Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กฎหมายที่ยังเอื้อมไม่ถึง             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

 
Charts & Figures

สถิติการจับกุมดำเนินคดีฐานะกระทำความผิดตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ก.ย. 2538 - สิงหาคม 2538
สถิติการจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์เปรียบเทียบระหว่าง ม.ค.-ก.ค. 2538 และ ม.ค.-ก.ค. 2539


   
www resources

โฮมเพจ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

   
search resources

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), บจก.
บิสซีเนส ซอฟต์แวร์ อะไลแอนซ์
Software




เกือบ 2 ปีเต็มที่กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บังคับใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในธุรกิจซอฟต์แวร์ฉุดรั้งให้ธุรกิจที่แทบหามูลค่าไม่ได้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเม็ดเงินก้อนโต กลุ่มองค์กรซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ตบเท้าเข้าไทย เพิ่มพิทักษ์สิทธิ์แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาเพียงแค่ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อตัวเลขซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ไม่ลดลงร้านค้าซอฟแวร์เถื่อนบนห้างพันธุ์ทิพย์กยังมีขายกันดาษดื่น ไมโครซอฟท์ และผู้ค้าซอฟต์แวร์เริ่มออกอาการ หรือกฎหมายจะไม่ศักดิ์สิทธิ์เพียงพอ

บ่ายแก่ ๆ วันหนึ่ง ณ ร้านค้าคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่งบนห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ซึ่งจำหน่ายซอฟต์แวร์รวมฮิตหรือซีดีเกาเหลา ชื่อเรียกซอฟต์แวร์เถื่อน ต้องต้อนรับลูกค้าที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อลูกค้าเหล่านั้นไม่ใช่ลูกค้าที่เข้ามาซื้อหาซอฟต์แวรืก๊อบปี้ยอดฮิตแต่กลับกลายเป็นตำรวจจากกองสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ หรือสศก. ที่เข้ามาจับกุมในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์ แวร์

เช่นเดียวกับเจ้าของบริษัทแอ๊ดวานซ์เจ็มส์ แอนด์ จิวเวลรี่ ซึ่งประกอบธุรกิจค้าเพชรพลอยรายใหญ่แห่งหนึ่ง ต้องถูกตรวจค้น และดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา

เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นภายหลังจากที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 จนถึงบัดนี้รวมเวลาเกือบ 2 ปีเต็ม

ก่อนหน้ากฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะมีผลบังคับใช้ มีการประเมินกันว่าซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีในปี 2537 มีการซื้อขายจริงอยู่เพียงแค่ 1-2% ของมูลค่าตลาดรวมเท่านั้นที่เหลืออีก 98-99% เป็นซอฟต์แวร์ก๊อปปี้ทั้งหมด ซึ่งมีการประเมินว่ามีมูลค่าอยู่ถึง 25,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าธุรกิจซอฟต์แวร์ในเวลานั้นจึงมืดมนอยู่มาก เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาซอฟต์แวร์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานนั้นแทบจะหาค่าไม่ได้เรียกว่าแทบจะไม่เคยมีใครต้องเสียเงิน เพื่อซื้อซอฟต์แวร์กันเลย

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นฉบับแก้ไข ที่มีการปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงอนุสัญญาแห่งกรุงเบิร์นในการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ไทยเข้าไปเป็นสมาชิก ได้ระบุถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ในข้อกฎหมาย ห้ามไม่ให้มีการคัดลอกหรือทำสำเนา หรือปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเอาไว้อย่างเด่นชัด หากใครฝ่าฝืนจะต้องโทษทางอาญา

การประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ จึงส่งผลอย่างชัดเจนต่อธุรกิจซอฟต์แวร์ จนมีการคาดการณ์กันไว้ว่ากำหมายฉบับนี้จะทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเข้ามามีบทบาทแทนที่ซอฟต์แวร์เถื่อน และจะเกิดอุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นในไทย

แต่ยังเป็นคำถามว่า ระยะเวลาเกือบ 2 ปี การบังคับใช้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับนี้ได้รับผลสำเร็จเพียงใด

"ยอมรับเลยว่าหลังกฎหมายลิขสิทธิ์มีผลบังคับใช้ ความตื่นตัวในเรื่องของซอฟต์แวร์มีมากที่สุด เพราะเป็นเรื่องใหม่ของไทยยังต้องอาศัยความรู้แลคะวามเข้าใจ" ปัจฉิมา ธนสันติ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญากรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าว

สิ่งที่ปรากฎชัดเจนมากที่สุดอย่างหนึ่งภายหลังพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 มีผลบังคับคือ กลุ่มพันธมิตรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตซอฟตืแวร์ทั้งหลายที่ตบเท้าเข้าไทยกันเป็นระลอกนับรวมแล้วในเวลานี้มีเกือบ 4-5 องค์กร

นอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตร BSA (BUSINESS SOFTWARE ALLIANCE) ได้เข้ามาไล่กวดจับซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นกลุ่มแรก ๆ ในเวลานี้มีกลุ่ม SPA (SOFTWARE PUBLISHER ALLIANCE) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางด้านการศึกษาและผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายย่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกา ขณะนี้กลุ่มเอสพีเอได้มอบหมายอเมริกา ขณะนี้กลุ่มเอสพีเอได้มอบหมายให้สำนักกฎหมายทวิสที แอนด์ กิบบิ้นเป็นตัวแทนทางกฎหมาย คาดว่าคงจะเริ่มดำเนินการกวาดล้างผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในเร็ว ๆ นี้

กลุ่ม AACT *Alliance Against CD ROM) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตซอฟต์แวร์บนแผ่นซีดีรอม ที่ให้สำนักงานกฎหมาย เบเคอร์แอนด์ แมคเคนซี่เป็นตัวแทนทางกฎหมายและเริ่มจับกุมซอฟต์แวร์เถื่อนบนห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าไปแล้ว

ที่น่าสนใจคือ การเข้ามาของกลุ่มพันธมิตรที่ชื่อแวเลียน ที่เป็นการร่วมลงขันของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เกม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ซอฟต์แวร์เกมออกมาเคลื่อนไหวหลังจากที่ปล่อยให้ซอฟต์แวร์เถื่อนครองตลาดมานาน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ซอฟต์แวร์เกมนั้นเป็นตลาดใหญ่ที่สุดหนึ่งของซอฟต์แวร์ทั้งหมด เรียกว่าพีซีแทบทุกเครื่องในเวลานี้แทบไม่มีเครื่องใดไม่มีซอฟต์แวร์เกมบรรจุอยู่ ซึ่งหากประเมินเป็นมูลค่าแล้วมหาศาลไม่แพ้ซอตฟ์แวร์ประเภทอื่น โดยเฉพาะมูลค่าตลาดของซอฟต์แวร์ที่ใช้ภายในบ้าน มีซอฟต์แวร์เกมครองตลาดอยู่ถึง 52%

นอกเหนือจากการชักธงรบของกลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ปัจฉิมา เล่าว่า ลิขสิทธิ์ทางด้านอื่น ๆ เช่น ลิขสทิธิ์หนังสือการ์ตูนแม้แต่ลายผ้าม่านก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวเข้ามาดำเนินคดีให้เห็นเป็นระยะ ๆ

ขณะเดียวกันทางด้านผู้ประกอบการในธุรกิจซอฟต์แวร์ หลังกฎหมายลิขสิทธิ์บังคับใช้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชื่อดังจากต่างประเทศทยอยเข้ามาจัดตั้งสำนักงานสาขาในไทย ไม่ว่าจะเป็นโลตัส โนเวลล์ ออโตเดสก์ โดยแฉพาะอย่างยิ่งไมโครวอฟต์เจ้าตลาดซอฟต์แวร์บนพีซี ซึ่งเข้ามาตั้งสำนักงานในไทยก่อนหน้านี้ ก็เริ่มเดินหน้าอย่างเต็มตัวด้วยการนำโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ ที่ทยอยออกวางสู่ตลาด ควบคู่ไปกับการพัฒนาโปรแกรม ที่ให้เป็นภาษาไทย พร้อม ๆ กับการโปรแกรมการตลาดใหม่ ๆ และการเพิ่มช่องทางตลาด

ความตื่นตัวในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย รวมทั้งนโยบายการตลาดของบรรดาผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของไทย ทำให้ตลาดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายกระเตื้องขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แม้ว่าจนถึงขณะนี้ กลุ่มบีเอสเอ ซึ่งมีการประเมินการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในแต่ละประเทศ ยังไม่สามารถสรุปผลการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิมเพียงใด

แต่ไมโครซอฟต์ ประเทศไทย และบรรดาผู้ค้าซอฟต์แวร์ได้มีการประเมินตัวเลขยอดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย ในช่วงปีแรกของการออกกฎเหล็กว่า ตลาดซอฟต์แวร์ของแท้กระเตื้องขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตัวเลขอัตราส่วนของซอฟต์แวร์ก๊อปปี้ที่ครองตลาดอยู่ถึง 98-99% มีการประเมินว่าลดลงเหลืออยู่ประมาณ 90% นั่นหมายถึงว่ายอดรายได้ของซอฟต์แวร์ของแท้ที่มีการซื้อมากถึงประมาณกว่าเดิมเกือบ 10% ซึ่งนับว่าเป็นมูลค่าไม่น้อย

"ในช่วงปีแรกที่กฎหมายลิขสิทธิ์ประกาศใช้ ยอมรับเลยว่าการละเมิดลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ใช้ที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่หันมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น" อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟต์ ประเทศไทย กล่าว

ทั้งนี้จะเห็นได้จากตัวเลขยอดขายของไมโครซอฟต์ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดสำหรับซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซี ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2537 ก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้หลายเท่าตัว เช่นเดียวกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายอื่น ๆ ที่มีตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้น

มีการประเมินว่า สาเหตุที่ตลาดซอฟต์แวร์ของแท้กระเตื้องขึ้นทันตาหลังการประกาศใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เนื่องมาจากสาเหตุหลัก 2-3 ประการ

