Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 สิงหาคม 2549
หุ้นธุรกิจบันเทิงผลประกอบการผงาดเริงร่าทำกำไรเรียงแถวขยายการลงทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โฮมเพจ อาร์.เอส. โปรโมชั่น
โฮมเพจ บีอีซี เวิลด์

   
search resources

บีอีซี เวิลด์, บมจ.
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
อาร์เอส, บมจ.
Entertainment and Leisure




ไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเวลาบันเทิงของหุ้นกลุ่มบันเทิงหลังอุตสาหกรรมนี้ฟื้นตัวดีขึ้น ด้วยการผลประกอบการที่โตเกินคาดทำกำไรเรียงแถวแซงหน้าภาพรวมตลาด นักวิเคราะห์คาดสัญญาณการฟื้นตัวยังดีต่อเนื่อง คาดว่าภาคธุรกิจบันเทิงจะขยายการลงทุนเพิ่ม ส่งผลให้ไตรมาส3-4 ผลประกอบการยังดีต่อเนื่อง ผนวกกับเป็นช่วงที่หลายธุรกิจเริ่มใช้จ่ายค่างบโฆษณา ยิ่งเป็นแรงผลักให้หุ้นกลุ่มกลุ่มบันเทิงโต

จากรายงานผลประกอบการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่าหุ้นกลุ่มบันเทิงสามารถขยายตัวได้อยู่ราว 33% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้หุ้นกลุ่มบันเทิงยังมีระดับค่าพีอีที่สูงถึง 18 เท่า ในขณะที่ภาพรวมของตลาดมีค่าพีอีเฉลี่ยเพียง 9 เท่า

ผลประกอบการที่ปรากฏพบว่า บมจ.บีอีซีเวิลด์ มีการเติบโตของกำไรที่น่าประทับใจมากสุด คือ มีกำไรสุทธิในไตรมาสที่ 2 จำนวน 464.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102.92% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 229.13 ล้านบาท และเมื่อดูผลประกอบการในงวด 6 เดือนแรกปีนี้แล้ว พบว่ามีกำไรสุทธิ 901.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135.72% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

ฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน บีอีซี เวิลด์ กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เป็นผลจากบริษัทมีรายได้จากการขายโฆษณาที่ปรับพื้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ทำให้ บีอีซี เวิลด์ มีอัตราการใช้นาทีโฆษณาเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมากในขณะที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเริ่มอยู่ตัวไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้กลุ่มบีอีซีเวิลด์ อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้น

ด้านต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายโดยรวม เริ่มอยู่ตัวและไม่ปรับเพิ่มขึ้นมากอย่างปีก่อน หลังจากที่การขยายงานของกลุ่มเสร็จสิ้นกลับสู่ภาวะปกติ ต้นทุนการจัดคอนเสิร์ตและโชว์ได้ลดต่ำลงมามากเนื่องจากไม่ได้รวมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดการแสดงในต่างประเทศของธีมสตาร์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพจากบริษัทย่อยไปเป็นบริษัทร่วมตั้งแต่ช่วงท้ายของปีก่อนแม้เมื่อเปรียบเทียบในฐานเดียวกันก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามสภาวะเงินเฟ้อเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ยังมี อาร์.เอส.ที่มีผลประกอบการดีขึ้นอย่างมากไตรมาสที่ 2 มีรายได้ 757.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีกำไรสุทธิ 35.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลประกอยการในช่วง 6 เดือนของปีนี้ มีรายได้รวม 1,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 43 ล้านบาท

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ. อาร์.เอส. กล่าวว่าสาเหตุที่รายได้และกำไรของอาร์เอสเพิ่มขึ้นมาจาก 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ รายได้จากค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 30.3% โดยเฉพาะมาจากสื่อวิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ 2.รายได้จากค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น 49.7% จากธุรกิจดาวน์โหลดและภาพยนตร์ 3.รายได้ภาพยนตร์เพิ่มขึ้น 25.5 ล้านบาท จากการฉายภาพยนตร์ 2 เรื่อง ได้แก่ รักจังและไทยถีบและ 4.รายได้จากการรับจ้างผลิตเพิ่มขึ้น 31.8%

สำหรับภาพรวมของแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงตอกย้ำโมเดลธุรกิจใหม่ ในการเป็นผู้นำทางด้าน Entertainment Content Provider ด้วยการนำคอนเทนต์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเพลง ละคร ภาพยนตร์ รายการทีวี วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อีเว้นต์มาร์เก็ตติ้ง ฯลฯ มาต่อยอดธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ถือเป็นการบริหารสินทรัพย์ทำรายได้ 360 องศารอบตัว

"คาดว่ารายได้รวมในปีนี้จะยังเป็นไปตามป้าหมาย คือ อยู่ที่ 3,200-3,300 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 25% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 2.7 พันล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนรายได้มาจาก ธุรกิจเพลงหรือคอนเทนต์ 45% ธุรกิจสื่อ ได้แก่ ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ 45% และธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ รับจ้างผลิต รับจ้างจัดงานอีก 10% แม้จะมีปัจจัยลบหลายอย่าง โดยเฉพาะความไม่ชัดเจนทางด้านการเมืองก็ตาม"

นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 อาร์.เอส.จะมีการล้างงขาดทุนสะสมด้วยการใช้เงินทุนสำรองและส่วนเกินมูลค่าหุ้นบางส่วน เพื่อที่จะนำกำไรที่เกิดขึ้นจาก หลังจากนั้นมาพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอีกด้วย

ส่วน แกรมมี่ ซึ่งผลประกอบการไตรมาสแรกมีกำไรเพียง 500,000 บาทเท่านั้น ไตรมาสนี้ก็มีผลประกอบการที่กระเตื้องขึ้นโดยรายได้รวมของไตรมาส 2 มีจำนวน 1,694.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับรายได้รวมของไตรมาสก่อนหน้า และมีกำไรของไตรมาส 98.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 97.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรของไตรมาสก่อนหน้า ส่วนรายได้งวด 6 เดือนรวม 3,132.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% คิดเป็นจำนวนเงิน 295.7 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่กำไรงวด 6 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวน 98.6 ล้านบาท ลดลง 21% จากระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 125.3 ล้านบาท

สุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า รายได้จากธุรกิจเพลงใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัทปรับแผนการตลาดและปรับปรุงแนวเพลงเพื่อรองรับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภค ถึงแม้จะมีวิกฤติทางการเมืองตลอดระยะเวลาครึ่งปีแรก ส่วนธุรกิจภาพยนตร์มีรายได้ลดลง เนื่องจากในครึ่งปีแรกการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไปต่างประเทศลดลง ขณะที่ภาพยนตร์ใหม่ที่ออกฉายมีเพียง 1 เรื่อง เช่นเดียวกับปี 2548 แต่มีอัตรากำไรที่ต่ำกว่า มีผลทำให้กำไรของธุรกิจภาพยนตร์ลดลงจากปีก่อน 24 ล้านบาท

ส่วนรายได้ธุรกิจวิทยุงวด 6 เดือนแรกปีนี้ ลดลงร้อยละ 29 เป็นผลมาจากสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจวิทยุที่รุนแรง ขณะที่ต้นทุนค่าเช่าสถานีซึ่งเป็นต้นทุนคงที่อยู่ในอัตราสูง มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อการขยายตัวของรายได้และกำไร อีกทั้งกลุ่มบริษัทได้ขยายคลื่นวิทยุประเภทสถานีข่าวเพิ่มอีก 1 คลื่น ซึ่งอยู่ในช่วงการดำเนินการ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในช่วงเริ่มต้น จึงมีผลทำให้กำไรของธุรกิจวิทยุโดยรวมลดลง

สำหรับรายได้ธุรกิจวิทยุไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เพิ่มจากไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ร้อยละ 19 เนื่องจากบริษัทปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจวิทยุ โดยลดหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และได้คืนสัมปทานคลื่นวิทยุจำนวน 2 คลื่น รวมทั้งปรับคลื่นสถานีข่าวเพื่อเป็นคลื่นบันเทิง

ขณะที่งบของ มีเดีย ออฟ มีเดยส์ ก็แสดงผลกำไรเช่นกันในรอบ 3 ปีหลังปรับโครงสร้างธุรกิจ ครึ่งปีแรกบริษัทฯมีกำไรสุทธิ 85.25 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่า 62.44%

