|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผู้ว่า กทม. จับทางนักท่องเที่ยวไทย-เทศ ตื่นเทรนด์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เร่งทำแผนยุทธศาตร์ 4 ปี ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเก่า เปิดรูทท่องเที่ยว ดึงดูดความสนใจ ชูเกาะรัตนโกสินทร์ มรดกแห่งศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาตร์ ,สุขุมวิท แหล่งชอปปิ้ง และ ย่านฝั่งธนเป็นวิถีชีวิตชุมชน-ท่องเที่ยวเชิงเกษตร พร้อมจัด 10 เส้นทางปั่นจักรยาน เกาะกระแสภาวะน้ำมันแพง พร้อมทำโบว์ชัวร์ภาษา จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น ออกแจกจ่าย หวังให้นักท่องเที่ยวพัก กทม.นานวันขึ้น และใช้จ่ายมากขึ้น ตั้งเป้าต่อปีอัดงบด้านท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 300-400 ล้านบาท
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมและบูรณาการด้านการท่องเที่ยว ระยะเวลา 4 ปี (2549-2552)โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อให้คนกรุงเทพเดินทางท่องเที่ยวได้บ่อยขึ้น แม้ในภาวะน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง รวมถึงเกิดการจับจ่ายระหว่างการท่องเที่ยว ส่วนในกลุ่มชาวต่างชาติ และผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดก็ให้มีวันพักอยู่ในกทม.ได้นานวันขึ้น
ซึ่งในรายละเอียด ได้จัดทำแผนปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวเก่า และจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อมานำเสนอให้แก่คนกรุงเทพ และคนไทยทั่วประเทศที่สนใจจะเข้ามาท่องเที่ยวในกทม.โดยสิ่งที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว คือการจัดทำ 10 เส้นท่องเที่ยวด้วยรถจักรยาน เปิดแนวทางท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ที่ประหยัดพลังงานและยังได้ออกกำลังโดยพิมพ์เป็นโบว์ชัวร์ 10 เส้นทางท่องเที่ยวด้วยรถจักรยาน แจกจ่ายฟรีให้แก่ผู้สนใจ ขอรับได้ที่ ศาลาว่าการกทม. , กองการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ ซุ้มบริการนักท่องเที่ยวของกทม. ทุกแห่ง
นอกจากนั้นยังได้มีการลงพื้นที่สำรวจคลองต่างๆที่อยู่ในเขตกรุงเทพ หาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพื่อจัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวิถีชีวิตชุมชน ตอบรับเทรนด์ การเดินทางท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่สำรวจแล้วได้แก่ ย่านฝั่งธนบุรี ตลิ่งชัน จะมีคลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ ซึ่งตรงนี้จะมีสวนผลไม้และสวนผักจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีเส้นทางคลองในย่านอื่นๆ เช่น คลองภาษีเจริญ หรือย่านจอมทอง และบางขุนเทียน เป็นต้น
“กลยุทธ์ของกทม. จะร่วมมือกับหน่วยงานและคนในพื้นที่ ทำการบูรณาการแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว ให้ดีขึ้นและรู้จักแก่นักท่องเที่ยวในวงกว้าง นอกจากนั้นในภาวะเศรษฐกิจรัดตัวผู้คนก็มีความเครียดอยู่แล้ว ดังนั้น หากสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก ก็จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ ”
**ชูกทม.เมืองประวัติศาสตร์-วิถีชีวิตชุมชน**
นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่ง ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม แหล่งชอปปิ้ง บันเทิง และไนท์ไลฟ์ ล่าสุดเตรียมเพิ่มรถบัส 2 ชั้น อีก 1-2 คันในสิ้นปีนี้ เพื่อสำหรับบริการนักท่องเที่ยวนั่งชมเมืองรอบเกาะรัตนโกสินทร์ในเวลากลางคืน ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการอยู่แล้ว 4 คัน
โดยในแผนปฎิบัติการทั้งหมด ได้เตรียมแบ่งโซนเรื่องท่องเที่ยวของกรุงเทพไว้ 3-4 โซน เพื่อจัดทำเป็นรูทท่องเที่ยว ได้แก่ โซนสุขุมวิท ตั้งแต่ ดิเอ็มโพเรียม มาจนถึง ศูนย์การค้า เอ็มบีเค(มาบุญครอง) และย่านประตูน้ำ จะเป็นรูทชอปปิ้ง , ช่วงถนนข้าวสาร และบริเวณโดยรอบ ทำรูทท่องเที่ยวจับกลุ่มแบคแพก หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตัวเอง ซึ่งกลุ่มนี้นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ปัจจุบันเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีกำลังซื้อ แต่ชอบใช้ชีวิตแบบไลฟ์สไตล์ เดินทางเพื่อศึกษาและค้นคว้าด้วยตัวเอง
สำหรับย่านฝั่งธนบุรี และบางขุนเทียน จะจัดทำเป็นรูท ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และวิถีชีวิตชุมชน เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งการท่องเที่ยวในแนวนี้กำลังเป็นที่นิยมและสนใจของทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย และต่างชาติ
ล่าสุดเพื่อตอกย้ำความเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ กทม.ได้ร่วมกับมูลนิธิ 14 ตุลา เตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงทัศนะศึกษา สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของประเทศไทย กลุ่มเป้าหมาย จะมีทั้ง นักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา โดยจะจัดสร้างบริเวณสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์จริงๆ ใช้งบประมาณรวม 50 ล้านบาท แล้วเสร็จ เดือนกรกฎาคม 2550
“นอกจากจะทำกรุงเทพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายแล้ว ในส่วนของกิจกรรมงานประเพณี เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง และ อื่นๆ เราก็จะสนับสนุนจัดให้มีต่อเนื่องในทุกๆปี ซึ่ง กทม.ใช้งบประมาณการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยว และงบสำหรับพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเก่า รวมแล้วประมาณ 300-400 ล้านบาท ต่อปี “
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมปรับปรุงซุ้มบริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดจะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า โดย ซุ้มบริการนักท่องเที่ยวของ กทม. จะให้บริการข้อมูลและคำแนะนำ แก่นักท่องเที่ยว ในทุกเรื่อง โดยมีการเตรียมฝึกเจ้าหน้าที่ประจำซุ้ม ให้พูดได้อย่างน้อย 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น พร้อมทั้งทำโบว์ชัวร์ อย่างน้อย 3 ภาษา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพ โดยจะนำไปวางไว้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ บริเวณช่องผู้โดยสารขาเข้าในประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อขอพื้นที่ตั้งโบว์ชัวร์ดังกล่าว
|
|
 |
|
|