สาเหตุแรก เป็น เพราะผู้ใช้ที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ของภาครัฐ และเอกชนให้ความสำคัญหันมาซื้อซอฟต์แวร์ของแท ้ดังจะเห็นได้จากงบประมาณที่จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่เดิมมีเฉพาะเครื่องฮาร์ดแวร์ไม่เคยมีงบประมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาก่อน แต่หลังจากกฎหมายลิขสิทธิ์ประกาศใช้หน่วยงานราชการก็มีการเพิ่มงบประมาณสำหรับซอฟต์แวร์รวมอยู่ด้วย เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่เหล่านี้หวั่นเกรงกันว่าหากถูกจับดำเนินคดี ไม่เพียงแต่จะต้องโทษตามกฎหมาย ที่สำคัญที่สุดคือทำให้เสียชื่อเสียงต่อองค์กร

สถาบันการเงินหลายแห่งรวมทั้งองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ลงมือตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในหน่วยงานและลบซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ทั้งหมดทิ้งเหลือไว้เฉพาะโปรแกรมที่ถูกกฎหมายหลัก ๆ ที่ใช้งานจริงเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่กี่โปรแกรมพร้อมกับทำจดหมายเวียนสั่งห้ามพนักงานนำโปรแกรมอื่นที่แบงก์ไม่ได้อนุญาตมเาข้าเครื่อง แม้จะใช้ในงานของแบงก์ก็ตามถ้าทำโดยพลการแบงก็จะไม่รับผิดชอบกับการกระทำของพนักงาน

การหันมาซื้อซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายของกลุ่มผู้ใช้ประเภทนี้ ทำให้ตัวเลขของซอตฟ์แวร์ของแท้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นทันที เพราะเป็ฯกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสูงและซื้อคราวละจำนวนมาก

สาเหตุที่สอง กลุ่มบีเอสเอ ได้เริ่มออกมากวาดจับผู้ค้าซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ให้เห็นออกมาเป็นระยะ ๆ ทั้งในพันธุ์ทิพย์พลาซ่าและในงานแสดงผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์แม้จะไม่ต่อเนื่อง แต่ก็สร้างความตื่นตัวได้บ้าง

นอกจากนี้ในช่วงแรก ๆ ของการออกกฎหมาย บรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ทั้งภาครัฐ และเอกชนได้จัดงานสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ใช้โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ให้เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และความผิดต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์ของแท้และข้อเสียของซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มีการหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของแท้ได้ไม่น้อย

แต่ความเปรมปรีดิ์ของบรรดาผู้ผลิตและผู้ค้าซอฟต์แวร์ก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อยอดขายซอฟต์แวร์ของแท้ในปีถัดมาเริ่มชะลอตัว สวนทางกับตัวเลขยอดขายของฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา

"จริง ๆ แล้ว เมื่อยอดพีซีเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 แสนเครื่องต่อปี ยอดขายของซอตฟแวร์ก็ควรเพิ่มขึ้นด้วย เพราะพีซีแต่ละตัวจะต้องมีโหลดซอฟต์แวร์ไปใช้งานด้วยแต่ปรากฎว่ายอดของซอฟค์แวร์ในช่วงปีนี้กลับไม่เพิ่มตาม เรียกว่าแทบไม่มีการซื้อซอฟต์แวร์ใหม่กันเลย" อาภรณ์ กล่าว

ข้อสังเกตนี้ อาภรณ์ชี้แจงว่า ประเมินจากยอดจำหน่ายพีซี หลังจากนั้นจะมาพิจารณาอัตราเฉลี่ยของพีซีในแต่ละเครื่องว่า ใช้ซอฟต์แวร์กี่ประเภท และอะไรบ้างหลังจากนั้นจะนำตัวเลขของซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานบนพีซีทั้งหมดดังกล่าว นำมาเปรียบเทียบกับยอดขายซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายที่จำหน่ายออกไปว่าตัวเลขใดมากกว่ากันซึ่งผลปรากฎว่า ยอดของซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายในปีนี้นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

ไมโครซอฟต์ และบรรดาผู้ค้าซอฟต์แวร์ ได้พุ่งเป้าไปที่ปัญหาการละเมิดสิทธิ์ที่ได้กลับมาเป็นปัญหาอีกครั้ง จนกระทั่งไมโครซอฟท์ ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวเลขยอดขายใหม่ให้ลดลงจากประมาณการที่วางไว้แต่เดิมลง

ไมโครซอฟท์ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ด้วยการลงมือเข้าไปดำเนินดคีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอให้กลุ่มบีเอสเอซึ่งไมดครซอฟท์เป็นสมาชิกอยู่เป็นผู้อออกปฏิบัติการกวาดล้างให้เช่นเคย

ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นของไมโครซอฟท์คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทางด้านกฎหมายเดินทางเข้ามาสำรวจหาผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยย่านเอเชีย ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายนี้

