Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2549
"วังขนาย"ปรับแผนผลิตน้ำตาลธรรมชาติ คาด3ปีเข็นน้ำตาลปลอดสารเคมีออกขาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มวังขนาย

   
search resources

กลุ่มวังขนาย
Agriculture
บุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย




กลุ่มน้ำตาลวังขนาย ปรับแผนธุรกิจ เบนเป้าหมายมุ่งผลิตน้ำตาลธรรมชาติ (ORGANIC SUGAR) หลังกระแสตลาดตอบรับสูง วางเป้าเป็นผู้ผลิตนำร่องในอุตสาหกรรม ชูแผนขยายพื้นที่ส่งเสริมให้ครอบคลุมทั้ง 4 โรงงานในเครือทั่วประเทศ มั่นใจภายใน 3 ปีมีผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% ออกจำหน่าย ชี้กระแสตลาดตอบรับสูง ล่าสุดน้ำตาลธรรมชาติเกรดทั่วไปมีสัดส่วนยอดขายถึง 50%

นายบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มบริษัทน้ำตาลวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ในประเทศ เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ถึงทิศทางการผลิตน้ำตาลทรายว่า กลุ่มน้ำตาลวังขนาย จะให้ความสำคัญกับไลน์การผลิตน้ำตาลธรรมชาติ (OGANIC SUGAR) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก กระแสตลาดตอบรับผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติ ขยายตัวเร็วมาก

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติ แบ่งเกรดคุณภาพได้ 2 ระดับ คือระดับเพียว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการใช้เคมีภัณฑ์ในวัตถุดิบที่ใช้ผลิต อาทิ ปุ๋ยบำรุงอ้อย ยาปราบศัตรูพืช สารเร่งการเติบโต ฯลฯ ขณะที่อีกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วไป ยอมให้ใช้เคมีภัณฑ์บางชนิดในระดับต่ำ หรือมีการปนเปื้อนเคมีภัณฑ์ในวัตถุดิบผลิตบ้าง และเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติที่กลุ่มวังขนายกำลังทำตลาด

อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำตาลธรรมชาติ ให้มีคุณภาพปลอดสารพิษ 100% จะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นทาง คือ การปลูกอ้อยต้องปรับวิธีเพาะปลูกใหม่ นำเทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพมาปรับใช้แทนรูปแบบเกษตรเดิม ต้องปรับปรุงคุณภาพดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี/ยาฆ่าแมลง เปลี่ยนใช้ปุ๋ยหมักและแตนเบียนกำจัดศัตรูพืชในแปลงปลูก และที่สำคัญผลผลิตจะลดลงประมาณ 10-20%

" การผลิตน้ำตาลธรรมชาติมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าน้ำตาลทรายขาว จากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน โดยกลุ่มวังขนายต้องเพิ่มบุคลากรฝ่ายไร่ เข้าไปควบคุมแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเคมีภัณฑ์จากอ้อยทั่วไปที่ใช้สารเคมีบริเวณใกล้เคียง ซึ่งต้องมีพื้นที่กันชนปลูกอ้อยบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ควบคุมกับแปลงอ้อยทั่วไป"นายบุญญฤทธิ์กล่าวและว่า

การผลิตน้ำตาลธรรมชาติให้มีคุณภาพบริสุทธิ์ 100% ทางกลุ่มวังขนายได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาลราชสีมา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา และโรงงานน้ำตาลที.เอ็น. อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี มาแล้วประมาณ 2 ปี โดยมีเกษตรกรร่วมปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลธรรมชาติแล้วประมาณ 1,000 ราย ทำให้คุณภาพอ้อยทั้ง 2 จุดมีสารเคมีปนเปื้อนลดลงเรื่อยๆ

กลุ่มวังขนายอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่แปลงใหญ่ สำหรับปลูกอ้อยผลิตน้ำตาลธรรมชาติ โดยนำเทคโนโลยีพิกัดดาวเทียม GPS และการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินด้วยระบบ GIS ปรับปรุงดินบริเวณที่จะปลูกด้วยการปลูกปอเทือง พืชตระกูลถั่ว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ฟื้นฟูสภาพดินอย่างน้อย 3 ปี จึงจะใช้ปลูกอ้อยผลิตน้ำตาลธรรมชาติได้ ส่วนต้นพันธุ์อ้อย จะใช้ท่อนพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)

นายบุญญฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ทิศทางการผลิตอ้อยและน้ำตาลของกลุ่มวังขนาย กำหนดแผนงานพัฒนาจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตนำร่อง ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย พัฒนาการผลิตน้ำตาลให้มีคุณภาพ สนองความต้องการตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติ โดยจะทยอยการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกษตรกรในโควตาของกลุ่มวังขนาย ปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

การผลิตน้ำตาลธรรมชาติ จะพัฒนาให้เป็นมาตรฐานของกลุ่มวังขนาย โดยขยายพื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยในรูปแบบเกษตรชีวภาพออกไปให้ครบทั้ง 4 โรงงานน้ำตาลในเครือ ที่จังหวัดนครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี และจังหวัดมหาสารคาม ให้มีพื้นที่ปลูกอ้อยชีวภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่กับการลดปริมาณการใช้สารเคมีในแปลงปลูกอ้อยลงเช่นกัน

ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มน้ำตาลวังขนายกล่าวต่อว่า เบื้องต้น พื้นที่ปลูกอ้อยเกษตรชีวภาพนำร่องไปแล้ว ที่จังหวัดนครราชสีมาและลพบุรี จะต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะทำให้พื้นที่ปลูกและวัตถุดิบอ้อย บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปลอดจากสารเคมีปนเปื้อนทั้ง 100% ซึ่งจะทำให้น้ำตาลทรายที่ผลิตออกเป็นน้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ 100%

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในอนาคต ถือเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติรายแรกของโลกที่จะออกสู่ตลาด เพราะผลิตภัณฑ์น้ำตาลในตลาดโลก ปัจจุบันยังไม่มีกลุ่มผู้ผลิตจากประเทศใด มีโครงการผลิตน้ำตาลธรรมชาติระดับนี้

ส่วนตลาดรองรับผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ ปัจจุบันกระแสตลาดตอบรับสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในอนาคตกลุ่มวังขนายจะมีผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติทั้งแบบบริสุทธิ์ 100% และทั่วไป จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค โดยน้ำตาลธรรมชาติแบบบริสุทธิ์ ผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ที่ต้องการน้ำตาลคุณภาพ มีตลาดรองรับมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ล่าสุดกระแสตลาดตอบรับ หลังจากที่กลุ่มน้ำตาลวังขนาย ได้นำน้ำตาลธรรมชาติเกรดทั่วไป ออกจำหน่ายเมื่อปี 2546 แม้ในปีแรก สัดส่วนยอดขายน้ำตาลธรรมชาติ จะสามารถขายได้ประมาณ 10% ของยอดขายผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้งหมด แต่หลังจากนั้น ยอดขายขยายตัวอย่างรวดเร็ว ล่าสุดน้ำตาลธรรมชาติมีสัดส่วนยอดขายสูงถึง 50% เมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายขาวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลัก

สำหรับกลุ่มน้ำตาลวังขนาย ถือเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศ มีบริษัทในเครือที่เป็นโรงงานผลิตน้ำตาล 4 แห่ง เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อปี 2518 ตั้งบริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันมีกำลังผลิตน้ำตาล 15,453 ตันอ้อยต่อวัน ปัจจุบันได้ย้ายมาทำการผลิตที่จังหวัดมหาสารคาม

ปี 2527 ตั้งบริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีกำลังผลิตน้ำตาล 17,731 ตันอ้อยต่อวัน ปี 2530 ตั้งบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาล ที.เอ็น.จำกัด อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี มีกำลังผลิตน้ำตาล 18,000 ตันอ้อยต่อวัน และปี 2533 ตั้งบริษัท อุตสาหกรรมอ่างเวียน จำกัด ตั้งโรงงานที่อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลใหญ่ที่สุดในกลุ่มวังขนาย มีกำลังการผลิต 36,000 ตันอ้อยต่อวัน

โรงงานน้ำตาลทุกโรงของกลุ่มได้พัฒนาเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายย่อย โดยใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำใช้ภายในโรงงาน และนำกระแสไฟฟ้าที่เหลือ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

นอกจากการผลิตน้ำตาลแล้ว กลุ่มวังขนายได้ขยายกิจการไปยังธุรกิจประเภทอื่น ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตาลโดยตรงและทางอ้อม และธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลอีกหลายบริษัทต้องนำระบบจัดการเกษตรชีวภาพมาปรับใช้กับแปลงเพาะปลูกอ้อย เพื่อให้วัตถุดิบอ้อย ลดการปนเปื้อนสารเคมีลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us