Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม ความไม่ชัดเจนอของกฎหมายที่ต้องชี้ขาดด้วย 'คดีความ'             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 

 
Charts & Figures

รายชื่อหนังสือแปล แอทธา คริสตีที่ถูกริบเป็นของกลาง


   
search resources

Printing & Publishing
Law




บุคคลที่เวียนว่ายวุ่นวายอยู่ในแวดวงวรรณกรรม มักจะเป็นผู้ที่มีความรู้เป็นทุนเดิม เพราะอย่างน้อยก็อยู่ท่ามกลางแหล่งความรู้ที่มีอยู่ไม่จำกัด

การตื่นตัวต้อนรับกฎหมายลิขสิทธิ์ในส่วนของงานวรรณกรรม ซึ่งหมายถึง งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือจุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และรวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย จึงมีให้เห็นอย่างคึกคัก

สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทั้งก่อนและหลังที่กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประกาศใช้ มีทั้งการที่บริษัทสำนักพิมพ์ เริ่มมองหาและซื้อหาลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องก่อนจะนำออกวางจำหน่ายการแย่งชิง เพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์ค่ายใหญ่ ๆ หรือนักเขียนมีชื่อในต่างประเทศ

มีแม้กกระทั่งการเกิดบริษัทตัวกลาง เพื่อทำหน้าที่นายหน้าติดต่อซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือให้กับสำนักพิมพ์ที่ต้องการซื้องานวรรณกรรมของสำนักพิมพ์ในต่างประเทศมาแปล แล้วพิมพ์จำหน่าย ซึ่งถือเป็นธรุกิจใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังมีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับล่าสุด

ภายหลังจากที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่เกิดขึ้นทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์ ก็คงจะมองกันว่าปัญหาต่าง ๆ คงจะคลี่คลายได้ตามข้อความที่กำหมายกำหนด

แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น ซ้ำร้ายปัญหาที่เกิดขึ้นถือเป็นคดีตุ๊กตาที่ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องมานั่งทบทวนกฎหมายกันอย่างหนัก เพื่อตอบคำถามของปัญหาที่มีขึ้นให้ได้ พร้อม ๆ กันไปกับผู้เกี่ยวกับข้องกับคดี ที่คงจะถือเป็นคดีตัวอย่างให้กับงานลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมได้อย่างดี

คดีที่เกิดขึ้น เป็นคดีแรกที่มีการฟ้องร้องตามอำนาจกฎหมาย หลังจากกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับล่าสุดประกาศใช้

'คดีความ' ดังกล่าว คือเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสร้างสรรค์-วิชาการ จำกัด กับต่อศักดิ์ กาญจนสุภัคร์ จากสำนักพิมพ์เรือสำปั้นซึ่งอ้างต่อประสิทธิ์ว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิในการพิมพ์ผลงานของแอกาธา คริสตี จากต่างประเทศอย่างถูกต้อง โดยสั่งให้ประสิทธิ์ระงับการพิมพ์และวางจำหน่ายหนังสือของแอกาธา คริสตี ทั้งหมด

พร้อมกับดำเนินการฟ้องร้องประสิทธิ์ ใน 2 ข้อหาหลังจากนำตรวจเข้ายึดของกลาง คือหนังสือแปลของแอกาธา คริสตี ที่ประสิทธิ์แปลไว้ จำนวน 28 เรื่อง รวม 4,727 เล่ม เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539 และเรียกค่าเสียหายสูงถึง 35 ล้านบาท

ข้อหาแรกที่ทางสำนักพิมพ์เรือสำปั้นยื่นฟ้องประสิทธิ์ คือ หนึ่ง-ละเมิด "เค้าโครงเรื่อง" และ "เนื้อเรื่อง" ของแอกาธา คริสตี แม้ว่าผู้แปลมีลิขสิทธิ์ในสำนวนแปล แต่มิได้มีลิขสิทธิ์ในเค้าโครงเรื่อง และ

สอง - มีหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์ไว้เพื่อจำหน่าย ในขณะที่ฝ่ายประสิทธิ์ ยืนยันว่าจะสู้คดีจนถึงที่สุด โดยครั้งแรกมีแรงจูงใจมาจากการไม่ยอมรับในพฤติกรรมและเงื่อนไขของฝ่ายตรงข้ามในการทักท้วงสิทธิ์

แต่ภายหลังได้ไตร่ตรองพร้อมกับศึกษาตีความกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์ที่เคยมีมาทั้งหมดในช่วงที่หนังสือของตนพิมพ์จำหน่าย รวมทั้งกฎหมายฉบับล่าสุด แล้วเชื่อว่าการกระทำของตนถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน และยังชี้ให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของกฎหมายลิขสิทธิ์ ที่มีอยู่ด้วย

โดยประสิทธิ์ อ้างถึง กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรก พ.ศ. 2521 ซึ่งออกกฎหมายให้ผู้แปล งานวรรณกรรมของต่างประเทศต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของในต่างประเทศ