การลงมือกวาดล้างด้วยตัวเองของไมดครซอฟท์ในครั้งนี้ อาภรณ์ชี้แจงว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับไมโครซอฟท์ประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ทำการตลาดเท่านั้น แต่เป็นการดำเนินงานของบริษัทแม่โดยตรง

จากการสำรวจจากเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายของไมโครซอฟท์ ก็พบว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน ทั้งปลีก และส่งบนห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า หรือผู้ใช้ที่เป็นองค์กร ที่กลุ่มบีเอสเอได้ลงมือกวาดล้างไปแล้วเท่านั้น แต่กลับเป็นผู้ค้าคอมพิวเตอร์ที่นิยม "พลีโหลด" ซอฟต์แวร์เถื่อนของไมโครซอฟท์ ให้กับลูกค้า ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

ปรากฎว่า กวาดล้างของไมโครซอฟท์มีขึ้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง 2 คราได้ผู้ค้าคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นผู้ต้องหานับสิบรายและในจำนวนนั้นก็มีตัวแทนจำหน่ายของไมโครซอฟท์รวมอยู่ด้วย

ขณะเดียวกันทางด้าน "ไทยซอฟท์บริษัทในเครือสหวิริยาที่ประกอบธุรกิจค้าซอฟท์แวร์ โนเวลล์ โลตัส ออโตเดสก์ที่ต้องประสบปัญหาการขาดทุนในช่วงครึ่งปีแรก 5 ล้านบาท แจ๊ค มิน องค์ธเนศชี้แจงว่า นอกเหนือจากปัญหาธุรกิจมัลติมีเดียที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและลดราที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจซบเซาแล้ว สาเหตุส่นหนึ่งก็มาจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์เพียงพอจะทำให้ปัญหาการละเมิดลดน้อยลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจค้าซอฟต์แวร์ที่ไทยซอฟท์ดำเนินการอยู่

ทางด้านของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยอย่างบริษัทมิลติมีเดีย ครีเอชั่น ก็ประสบปัญหาที่ไม่แตกต่างกันนัก เมื่อซีเอไอ โปรแกรมช่วยสอนสำหรับเด็กที่บรรจุอยู่ในแผ่นซีดีรอมของบริาทถูกนำไปก๊อบปี้วางขายเกลื่อนกลาดอยู่บนห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ในราคาที่ถูกกว่าของแท้ถึง 2 เท่าตัว

"เราต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาโปรแกรมหนึ่ง ๆ เป็นล้านบาท แต่ร้านค้าพวกนี้เขาเอามาก๊อบปี้ใส่แผ่นซีดีรอมด้วยต้นทุนไม่กี่บาท วางขาย 3 โปรแกรมด้วยราคาเพียงแค่พันบาท" สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ของมัลติมีเดีย ครีเอชั่นเล่า

สิ่งที่มัลติมีเดีย ครีเอชั่น แก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้น คือ จัดแถลงข่าวเพื่อตักเตือนผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านี้ แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินคดีทางกฎหมายได้ เนื่องจากหาหลักฐานไม่ได้

ประเด็นสำคัญ ที่ทำให้บรรดาผู้ค้าและผลิตซอฟต์แวร์ พุ่งเป้าไปที่การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เริ่มกลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดมาจากทั้งในด้านของผู้ใช้และผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน

บีเอสเอได้ประเมินไว้ว่า มูลค่าความสูญเสียของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ได้รับจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายนั้นมาจากผู้ใช้ที่เป็นผู้ใช้ในองค์กรถึง 50% เนื่องจากเป็นผู้ใช้ที่มีกำลังซื้อสูง

ไมโครซอฟต์ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นลูกค้าประเภทองค์กรขนาดใหญ่ที่เคยซื้อซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายในช่วงต้นปีและมักจะซื้อในลักษณะของการซื้อไลเซนส์ คือ ซื้อเป็นจำนวนมากตามจำนวนผู้ใช้และเมื่อขยายระบบคอมพิวเตอร์มีการซื้อเครื่องฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้น แต่ไมได้ซื้อซอฟต์แวร์เพิ่มตามไปด้วยแต่ใช้วิธีก๊อบปี้ซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากซอฟต์แวร์ของแท้ที่ซื้อมาแต่แรก

"ลูกค้ารายใหญ่ ๆ ในช่วงแรก ๆ ที่กฎหมายออกมาก็กลับจะถูกจับและจเสียชื่อเสียงก็เลยซื้อเอาไว้กันผี พอมาในช่วงหลังเมื่อมีการขยายระบบงานมีการซื้อเครื่องพีซีเพิ่มขึ้นแต่ไม่ยอมซื้อซอฟต์แวร์เพิ่มแต่ใช้วิธีก๊อบปี้" อาภรณ์ กล่าว

