SERVER
นี่พอจะถือได้ว่า เป็นหมัดเด็ด
วงจรเก่ากลับมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ วงจรเก่ากำลังกลับมาเยือนอีกครั้งหนึ่งในตลาดใหม่
เพียงแต่ไมโครซอฟต์อาศัยตลาดซอฟต์แวร์บนพีซีเป็นฐาน แล้วขยายการตลาดขึ้นสู่ระดับบนคือเซิร์ฟเวอร์
คอมแพคในฐานะฮาร์ดแวร์คอมปานีก็ทำเช่นนี้ เพราะการขายเครื่องพีซีนั้น มีมาร์จินน้อยลงทุนวัน
ขายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ มีมาร์จินสูงกว่า อย่างไรก็ตาม คอมแพคนี้นเป็นบริษัทที่ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเองแต่การที่เป็นผู้นำตลาดพีซี
ก็สามารถที่จะดึงดูดพันธมิตรรายสำคัญ เช่น อินเทล ไมโครซอฟท์ เข้ามาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑืได้
"คอมแพคต้องไปสู่ยุคเครือข่าย และเราก็จะก้าวเข้าสู่ยุคมีเทอร์มินอลราคาถูกหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เล็ก
ๆ เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์" พีรพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา
กรรมการผู้จัดการบริษัทคอมแพค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นอันแสดงถึงทิศทางของตลาดใหม่ที่ใครปฏิเสธไม่ได้
ส่วนไอบีเอ็ม อดีตเจ้าตลาดเมนเฟรมและมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แทบทุกแขนงนั้น
ก็เคลื่อนตัวจากตลาดระดับบนลงล่างโดยการปรับเครื่องเมนเฟรมทุกสถาปัตยกรรมให้สามารถทำงานในลักษณะไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
ในที่สุด จุดศูนย์กลางของโลกคอมพิวเตอร์ ก็จะอยู่ที่การวัดฝีไม้ลายมือกันที่เซิร์ฟเวอร์และเทอร์มินอลราคาถูก
ไม่ว่าจะเป็นไอบีเอ็ม, คอมแพค, ออราเคิล, ฮิวเลตต์ แพคการ์ด, เอเซอร์,
ซัน ไมโครวิสเต็มส์, อินเทล, แอปเปิลคอมพิวเตอร์, เนตสเคป คอมมิวนิเคชั่น,
ดิจิตอล อิควิปเมนท์ และไมโครซอฟท์ต่างก็เคลื่อนทัพมาประจันหน้ากันในตลาดนี้
เพียงแต่ว่า ใครจะเป็นพันธมิตรกับใคร ใครจะสู้รบในปีกไหน และลักษณะโครงสร้างทางการตลาดจะทำให้ใครเป็นผู้ได้เปรียบ
"ปีนี้เป็นปีแรกที่อินเทลจะผลักดันอุปกรณ์เน็ตเวิร์กทั้งฮาร์ดแวร์
และซอฟต์แวร์ อย่างจริงจัง อินเทล นับว่ายังใหม่มากสำหรับการทำตลาดเน็ตเวิร์กในชื่อของอินเทล
แต่อันที่จริงอินเทลก็ทำอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี"
ดุลยรัตน์ รัตนมังคละ ผู้จัดการบริษัทอินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)
จำกัดให้ความเห็น
สะท้อนถึงการหาประโยชน์จากตลาดใหม่ แม้การเกิดเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ชิปของอินเทลอีกต่อไปจะสั่นคลอนบัลลังก์พีซีของอินเทลก็ตามแต่การปฏิเสธยุทธศาตร์
THE NETWORK IS THE COMPUTER ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น
ในด้านระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์ความได้เปรียบก็จะตกอยู่กับไมโครซอฟท์เพราะมีฟีเจอร์
(feature) มากกว่า ใช้งานง่ายกว่า และใช้ได้กับเครื่องฮาร์ดแวร์ทุกสถาปัตยกรรม
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ซึ่งแข็งแกร่งด้วยกำลังเงิน เพราะร่ำรวยจากซอฟต์แวร์ต่าง
ๆ มาเนิ่นนาน ก็ใช้วิธีการประกอบคู่ต่อสู้อย่างชนิดตาต่อตาฟันต่อฟันทีเดียว
ไมโครซอฟต์วางตลาดโปรแกรมอินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ออกมาแข่งกับโปรแกรมเนตสเคป
นาวิเกเตอร์ ทั้งสองโปรแกรมทำหน้าที่เหมืนอกับเป็น FILE MANAGER สำหรับเน็ตเวิร์ก
แต่เป็นการทำงานที่ตัวลูกข่าย ไม่ใช่แม่ข่าย
กลยุทธ์ของเนตสเคปคือ ใช้ประโยชน์จากการมีบราวเซอร์ยอดนิยม ดึงลูกค้าเข้าสู่การใช้แอพพลิเคชั่นต่าง
ๆ ของตนเอง ดังนั้น ไมโครซอฟท์จึงเปิดยุทธการแจกฟรีเอ็กซ์พลอเรอร์ สกัดกั้นอย่างเต็มที่
"ในเชิงการตลาดเนตสเคปเขาให้ดาวน์โหลดนาวิเกเตอร์ของเขาก็จริง ดาวน์โหลดเอาโปรแกรมไปใช้ได้ฟรี
แต่ต้องเสียเงินทีหลัง หากมาตรวจแล้วพบ ต่างจากไมโครซอฟท์ เราให้เอ็กซ์พลอเรอร์ใช้ฟรี
แต่มีกระดาษให้เซ็นไว้ว่าจะใช้เพียงภายในองค์กรเท่านั้น" วุฒิชัยกล่าว
กลายเป็นผู้นำบนอินเตอร์เน็ต