แต่ในช่วงที่กฎหมายนี้บังคับใช้ ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศเมื่อ พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ให้คนไทยโดยเฉพาะ โดยมีสาระสำคัญอยู่ว่างานวรรณกรรมชิ้นใด ถ้าไม่มีผู้นำมาแปลในประเทศไทยนานเกิน 10 ปี สามารถนำงานลิขสิทธิ์ชิ้นนั้นมาแปลได้ โดยไม่ถือว่าผิดกฎหมาย และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ทั้งนี้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ได้ถูกประกาศให้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยให้ผู้แปลงานวรรณกรรมต้องกลับมาขอลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องดังเดิม ซึ่งแน่นอน กฎหมายใดก็ตามไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

ประสิทธิ์ จึงเชื่อว่า การแปลผลงานของแอกาธา คริสตี ในช่วงที่ตนแปลและพิมพ์จำหน่าย จึงไม่ถือว่าผิดกฎหมายและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ดี การตีความของประสิทธิ์จะถูกต้องหรือไม่คงจะต้องรอให้เป็นเรื่องชี้ขาดของศาล ซึ่งหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานวรรณกรรมกำลังเฝ้าจับตารอผลการตัดสินอย่างใจจดใจจ่อ

เพราะผลของการตัดสินใจในครั้งนี้ จะส่งผลอย่างชัดเจนต่อคนสองฝ่าย คือ หนึ่ง หากประสิทธิ์ชนะ กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยตรงคือผู้เป็นเจ้าของงานแปลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2536 จะออกมาประกาศยกเลิกการใช้พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2526 ที่อาจจะสามารถนำผลงานกลับมาพิมพ์ซ้ำเพื่อจำหน่ายต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์

แต่ถ้าผลออกมาประสิทธิ์เป็นฝ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินค่าเสียหาย 35 ล้านบาท แล้วละก็ กลุ่มที่ได้ประโยชน์ก็คงจะเป็นบรรดาสำนักพิมพ์ที่เล็งผลไกล ด้วยการทุ่มเงินกว้านซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาไว้ในครอบครอง เพื่อกันไม่ให้บุคคลหรือสำนักพิมพ์อื่นได้รับสิทธิ์ในการพิมพ์ไปก่อนตน

ก่อนที่คดีความจะมีความตัดสินใจชั้นศาล เพื่อได้ผลรับเป็นวิทยาทานแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งคนไทย ที่ควรรู้จักกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ถ่องแท้เพื่อการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์นี้แล้ว

ประสิทธิ์ ยังได้ตั้งคำถาม ที่รอคำตอบจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ช่วยชี้ชัดด้วยว่า ที่รอคำตอบจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ช่วยชี้ชัดด้วยว่า อะไรคือวิธีที่ถูกต้องสำหรับงานแปลในช่วงที่พระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2526 มีผลบังคับใช้ได้แก่

1. ในกรณีที่หนังสือที่แปลแล้ว มีการจำหน่ายแล้วและเหลือ จะสามารถนำมาจำหน่าย อีกได้หรือไม่ หลังจากที่กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้

2. ในกรณีที่เป็นงานแปลในช่วงดังกล่าว จะสามารถนำสำนวนแปลเดิมกลับมาพิมพ์ซ้ำ
เพื่อจำหน่ายอีกได้หรือไม่ โดยไม่ต้องขอลิขสิทธิ์

คำถามแรก ปัจฉิมา ธนสันติ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการป้องกันการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา ยืนยันว่ากรณีแรกสำนักพิมพ์เจ้าของงานแปลสามารถจัดจำหน่ายต่อไปได้ เนื่องจากได้กระทำขณะที่ยังไม่มีการละเมิด เพราะถูกต้องตามกฎหมายว่า ไม่ถือว่าหนังสือที่เหลือแล้ววางขายนั้นเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

แต่กรณีที่สอง ปัจฉิมา กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะมีความเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าแม้จะเป็นงานที่ทำถูกต้องกฎหมายเก่า แต่เมื่อประกาศใช้กฎหมายใหม่แล้ว การนำมางานพิมพ์ใหม่ต้องขออนุญาติจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ในเมื่องานเสร็จสมบูรณ์ในตัวแล้ว เมื่อจะนำกลับมาพิมพ์ใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องขอลิขสิทธิ์อีก

เรื่องนี้จึงต้องรอคำตอบจากกรมทรัพย์สินทาปัญญาว่าจะมีวิธีใดที่สรุป และทำให้ กฎหมายเข้าใจได้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่

ผลของกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับล่าสุด ยังส่งผลกระทบต่องานวรรณกรรม กับกลุ่มนักแปลที่ยังปรับตัวไม่ทัน หรืออาจจะยังไม่ยอมรับในกฎหมายที่ทำให้ความคุ้นเคยในการทำงานแบบเดิม กับงานที่ต้องมีธุรกิจที่อาศัยกฎหมายมาเป็นเครื่องมือเข้ามาพัวพัน