บีเอสเอได้ทำการสำรวจและพบว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้ประเภทองค์กรนั้น มาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ไม่รู้ว่าซอฟต์แวร์ที่แถมมากับเครื่องพีซีที่ซื้อมาเป็นซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายหรือไม่ ในขณะ ที่บางรายสั่งซื้อซอฟต์แวร์ทางไปรษณีย์ ที่มีราคาถูก หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยไม่รู้ซอฟต์แวร์เหล่านี้ถูกกฎหมาย หรือไม่ หรือบางรายก็เจาะจงที่จะเลือกซื้อซีดดีรอม ที่บรรจุซอฟต์แวร์เถื่อนราคาถูก

ในช่วงเดือนพฤษภาคม ของปีนี้ กลุ่มบีเอสเอ จึงได้แจ้งจับดำเนินคดีกับบริษัทแอ๊ดวานซ์ เจ็มส์ แอนด์ จิวเวลรี่พร้อมกับบริษัทในเครืออีก 2 แห่ง ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และนับเป็นครั้งแรกที่บีเอสเอแจ้งจับผู้ใช้ที่เป็นองค์กร

ขณะเดียวกัน มีการประเมินว่า ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก และลูกค้าตามบ้าน (HOME USER) ยังคงนิยมก๊อบปี้ซอฟต์แวร์มาใช้เช่นเดิมไม่ว่าก่อนหรือหลังกำหมายลิขสทิธิ์ซอฟต์แวร์ประกาศใช้ ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้แม้จะมีมูลค่าไม่มากเท่ากับกลุ่มลูกค้าประเภทองค์กรขนาดใหญ่ที่ซื้อเป็น่จำนวนมาก ๆ แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีอัตราการใช้พีซีคอมพิวเตอร์สูงมาก

เมื่อกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีการซื้อเพิ่ม เวลาเดียวกันผู้ใช้ที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก และผู้ใช้ตามบ้านไม่ได้หันมาใช้ซอฟต์แวร์จึงชะงักลงในทำนองเดียวกันเมื่อมีผู้ซื้อย่อมมีผู้ขาย

มีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ค้าซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ หรือ ซอฟต์แวร์เถื่อน บนห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการกวาดล้าง ยังคงทำธุรกิจค้าซอฟต์แวร์ก๊อบปี้กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งบางรายก็อาจจะหลีกเลี่ยงด้วยการวางกล่องเปล่าที่บรรจุซอฟต์แวร์ไว้หน้าร้าน และให้ลูกค้ามาสั่งออร์เดอร์เอาไว้และมารับหรือจัดส่งไปให้ในภายหลัง

"ร้านค้าพวกนี้พอถูกตำรวจจับ ก็เสียค่าปรับไป 2 แสน ก็กลับมาขายใหม่ เพราะกำไรของซอฟต์แวร์ก๊อบปี้เยอะมากต้นทุนนิดเดียว ซีดี-รอมเปล่า ๆ แผ่นละไม่เท่าไหร่ เอามาก๊อบปี้ซอฟต์แวร์โปรแกรมหลัก ๆ 3-4 โปรแกรม วางขายราคาแผ่นละพันบาท ขายได้แต่ละเดือนหลายแสนบาท บางรายได้เป็นล้านบาทเสียค่าปรับไม่เท่าไหร่ก็กลับมาขายได้อีก" ผู้ค้าซอฟต์แวร์รายหนึ่งสะท้อนให้ฟัง

ในเวลาเดียวกันนี้ บรรดาผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน บนห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการกวาดล้าง ยังคงทำธุรกิจค้าซอฟต์แวร์ก๊อบปี้กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งบางรายก็อาจจะหลีกเลี่ยงด้วยการวางกล่องเปล่าที่บรรจุซอฟต์แวร์ไว้หน้าร้าน และให้ลูกค้ามาสั่งออร์เดอร์เอาไว้และมารับหรือจัดส่งไปให้ในภายหลัง

"ร้านค้าพวกนี้พอถูกตำรวจจับ ก็เสียค่าปรับไป 2 แสน ก็กลับมาขายใหม่ เพราะกำไรของซอฟต์แวร์ก๊อบปี้เยอะมากต้นทุนนิดเดียว ซีดี-รอมเปล่า ๆ แผ่นละไม่เท่าไหร่ เอามาก๊อบปี้ซอฟต์แวร์โปรแกรม หลัก ๆ 3-4 โปรแกรม วางขายราคาแผ่นละพันบาท ขายได้แต่ละเดือนหลายแสนบาท บางรายได้เป็นล้านบาทเสียค่าปรับไม่เท่าไหร่ก็กลับมาขายได้อีก" ผู้ค้าซอฟต์แวร์รายหนึ่งสะท้อนให้ฟัง

ในเวลาเดียวกันนี้ บรรดาผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน ก็หันไปใช้วิธีใหม่ ๆ เช่น ให้ลูกค้าสั่งซื้อทางไปรษณีย์และจะส่งของตามไปในภายหลัง หรือบางรายก็ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช่ เช่น เปิดรับสั่งของทางบูเลทินบอร์ดในระบบออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์หรือขายผ่านอินเตอร์เน็ต

ปัญหาในส่วนของผู้ค้าซอฟต์แวร์ก็อบปี้นี้ นับว่าได้สร้างความหนักใจให้กับบรรดาผู้ค้าซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายกลุ่มบีเอสเอ อย่างมาก เพราะเป็น คู่แข่งสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับสมาชิกของบีเอสเอโดยตรง

