Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2549
ส่งออกทรุดฉุดจีดีพีภาคฯอุตดิ่งเหวแนะเอกชนปรับตัว-หากตลาดใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยซบเซาต่อเนื่อง ต้นปี 50 หนักสุดจีดีพีภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกอาจโตแค่ 1.4% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี เหตุภาคการส่งออกอันเป็นแรงขับเคลื่อนหลักโดนกระทบจากหลายปัจจัยเสี่ยง รวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศลดลงจากราคาน้ำมัน-ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะที่ภาคการลงทุนยังชะงักรับผลการเมืองไม่นิ่ง-งบฯล่าช้า แนะเอกชนเร่งปรับตัวรับความผันผวน-แสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆที่ศักยภาพทดแทน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมโดยภาพรวมในช่วงครึ่งหลังปี 2549 ว่า ยังชะลอตัวต่อเนื่องจากในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจขยายตัวประมาณ 6.3% ชะลอตัวลงจาก 8.1%ในครึ่งปีแรก ส่งผลให้การเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 7.1% ชะลอลงจากที่ขยายตัว 9.1% ในปี 2548 อย่างไรก็ตาม ระดับการผลิตที่ยังคงเพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 74.5% ในปี 2549 จาก 72.1%ในปี 2548

ทั้งนี้ โดยภาพรวมแล้วคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2549 อาจจะขยายตัวประมาณ 4.7% ชะลอลงจากที่คาดการณ์ว่าอาจขยายตัว 6.2% ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของภาคอุตสาหกรรมของไทย ในปี 2549 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 2.72 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว ณ ราคาคงที่ ประมาณ 5.4% เทียบกับที่มีมูลค่า 2.47 ล้านล้านบาทในปี 2548 และมีอัตราการขยายตัว ณ ราคาคงที่ ที่ 5.5%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมไทยนั้น เนื่องมาจากภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาสสองชะลอตัวลงตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของภาคการส่งออกอันเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยคาดว่าจีดีพีของภาคอุตสาหกรรมอาจมีอัตราการเติบโตชะลอลงในไตรมาสสองปี 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 4.9% เทียบกับที่ขยายตัว 7.6% ในไตรมาสแรก

ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังแวดล้อมด้วยปัจจัยลบ โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภค ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ตามระดับราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ปรับเพิ่มขึ้น อาจจะกระทบต่อตลาดสินค้าที่พึ่งพาสินเชื่อเพื่อการบริโภค เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และที่อยู่อาศัย สำหรับในด้านการลงทุนของภาคธุรกิจ อาจจะยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง และการชะลอตัวของตลาดผู้บริโภค และในด้านการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ อาจได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของการผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 โดยผลคงจะเริ่มปรากฏในไตรมาสสุดท้าย ปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ แต่โดยปกติ ในช่วงดังกล่าว ยังมีการใช้จ่ายในส่วนของงบเหลื่อมจ่ายของปีงบประมาณก่อนหน้าเข้ามา ผลกระทบจึงอาจยังไม่มากนัก แต่จะรุนแรงขึ้นในไตรมาสแรก ปี 2550

และภาคส่งออก อาจชะลอตัวลง ตามทิศทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อันเป็นผลตามมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และธนาคารกลางในแต่ละประเทศดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยตึงตัว ซึ่งสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเริ่มเห็นได้ในสหรัฐและญี่ปุ่น ขณะที่จีนนั้นแม้ว่าในไตรมาสสองยังมีอัตราการขยายตัวที่เร่งขึ้น แต่มาตรการที่ทางการจีนได้ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการเติบโตอย่างร้อนแรงของการขยายสินเชื่อและการลงทุน ซึ่งความพยายามล่าสุด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น น่าจะนำไปสู่การบริหารเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Soft Landing) สำหรับสหภาพยุโรปการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องคงจะมีผลชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ปัจจัยลบดังกล่าวยังคงส่งผลกดดันถึงปี 2550 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศในปี 2550 มีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในปี 2549 ซึ่งเป็นส่วนที่น่าจะสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศที่สำคัญยังคงเป็นประเด็นทางการเมือง ขณะที่ผลกระทบของปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ต่อการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ จะมีผลให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปี 2550 ยังมีทิศทางชะลอตัว อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย น่าที่จะมีความชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 หลังจากที่รัฐบาลสามารถเริ่มผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนดีขึ้น ด้านปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศยังคงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมันของโลก และแนวโน้มการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก

ทั้งนี้ ปัจจัยลบต่างๆที่เศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญในช่วงครึ่งปีแรกนั้น จะกดดันให้จีดีพีภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 อาจมีอัตราการขยายตัวต่ำเพียง 1.4% ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่ปี 2545 ก่อนที่จะค่อยๆปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสอง และเริ่มมีอัตราการขยายตัวสูงในช่วงครึ่งหลังของปี ด้วยเหตุนี้ โดยภาพรวมทั้งปีของปี 2550 คาดว่า อัตราการเติบโตของของภาคอุตสาหกรรมอาจจะยังชะลอตัวลงมา มีอัตราการขยายตัวประมาณ 4.3% โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.94 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35% ของขนาดเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีของประเทศ

อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว ยังคงต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะอุตสาหกรรมในระยะข้างหน้าประกอบด้วย อาทิ ทิศทางของค่าเงินบาท ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออก ,ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์, ข้อขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ซึ่งจะสร้างความผันผวนให้กับราคาน้ำมัน, การแข่งขันที่จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปิดเสรีภายใต้กรอบความตกลงที่ไทยดำเนินการในระดับทวิภาคีและพหุภาคี และมาตรการทางการค้า โดยประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯกำลังกังวลอยู่ในขณะนี้คือการพิจารณาทบทวนการห้สิทธิจีเอสพีให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา

ดังนั้น ท่ามกลางแนวโน้มปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ส่งผลกดดันต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยดังที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงนับเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการไทยต้องติดตามศึกษาข้อมูล เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนต่างๆทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้สามารถรักษาสถานะในการแข่งขันในฐานตลาดเดิมเอาไว้ ขณะเดียวกันก็แสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพต่อไปด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us