ผลจากการที่ลิขสิทธิ์งานแปลหนังสือดี ๆ และหนังสือที่ขายดี ต้องตกอยู่กับสำนักพิมพ์ใหญ่ที่มีอำนาจซื้อสูงกว่าตัวผู้สร้างสรรค์งานแปล รวมทั้งข้อบังคับของกฎหมายที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ทำให้ค่าตอบแทนของผู้แปลต้องถูกทอนให้ลดลงเพื่อแบ่งส่วนหนึ่งให้เป็นค่าลิขสิทธิ์

เดิมผู้แปลจะได้ 10% ของราคาจำหน่าย แต่ปัจจุบันครึ่งหนึ่งต้องแบ่งให้กับค่าลิขสิทธิ์ และแม้บางสำนักพิมพ์จะเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 15% แต่เมื่อต้องแบ่งครึ่งหนึ่งออกไป ทำให้ผู้แปลก็ได้ค่าตอบแทนไม่เท่าเดิมอยู่ดี ส่วนนี้ก็ทำให้นักแปลบางส่วนไม่อยากสร้างสรรค์งานขึ้นมา ซึ่งจะ ส่งผลต่อการเผยแพร่งานวรรณกรรมอีกต่อหนึ่ง

แต่ทั้งนี้ นักแปลควรจะนึกไว้ว่า อย่างน้อยก็ควรภูมิใจที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง หรืออีกกรณี นักแปลบางกลุ่ม ซึ่งเป็นนักแปลงที่มีชื่อเสียงไม่คุ้นเคยกับระบบที่สำนักพิมพ์มอบหมายให้แปล แต่พอใจที่จะเป็นผู้เลือกเรื่องที่จะแปลเองมากกว่า แต่อาจจะทำไม่ได้ดังเดิม เพราะผลงานที่ชอบอาจเป็นผลงานที่ตนไม่สามารถเอาลิขสิทธิ์มาครอบครองได้

สิ่งเหล่านี้ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกฎหมายแต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนหวังว่า สักวัน หนึ่งเวลาจะช่วยประสานความกลมกลืนและความคุ้นเคยกับระบบใหม่นี้ได้ดี

อีกสิ่งหนึ่ง ที่ถือเป็นสิ่งใหม่ซึ่งเป็นผลมาจากการประกาศใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับล่าสุด คือ การเกิดบริษัทตัวกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นนายหน้าติดต่อซื้อขายลิขสิทธิ์ระหว่างสำนักพิมพ์ไทยและสำนักพิมพ์ต่างประเทศ ที่มีอยู่ถึง 3 บริษัทแล้ว ในขณะนี้

บริษัทแรก เป็นการแตกหน่อมาจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คือ บริษัท เทอทิล-มอริ เป็นการร่วมทุนระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535

บริษัทที่สอง ซึ่งถือเป็นบริษัทแรกของคนไทย คือ บริษัทซิลค์โรค พับบลิเซอร์ เอเยนซี ดำเนินงานโดยงามพรรณเวชชาชีวะ ผู้คลุกคลีอยู่ในวงการแปลมาเกือบ 10 ปี และ สามห้างหุ้นส่วนจำกัด วัฒนรัชวรรณศิลป์ มี พรวิภา วัฒรัชนากูล เป็นผู้จัดการ

การมีบริษัทตตัวกลางในการติดต่อซื้อลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมจากต่างประเทศ เป็นภาพพจน์หนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยดูพัฒนาในเรื่องนี้ และทำให้ต่างประเทศยอมรับว่าประเทศไทย
มีระบบการค้าที่ได้มาตรฐานถูกต้อง

โดยการดำเนินงานของบริษัทตัวกลาง เมื่อมีการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์เรียบร้อย บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการติดต่อให้ทั้งหมด แต่กรณีที่การเจรจาซื้อขายไม่สำเร็จ สำนักพิมพ์ในไทยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โดยบริษัทตัวกลางจะคิดค่าบริการ 10-15% ของมูลค่าการซื้อขาย

ปัญหาที่พบจะมีในส่วนของบริษัทซื้อขาย ก็คือ เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในประเทศไทย ทำให้ยังไม่มีมาตรการใดสำหรับการป้องกันกรณีการเล่นเล่ห์เพื่อโกงราคาค่าลิขสิทธิ์ ในกรณีที่มีผู้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมชิ้นเดียวกันเข้ามาเกินหนึ่งราย หรือมีการเสนอให้ ผู้ซื้อมากกว่าหนึ่งราย

ในประเด็นนี้ แม้แต่ผู้ประกอบการธุรกิจนี้เอง ยังยอมรับว่า ปัจจุบันเนื่องจากไม่มีการควบคุมจรรยาบรรณของบริษัทจะรอให้เกิดปัญหาใหญ่ถึงขั้นฟ้องร้องเหมือนคดีของประสิทธิ์ทางที่ ดีควรหาแนวทางป้องกันเสียแต่บัดนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us