ขณะเดียวกันในด้านของผู้ค้าพีซีคอมพิวเตอร์ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังถูกจับตามองว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุด เพราะส่วนใหญ่ผู้ค้าเหล่านี้จะใช้วิธีขายเครื่องพร้อมซอฟต์แวร์ที่ก๊อบปี้ให้ฟรี แม้ว่าในช่วงประกาศกฎหมายลิขสิทธิ์บรรดาผู้ค้าเหล่านี้จะเลิกใช้วิธีการดังกล่าวและหันมาขายซอฟต์แวร์ของแท้ควบคู่กันไป แต่มาในระยะหลังเมื่อการแข่งขันของเครื่องพีซีทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ค้าต้องหาทางออกด้วยการก๊อบปี้ซอฟต์แวร์แถมไปกับเครื่องเพื่อหวังจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด และลดต้นทุนในการทำธุรกิจ

"มีผู้ค้าบางรายที่ขายซอฟต์แวร์ของแท้ควบคู่ไปกับการก๊อบปี้ซอฟต์แวร์ไปให้ด้วย ซึ่งบางครั้งลูกค้าเองก็ไม่รู้ว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่เป็นของจริงหรือก๊อบปี้ แต่ลูกค้าบางรายก็รู้ แต่ก็ไม่อยากจ่ายเงินซื้อให้ผู้ค้าไปก๊อบปี้มาให้" แหล่งข่าวในวงการคอมพิวเตอร์เล่า


กฎหมายศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คำถามที่ตามมาคือกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ ทำไมปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ถึงไม่หมดไปง่าย ๆ

"ไม่ว่าประเทศไหนในโลก แม้จะมีกฎหมายลิขสิทธิ์เกิดขึ้น แต่ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่มีวันหมดไปได้ 100% แต่จะลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง" ผู้ค้าคอมพิวเตอร์สะท้อนแนวคิด

วีรวิทย์ วีรวรวิทย์ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน แห่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ยอมรับว่าแม้ว่าการมีกฎหมายลิขสิทธิ์ละเมิดลิขสิทธิ์การจะลดน้อยแต่ไม่มีวันหมดไปได้ ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ในโลกก็ไม่มีทางหมดลง แต่จะมีวิธีหลีกเลี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม ผู้ละเมิดฉลาดขึ้นที่จะไม่ให้มีการพิสูจน์หลักฐานได้ง่าย ๆ เปรียบแล้วก็เหมือนกับ "แมวกับหนูที่ต้องคอยไล่จับกันไปเรื่อย ๆ

ในมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในแง่ของบรรดาผู้ค้ารวมทั้งบริษัทเบเคอร์ แอนด์แมคแคนซี่ ต่างลงความเห็นในทำนองเดียวกันว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากตัวบทกฎหมายเพราะถือได้ว่ามีความสมบูรณ์แล้วในระดับหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญ คือ ผลของคดีไม่ได้ทำให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เข็ดหลาบ

บทกำหนดโทษ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ระบุไว้ว่าผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือถ้ากระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หมื่นแสนบาทถึงแปดแสนนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่บทลงโทษนี้ยังไม่เพียงพอที่จะปราบปรามผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ให้ลดลงได้

"ส่วนใหญ่พอถูกดำเนินคดีหากไม่ยอมความกัน ก็ยังไม่มีใครถูกลงโทษถึงขั้นติดคุกเลย ส่วนใหญ่จะถูกปรับและรอลงอาญาซึ่งพวกนี้พอออกมาก็หันมาทำผิดอีกมาขายซอฟต์แวร์ก๊อบปี้กันอีกเพราะรายได้ดีแม้จะเสียค่าปรับเป็นแสน แต่ก็คุ้มกับรายได้ที่ได้เดือนละหลายแสน บางรายก็เป็นล้านบาท" แหล่งข่าวผู้ค้าซอฟต์แวร์กล่าว

มีการตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นเพราะคดีความที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์นั้น เป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างธุรกิจมากกว่าจะเป็นคดีความที่จะส่งผลกระทบต่อรัฐ หรือคนส่วนใหญ่จึงทำให้การพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดจึงไม่รุนแรงนัก จนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้กระทำผิดไม่หลาบจำ

"ผู้ต้องหาที่เกี่ยวกับคดีความประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ต้องหาทั่วไป ความรู้สึกของศาลที่มีต่อผู้ต้องหาเหล่านี้จึงไม่รุนแรงนักเพราะบุคคลเหล่านี้มีส่วนช่วยในการขยายเศรษฐกิจของประเทศ"

ดังนั้นความเห็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มบทลงโทษที่เกี่ยวกับคดีละเมิดลิขสิทธิ์ให้มีการจำคุกจริง ๆ หรือปรับเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าเดิม ดังเช่นในบางประเทศที่มีการปรับถึงล้านบาท

สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ การบังคับใช้กฎหมายยังมีไม่มากพอ ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายนี้จะต้องพึ่งพากรมทรัพย์สินทางปัญญา และกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ หรือ สศก.