หลังจากถูกกระแหนะกระแหนจากวงการคอมพิวเตอร์ว่า ไมโครซอฟท์เกือบสิ้นท่า
เพราะไม่ให้ความสำคัญกับอินเตอร์เน็ต สังเกตได้จากการผลักดัน "ไมโครซอฟท์เน็นเวิร์ก"
เพื่อทำธุรกิจเครือข่ายระดับโลก แต่ในปีนี้ไมโครซอฟท์กำลังทำตัวเป็นผู้ชำนาญการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
เหมือนซัน ไมดครซิสเต็มส์และเนตสเคปไปเสียแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบกับโนเวลล์ เจ้าตลาดระบบปฏิบัติการบนเน็ตเวิร์ก ก็จะเห็นได้ว่า
โนเวลล์ปรังตัวช้ามาก และการออกแบบเน็ตแวร์แต่เริ่มแรก ก็มิได้ออกมารองรับเรื่องอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตต่างจากวินโดวส์
เอ็นที ซึ่งมีทิศทางที่ถูกตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ นั่นคือคอนเซ็ปต์ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่
ส่วนเรื่องโปรแกรมประยุกต์เป็นเรื่องที่จะต้องแข่งขันกันในภายหลัง
ไม่ต่างจากตลาดโปรแกรมบนเครื่องพีซี ซึ่งไมโครซอฟท์ชิงเป็นผู้นำตลาดระบบปฏิบัติการก่อน
จากนั้นจึงสร้างโปรแกรมประยุกต์ระดับคลาสสิก เช่น ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และเอ็กเซล
ทำให้โปรแกรมเมอร์ค่ายอื่น ๆ ไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะเมื่อไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
และออกแบบโปรแกรมให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการของตนเองก็ย่อมมีความได้เปรียบ
"ในที่สุดวินโดวส์ เอ็นที ก็คงแย่งตลาดเน็ตแวร์ได้ เพราะมันออกแบบมาดีกว่าแต่การจะแย่งตลดายูนิกซ์นั้นไม่ใช่ง่าย
เพราะยูนิกซ์นั้นสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นและอยู่ในตลาดมานาน จึงดีกว่าในแง่มาตรฐาน"
ไตรรัตน์ ใจสำราญ ผู้จัดการทั่วไปบริษัทลอจิก กล่าว
บริษัทนี้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของซัน ไมโครซิสเต็มส์ ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
"ตอนนี้เลิกพูดถึงเน็ตแวร์ไปได้เลยต้องเจ้าใจเช่นนี้ เพราะมันคนละยุคแล้วในยุคนี้
เมื่อผู้บริหารระบบสารสนเทศเขาเข้าใจดีแล้วว่า ระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์สามารถทำงานในด้านแอพพลิเคชั่นได้รวมทั้งทำงานในด้านแว็บ
เซิร์ฟเวอร์ ก็ต้องเป็นยุคการแข่งขันระหว่างยูนิกซ์ และวินโดวส์ เอ็นที"
วุฒิชัยกล่าว
พ่ายด้านวิสัยทัศน์ แต่ยังไม่แพ้ด้านตลาด
ในการรุกรบครั้งใหม่ ซึ่งไมโครซอฟท์จำต้องเดินตามแนวทาง THE NETWORK IS
THE COMPUTER เพื่อรักษาบัลลังก์ตนเอง ด่านแรกที่ไมโครซอฟท์จะต้องเอาชนะคือ
การชิงส่วนแบ่งการตลาดจากเน็ตแวร์ของโนเวลล์ จากนั้นก็โค่นยูนิกซ์เพื่อเป็นเจ้าตลาดระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเครือข่าย
ขั้นต่อไปในด้านโปรแกรมประยุกต์บนเซิร์ฟเวอร์หรือที่เรียกว่า แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์
และเว็บ เซิร์ฟเวอร์ ไมโครซอฟท์ก็ต้องเอาชนะซัน ไมโครซิสเต็มส์และเนตสเคป
จากนั้นจึงไปสู่การเอาชนะในเรื่องเทอร์มินอลราคาถูกที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์
นี่เป็นภาพร่างที่ไม่อาจเป็นจริงได้ง่ายนัก อาการหวั่นเกรวงว่า ไมโครซอฟท์จะผูกขาดกํยังเป็นภาพหลอนวงการอยู่เสมอจนผู้บริหารระบบสารสนเทศบางรายกล่าวว่า
"คงไม่จำเป็นหรอก ที่โลกนี้จะมีระบบปฏิบัติการอยู่เพียงระบบเดียว"
ความน่ากลัวของไมโครซอฟท์อยู่ที่การไม่แข็งขืนต่อระบบใหม่ แต่กลับทำปฏิเสธ
แล้วชิงลงมือทำตลาด เหมือนกองทัพที่โห่ร้องทางตะวันตก แล้วเขาตีทางตะวันออก
ซึ่งทำให้ศัตรูตายใจและย่อยยับ
การปฎิบัติในวงการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดดาวดวงใหม่อยู่เสมอ ในขณะที่ดาวดวงเก่ารักษาตำแหน่งไว้ไม่ได้
การปฏิวัติพีซี ทำให้เกิดแอปเปิล คอมพิวเตอร์อินเทล และไมโครซอฟท์ ส่วนไอบีเอ็มอยู่ในภาวะเสื่อมถอย
แนวทาง THE NETWORK IS THE COMPUTER ทำให้เกิดซันไมโครซิสเต็มส์ และเนตสเคป
คอมมิวนิเคชั่น
หากไมโครซอฟท์ซึ่งพ่ายแพ้ไปแล้วในเชิงวิสัยทัศน์ ยังรักษาบัลลังก์ตนเองไว้ได้ก็ต้องนับว่า
ยอดฝีมือ