|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กฤษฎีกาตีความเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ ระบุกทช.มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ อิงตามมาตรฐานสากล ITU ในขณะที่การจัดทำแผนคลื่นความถี่แห่งชาติจำเป็นต้องรอคณะกรรมการร่วมระหว่างกทช.กับกสช. ด้านประธานกทช.ชี้รอเอกชนยื่นขอความถี่ จึงจะนำเรื่องเข้าถกในที่ประชุมกทช. หลังเสียงส่วนใหญ่กทช.เห็นตรงกันว่าจัดสรรความถี่ได้ ด้านโอเปอเรเตอร์มือถือขยับรับลูกเตรียมยื่นขอความถี่ หลังไทยถูกเขมรแซงหน้าเรื่อง 3G ไปแล้ว
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ ได้คลี่คลายลงในระดับหนึ่งแล้ว หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งความเห็นตามที่สำนักงานกทช.ร้องถามในประเด็นอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ว่ากทช.สามารถจัดสรรได้หรือไม่ ในขณะที่ไม่มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งกทช.เสียงส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กทช.สามารถจัดสรรคลื่นความถี่และอนุมัติคลื่นความถี่เกี่ยวกับด้านโทรคมนาคม และเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ตามมาตรฐานสากลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้
แต่ในเมื่อกทช.ยังไม่มีความเห็นเป็นไปตามแนวทางเดียวกันทั้งหมด ก็จำเป็นต้องรอให้มีผู้ประกอบการยื่นเรื่องขอจัดสรรความถี่เข้ามาที่กทช. หลังจากนั้นบอร์ดกทช.ทั้ง 7 คนจะนำเรื่องดังกล่าวประกอบกับการตีความของกฤษฎีกา เข้าหารือในที่ประชุม เพื่อให้ได้ข้อสรุปชัดเจนว่ากทช.จะสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้หรือไม่
“หากมีเอกชนยื่นขอความถี่เข้ามา เราจะได้พิจารณาโดยอิงตามความเห็นของกฤษฎีกา ซึ่งหากกทช.จัดสรรความถี่ได้ ก็จะทำให้อุตสาหกรรมเดินหน้าต่อไปได้”
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกล่าวว่า หากพิจารณาตามการตีความของกฤษฎีกา กทช.ก็สามารถจัดสรรความถี่ได้แล้ว ขึ้นอยู่กทช.จะกล้าหรือไม่เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาบางเรื่องกทช.เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบหมด เหลือกทช.คนเดียวโวยวายขึ้นมา ก็ไม่กล้าทำอะไรแล้ว ซึ่งในส่วนของเอกชนก็เตรียมยื่นเรื่องขอความถี่เข้าไปยังสำนักงานกทช. เพื่อให้ทุกอย่างกระจ่าง
“ตอนนี้ไทยล้าหลังกว่าเขมรแล้ว เพราะเขมรเริ่มทำ 3G ในเมื่อกทช.มีความเห็นกฤษฎีกาอยู่แล้ว ก็น่าจะจัดสรรความถี่ได้โดยเฉพาะความถี่ 3G หรือไว-แมกซ์”
ทั้งนี้กฤษฎีกาได้ข้อวินิจฉัยกลับมาที่กทช.ตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ตามที่กทช.ถามไป 3 ประเด็นคือ ประเด็นที่1ในขณะที่ยังไม่มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ยังไม่มีการจัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ และยังมิได้กำหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคม โดยคณะกรรมการร่วม หากกทช.มีความจำเป็นที่จะต้องจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อกิจการวิทยุโทรคมนาคมจะกระทำได้หรือไม่และอาศัยบทบัญญัติใด
กฤษฎีกามีความเห็นว่าการจัดสรรคลื่นความถี่มี 2 นัยคือการจัดสรรคลื่นความถี่ ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการร่วม และอีกนัยหนึ่งคือการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการที่กทช.หรือกสช.รับผิดชอบ ซึ่งการที่กทช.จะอนุญาตหรือจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม กทช.จะต้องจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนแม่บทความถี่วิทยุ ตามมาตรา 51 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาอนุญาตหรือจัดสรรคลื่นความถี่ก่อน
แต่ข้อเท็จจริงปัจจุบันในเมื่อยังไม่มีแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติเพราะยังไม่มีกสช. ก็มิได้หมายความว่ากทช.ไม่สามารถกำหนดแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุและดำเนินการใดๆในกิจการโทรคมนาคมที่รับผิดชอบตามมาตรา 51 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่
ดังนั้นกทช.สามารถจัดทำแผนดังกล่าวได้ หากเป็นไปโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเป็นไปตามข้อบังคับ ITU อันเป็นหลักการเดียวกับที่คณะกรรมการร่วมจะนำมาจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุ ก็สามารถนำมาเป็นหลักการในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 51 ได้ต่อไป
ประเด็นที่ 2 กทช.หารือว่าตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งชาติที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดทำไว้เดิมและคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ให้ความเห็นชอบซึ่งมีผลใช้บังคับตามกฎหมายเดิมก่อนที่จะมีคณะกรรมการร่วม ซึ่งอ้างอิงแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของ ITU สามารถนำมาใช้บังคับต่อไปได้หรือไม่
กฤษฎีกาวินิจฉัยว่าตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งชาติที่กรมไปรษณีย์โทรเลขจัดทำไว้เดิม ไม่สามารถใช้บังคับต่อไปได้ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่กำหนดให้คณะกรรมการร่วมเป็นผู้จัดทำ และนอกจากนี้ตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งชาติเดิมไม่มีความเหมาะสมและไม่เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการจัดทำตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งชาติจะต้องกำหนดให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกับมาตรฐานสากลของ ITU ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากตารางเดิมที่กรมไปรษณีย์โทรเลขทำไว้
แต่อย่างไรก็ดีระหว่างที่ยังไม่มีตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ในการปฏิบัติก็อาจนำตารางกำหนดกำหนดความถี่วิทยุแห่งข้อบังคับวิทยุของ ITU มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานเบื้องต้นกับกิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปพลางก่อนได้
ประเด็นที่ 3 กทช.หารือว่าคลื่นความถี่วิทยุที่ได้จัดสรรไว้เพื่อกิจการวิทยุโทรคมนาคมเป็นหลัก โดยให้ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นลำดับรอง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลระหว่างประเทศชัดเจนนั้น กทช.จะสามารถจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุดังกล่าวได้หรือไม่
กฤษฎีกาได้ตอบในประเด็นนี้ว่าเมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้อีก
|
|
|
|
|