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญามีความตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการกวาดล้างผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เนื่องจากอำนาจที่มีอยู่จำกัด ทำได้แค่ตรวจสอบและตรวจค้นเท่านั้นแต่ไม่มีอำนาจในการดำเนินคดี เพราะกฎหมายระบุให้หน้าที่เหล่านี้เป็นของตำรวจจึงทำเกิดความลักลั่นกันขึ้น การดำเนินการจึงไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร

ขณะเดียวกัน สศก. ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในเรื่องเหล่านี้โดยตรง ก็มีเจ้าหน้าที่อยู่จำกัด จึงทำให้การกวาดล้างเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

"ปัจจุบัน เราได้ขอกำลังไปที่ตำรวจกองปราบ และนครบาลให้เข้ามาช่วย จากเดิมจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สศก. เพียงอย่างเดียว ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยฝึกอบรมความรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ให้กับหน่วยงานเหล่านี้ปัจฉิมาชี้แจง

แม้ว่า เธอจะเชื่อว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้อย่างชัดเจน และสร้างความตื่นตัวให้กับธุรกิจซอฟต์แวร์อย่าง มากก็ตามแต่การจะอาศัย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ในการกวาดล้างซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างเดียวไม่สามารถทำได้

ปัจฉิมา อธิบายว่า คดีททางด้านลิขสิทธิ์นั้นเป็นคดีอาญา ดังนั้นจึงต้องมีผู้เสียหาย หรือเจ้าทุกข์ ก่อนเจ้าหน้าที่จึงจะสามารถดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับผู้ต้องสงสัยได้

"ถึงแม้ตำรวจจะไปพบผู้ต้องสงสัยและจับกุมมา แต่ก็ไม่สามารถดำเนินคดีได้ตราบใดที่ยังไม่มีเจ้าทุกข์มาแจ้งความก็ไม่สามารถทำอะไรได้"

สิ่งที่ สศก. และกรมทรัพย์สินทางปัญญาแก้ปัญหาเหล่านี้ คือ การนำเอากฎหมายข้างเคียนเข้ามาช่วย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวกับฉลากมาปราบปรามผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน ซึ่งผู้ค้าซอฟต์แวร์ หรือซีดีรอม จะต้องติดฉลากเพื่อแสดงว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และได้มอบหมายให้ใครเป็นตัวแทนขาย ซึ่งหากไม่มี เจ้าหน้าที่จะสามารถจับกุมและดำเนินคดีได้ โดยอาศัยกฎหมายข้างเคียงดังกล่าวเข้าช่วย

"แต่คดีที่เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะมีอายุความ 3 วันเท่านั้น ตำรรวจต้องส่งฟ้องศาล ดังนั้นหากเจ้าทุกข์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ไม่มาแจ้งความตำรวจก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ต้องปรับไปตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคระบุไว้ คือ ปรับ 10,000 บาท" ปัจฉิมา กล่าว


ตีความผู้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย

แม้ว่าปัญหาในเรื่องของตัวกฎหมายซึ่งได้รับการยืนยันอย่างแข็งขันว่ามีความสมบูรณ์ เพราะมีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สนทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าของ WTO อย่างครบถ้วนอยู่แล้วก็ตาม

แต่สิ่งหนึ่งยังเป็นปัญหาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญายังวิตกในเวลานี้ คือ การตีความทางกฎหมาย ในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่าการใช้เพียงแค่ไหนจึงจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

"ตั้งแต่ออกกฎหมาย ก็มีคำถามมาตลอดว่า การใช้แค่ไหนถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งนักกฎหมายของไทยมีความคิดแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน บางคนมองว่าเพียงแค่สอดแผ่นดิสเก็ตผ่านเข้าไปในที่หน่วยความจำแรมก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว แต่บางส่วนมีความเห็นว่าต้องโหลดไปที่หน่วยความจำรอมเป็นการถาวรก่อนจึงจะถือว่าเป็นการละเมิด ซึ่งก็ต้องรอการพิจารณาจากศาลก่อน"

แน่นอนว่า สำหรับมุมทางฝ่ายกฎหมายของบีเอสเอแล้ว การสอดแผ่นดิสเก็ตไปที่หน่วยความจำแรม ก็ถือว่าได้ทำซ้ำในสาระสำคัญแล้ว และเท่ากับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แแล้ว

แต่สำหรับกรมทรัพย์สินทางปัญญามีความเห็นว่า หากมองในแง่ดังกล่าวแล้วการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว การละเมิดควรจะเป็นการก๊อบปี้โปรแกรมจากรอม (ROM) มาไว้ในแรมจึงถือว่าเป็นกระบวนการทำซ้ำอย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกังวล คือ การดำเนินการตามกฎหมายบางประการที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์นักแสดง ซึ่งจนถึงบัดนี้ยังไม่มีองค์กรใดเข้ามาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

