Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2549
บตท.เร่งปรับโครงสร้างNPLโยกหนี้เน่า 710ล้านขายAMC             
 


   
search resources

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
นริศ ชัยสูตร




"สศค."เผยผลการดำเนินงานล่าสุดเดือนกรกฎาคม บตท.มีเอ็นพีแอลเกือบ 2 พันล้านบาท แต่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้กว่า 1 พันล้านบาท ส่วนอีก แย้มลูกหนี้ไม่สามารถติดตามหรือเจรจาแก้ไขหนี้ได้อีก 710 ล้านบาท รอการขายให้แก่เอเอ็มซีในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีหน้า ขณะเดียวกันหนี้ที่เกิดจากการทุจริตในโครงการเอกสยามและพนารี จะใช้วิธีแก้ไขแบบพิเศษ

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานกรรมการ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบตท. ว่า ณ สิ้นเดือนก.ค. 2549 บตท.มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทั้งหมด 1,997.94 ล้านบาท หรือประมาณ 44% ของสินเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ 4,200 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ประมาณ 1,063 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ที่ปัจจุบันสามารถชำระได้ตามปกติ จำนวน 430 ล้านบาท และลูกหนี้ที่ยังอยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 606 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยเหลือด้วยการปรับลดดอกเบี้ยค่าปรับให้ โดยคาดว่าจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้

สำหรับลูกหนี้ที่บตท.ไม่สามารถติดตามหรือเจรจาแก้ไขหนี้ได้อีก 710 ล้านบาท ก็จะดำเนินการขายหนี้ดังกล่าวให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ซึ่งขณะนี้บตท.ได้เตรียมกระบวนการไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เชื่อว่าจะสามารถดำเนินการขายให้เอเอ็มซีได้เสร็จสิ้นภายในเดือนพ.ย. 2550 อย่างแน่นอน ส่วนหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากการทุจริตในโครงการเอกสยามและพนารี อีกจำนวน 267.64 ล้านบาทนั้น บตท. จะดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีพิเศษอาทิ นำบ้านที่ยังมีสภาพดีมาจัดทำเป็นโครงการพิเศษ

“หากสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามแผน ก็จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากกรณีการทุจริตได้มาก ซึ่งทางบตท.ก็จะพยายามปรับโครงสร้างหนี้ให้มากที่สุด เพราะการขายให้เอเอ็มซีจะขาดทุนมากกว่า” นายนริศกล่าว

นายนริศ ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีอาญากับผู้ทุจริตว่า บตท.ได้ดำเนินคดีกับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.พนักงานบตท. จำนวน 6 คน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพนารี และโครงการเอกสยาม ในกรณีที่มีส่วนรู้เห็นการให้สินเชื่อกับลูกค้าที่ใช้เอกสารปลอมประกอบการขอสินเชื่อ 2.สถาบันการเงินที่อำนวยสินเชื่อให้กับบตท. คือ ไทยเคหะ ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการทุจริต และ 3.ลูกค้าที่ขอสินเชื่อโดยใช้เอกสารปลอมประกอบการขอสินเชื่อ จำนวน 119 คน

โดยล่าสุดพนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องและสำนวนคดีทั้งหมดไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) แล้ว นอกจากนี้ทางบตท. ยังได้ดำเนินคดีทางแพ่งเพิ่มขึ้นด้วยเนื่องจากทำให้บตท. เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตามคาดว่าการดำเนินคดีจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้

ด้านนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บตท. กล่าวยืนยันว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยุบ บตท. เพราะทางคณะกรรมการบตท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนว่าควรจะมีบตท. ไว้เพื่อเตรียมพร้อมและรองรับสถานการณ์วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ขณะนี้บตท.ได้เร่งสร้างความเข้มแข็ง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับการสรรหากรรมการผู้จัดการบตท.คนใหม่ คาดว่าจะหาข้อสรุปได้เร็ว ๆ นี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตกลงผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม บอร์ดได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ให้กรรมการผู้จัดการคนใหม่ โดยได้ทำการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งความรับผิดชอบเป็น 3 ส่วน คือ 1. ฝ่ายอำนวยการ 2.ฝ่ายสนับสนุน ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ 3. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของรองกรรมการผู้จัดการ และภายหลังจากที่กรรมการผู้จัดการคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการก็คือ การพัมนาระบบไอทีของบตท. เพราะถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน

ส่วนการบริหารงานของบตท. นั้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีทุนเหลืออยู่ 1,000 ล้านบาท แต่มองว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเพิ่มทุนในขณะนี้ เนื่องจากบตท.มีศักยภาพที่จะบริหารงานต่อไปได้ และจะใช้วิธีการระดมเงินด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (ซิเคียวริไทเซชั่น) โดยโครงการล่าสุดคือ การทำซิเคียวริไทเซชั่นในโครงการบ้านเอื้ออาทร ร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us