ชาลอต โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. มีเดีย ออฟ มีเดียส์ กล่าวว่า กำไรที่เกิดขึ้นนั้น มาจากการที่บริษัทฯให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนในด้านต่างๆลง เช่น มีการเปลี่ยนสัมปทานจากลาวไปเขมรแทน โดยสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อเดือน รวมไปถึงการปรับการผลิตรายการที-ชันแนล จาก 12 ชั่วโมง รัน 2 รอบ มาเป็นเป็น 8 ชั่วโมง รัน 3 รอบใน 1 วันแทน ส่งผลให้ในไตรมาสสอง บริษัทฯมีกำไรเพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 42.9 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทฯจะมีการเพิ่มรายการอีกประมาณ 10 รายการ ซึ่งจะป้อนให้กับช่อง 7 เท่านั้น โดยรายการใหม่ที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือได้ว่าใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา 9 รายการ แต่คาดว่าปีนี้รายการทุกรายการที่เสนอไปจะทำกำไรให้ทุกรายการ โดยคาดว่าทั้งปีบริษัทฯจะมีรายได้ตามที่ประมาณการณ์ไว้ หรือไม่ต่ำกว่า 62% ของครึ่งปีแรกออย่างแน่นอน

สำหรับ เมเจอร์ ซีนีเพลกซ์กรุ๊ป รายงานผลประกอบการในไตรมาส 2 ปีนี้ว่า มีกำไรสุทธิ 243.22 ล้านบาท หรือ 0.33 บาทต่อหุ้น ดีขึ้นจาก 116.92 ล้านบาท หรือ 0.16 บาทต่อหุ้น ส่วนครึ่งแรกปีนี้ กำไรสุทธิรวม 389.41 ล้านบาท หรือ 0.53 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นถึง 57% เนื่องจากรายได้รวมเพิ่มขึ้น 17% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ในทุกๆ หน่วยธุรกิจ และมีกำไรจากการขายหุ้น บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์

นักวิเคราะห์จาก บล.เคจีไอ กล่าวว่า รายได้จากการฉายภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เป็นเพราะไตรมาสก่อนหน้านี้มีรายได้ที่อยู่ระดับต่ำ โดยรายได้จะเพิ่มขึ้น 70% เมื่อเทียบต่อต่อไตรมาส หรือ 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และที่น่าสนใจคือ โดยปกติไตรมาสสองจะมีหนังฝรั่งฟอร์มใหญ่เข้ามาและหนังไทยมักไม่ได้รับความสนใจนัก แต่ในไตรมาส 2/49 นี้แตกต่างกันเนื่องจากมีหนังไทยอย่าง ก้านกล้วย และโหน่ง-เท่ง ติดอยู่ใน 5 อันดับหนึ่งที่ทำเงินสูงสุดด้วย ซึ่งจะเข้ามาทำให้ยอดรายได้จากหนังไทยจะขยับขึ้นมาเป็น 40% จากระดับเพียง 20% กว่าๆ ในช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้านั้น และการตอบรับที่ดีขึ้นต่อหนังไทยนี้ น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในระยะยาวให้กับผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์อย่าง MAJOR และผู้ผลิตเนื้อหาที่หันมาทำภาพยนตร์ด้วยอย่าง WORK อีกด้วย

ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าหุ้นกลุ่มบันเทิงมีผลประกอบการที่โตมากกว่าที่คาด โดยบริษัทส่วนมากมีผลประกอบการดีขึ้นตามภาวะอุตสาหกรรมบันเทิงที่ฟื้นตัวขึ้นในปีนี้หลังจากที่ซบเซาไปในปีที่แล้วประกอบกับบริษัทส่วนมากมีการลดค่าใช้จ่ายเป็นการปรับตัวและมีการขยายตัวให้ครบวงจรมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายและเปิดรับรายได้ใหม่เข้ามามากขึ้น

ในช่วงครึ่งปีหลังต่อจากนี้คาดว่าหุ้นกลุ่มบันเทิงก็ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมและการรุกธรกิจประเภทใหม่ให้กว้างขึ้นนอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของทุกปียังถือได้ว่าเป็นฤดูกาลที่มักมีการใช้จ่ายงบโฆษณาเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่เติบโตยิ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us