ขณะเดียวกัน พัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องวิ่งไล่ตามให้ทัน เพราะจะเป็นปัญหาหนึ่งที่เข้าอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอินเตอร์เน็ต และบริการข้อมูลออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องนำมาพิจารณาว่าจะนำมาเป็นสิทธิข้างเคียงกับกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่อย่างไร ซึ่งจะมีการนำมาเป็นข้อตกลงร่วมกันในการประชุมที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเร็ว ๆ นี้

วีรวิทย์ มองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การวิ่งไล่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ว่า ถึงเวลาหรือยังที่เมืองไทยจะรับมาตรฐานและกฎเกณฑ์ใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีผลดีผลเสียอย่างไรเพราะเป็นเรื่องใหม่


ไล่จับมาตรการระยะสั้น

ขณะเดียวกัน การใช้มาตรการทางกฎหมายก็อาจเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งอาจแค่ "โปลิศจับขโมย" ไม่มีวันหมดลงได้ง่าย ๆ สิ่งที่รัฐควรให้ความสำคัญ คือ การสร้างจิตสำนึกของคนไทยในการเคารพทรัพย์สินททางปัญญาของผู้อื่น เช่น การหาคณะกรรมการมาพิจารราเพื่อหาทางแก้ไขในเรื่องนี้โดยตรง

"ต้องยอมรับว่าประเทศในแถบเอเชียไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง จีน มาเลเซีย และไทยเราใช้ซอฟต์แวร์ก๊อบปี้กันมานาน จนกลายเป็นความเคยชินไปแล้ว การใช้กฎหมายกวาดล้างอย่างเดียวก็ทำได้ช่วงสั้น ๆ พอเลิกกวาดล้างก็กลับมาทำใหม่ สิ่งที่สำคัญ คือควรจะสร้างจิตสำนึกให้กับลูกค้า" ธงชัยพรรควัฒนชัย ผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจ ซอฟต์แวร์ บริษัทเดอะแวลลู ซิสเต็มส์ สะท้อนแนวคิด

การสร้างจิตสำนึกนั้น ธงชัย มองว่า ควรจะเริ่มตั้งแต่การบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษา หรือจัดสัมมนาให้ความรู้กับผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ไม่ควรใช้มาตรการระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว

กลุ่มบีเอสเอ ก็ได้หันมาให้ความสำคัญในจุดนี้ ด้วยการจัดสัมมนาให้กับผู้ใช้ที่เป็นองค์กรขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ก่อนจะขยับขยายไปต่างจังหวัดหลังจากวิ่งไล่จับเข้าคุกมาตลอด 3 ปีกว่า แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร

แม้ว่า จะมีการพุ่งเป้าไปที่การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล จนปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อนขึ้นมาอีก และส่งผลให้ยอดขายซอฟต์แวร์เถื่อนขึ้นมาอีก และส่งผลให้ยอดขายซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายลดลง แต่ในแง่ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เองก็เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องตัวสินค้า หรือ ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับความนิยม

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเวลานี้ ยังมีผู้ใช้ที่นิยมซอฟต์แวร์รุ่นเก่า ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดว์ 3.1 สเปรดชีด เวิร์ดสตาร์ เพราะโปรแกรมเหล่านี้สามารถตอบสนองการใช้งานได้เพียงพออยู่แล้วยังไม่มีความจำเป็นต้องอัพเกรดไปใช้โปรแกรมใหม่ ๆ เนื่องจากโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ต้องใช้หน่วยความจำไม่ต่ำกว่า 32 บิต หรือใช้หน่วยความจำไม่ต่ำกว่า 16 เมกะไบต์ ซึ่งเครื่องรุ่นใหม่ ๆ เหล่านี้มีราคาแพง ผู้ใช้จึงไม่เห็นความจำเป็นต้องลงทุนมากเช่นนั้น เมื่อโปรแกรมเดิม ๆ ยังใช้งานได้ดีอยู่

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การขยายตัวของตลาดซอฟต์แวร์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายจึงไม่ได้อยู่ที่ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งการไล่จับกุมจะไม่เห็นผลเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับตัวของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยว่า จะสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการได้หรือไม่

วิเชียร หอมถาวร เจ้าหน้าที่จากบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายให้ข้อคิดว่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควรให้ความสำคัญในเรื่องของบริการหลังการขายด้วย เช่น การไม่มีเวลาให้กับลูกค้า จนทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาผู้ค้าได้ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ผู้ขายซอฟต์แวร์ควรคำนึงถึง ไม่ใช่รู้จักแต่วิธีการหาตำรวจมากวาดจับเพียงอย่างเดียว

จะเห็นได้ว่าเกือบสองปีเต็มกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างเห็นได้ชัดในแง่มุมที่แตกต่างกันไปทั้งในแง่ของธุรกิจและกฎหมาย ที่ต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ต่อไป

แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ตราบใดที่ซอฟต์แวร์เถื่อนยังมีอยู่ การวิ่งไล่ล่าระหว่างโปลิศ และขโมย คงไม่มีวันจบสิ้นลงได้ง่าย ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us