Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ศาลทรัพย์สินทางปัญญา 2 ปีมาแล้วก็ยังไม่เกิด             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
บิสซีเนส ซอฟต์แวร์ อะไลแอนซ์




"WHITE COLLAR CRME" คำเปรียบเปรยนักธุรกิจที่ไม่เคยต้องทำงานอาบเหงื่อนต่างน้ำเช่นเดียวกับกรรมกร เปรียบได้กับผู้ต้องหาคดีทางเศรษฐกิจที่จะแตกต่างไปจากผู้ต้องหาคดีจี้ปล้น แม้ว่ามูลค่าความเสียหายที่ประเมินเป็นราคาทรัพย์สินแล้วไม่แตกต่างกันนักก็ตาม

เช่นเดียวกับคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ต้องหาในคดีเหล่านี้ไม่เคยถูกจับเข้าคุกหรือถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก ๆ ซึ่งมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่งมาจากความรู้สึกที่มีต่อผู้ต้องหาคดีเหล่านี้จะไม่รุนแรง ในทางกลับกันบุคคลเหล่านี้กลับมีส่วนช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจ

กว่า 20 คดี ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบีเอสเอ และในไม่ช้านี้จะมีกลุ่มองค์กรใหม่ ๆ ในลักษณะเดียวกับบีเอสเอเข้ามาไล่ล่าผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อีกหลายราย แน่นอนว่าการไล่กวดจับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องมีเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และมีคดีความที่ต้องรอการพิจารณาอีกมากมาย

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นความหวังอีกทาง ที่จะช่วยให้กระบวนการทางกฎหมายมีความคล่องตัว และเห็นผลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

การจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา จะเป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งคดีระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพราะถือว่าดคีเหล่านี้เป็นคดีเฉพาะด้านที่ต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างถ่องแท้

เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว กระบวนการของศาลจะแตกต่างไปจากศาลอื่น ๆ คือ จะมีเพียง 2 ขั้นตอน คือ ศาลชั้นต้น และศาลฎีกา ไม่มีศาลอุทธรณ์ และที่สำคัญหลักฐานที่ใช้ในการพิจารณาจะอนุญาตให้ใช้เป็นภาษาต่างประเทศได้ ซึ่งแต่เดิมจะต้องแปลเป็นภาษาไทยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการนำระบบวิดีโอคอนเฟอเรนช์มาใช้ในการนำสืบพยานด้วย ในกรณีที่พยานอยู่ต่างประเทศ จะได้ไม่ต้องเดินทางมาให้เสียเวลา

ทางด้านผู้พิพากษา จะมี 2 คน คือ จะต้องมีผู้พิพากษาสมทบ ที่จะมีความรู้ในเรื่องเทคนิค ซึ่งอาจจะมาจากภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาร่วมในการพิจารณากับผู้พิพากษาปกติ และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องผ่านการอบรมความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างดีด้วย

แต่ปัญหาคือ ผ่านมาจนเกือบ 2 ปี ศาลทรัพย์สินทางปัญญายังไม่เกิดเสียที ปัจฉิมา ธนสันติ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญากรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงว่า อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในเวลานี้อยู่ในสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี ได้ทูลเกล้าลงพระปรมาภิไธยแล้ว แต่ยังไม่ตอบกลับ

ทั้งนี้หากลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีการประกาศเป็นพระราชบัญญัติในหนังสือราชกิจจานุเบิกษา และจะมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป ซึ่งคาดว่าต้นปีหน้าคงเริ่มดำเนินการได้ในเวลานี้ได้มีการเตรียมในเรื่องสถานที่ และมีการกำหนดตัวผู้พิพากษาแล้ว คาดว่าไม่เกินต้นปีหน้าศาลทรัพย์สินทางปัญญาจะเริ่มพิจารณาคดีได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us