Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539
ณรงค์ อิงค์ธเนศ กับพันธกิจที่ใหญ่หลวง             
 


   
search resources

เดอะ แวลลูซิสเต็มส์, บจก.
ณรงค์ อิงค์ธเนศ
Computer




ปี 2000 บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ในจินตนาการของ ณรงค์ องค์ธเนศ จะเป็นบรรษัทข้ามชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (IT regional Multinational Corporation) จากปัจจุบันที่เป็นเพียงผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่าย (Authorized Distributor) อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโน๊ตบุ๊ค เครื่องแม่ข่าย ซอฟต์แวร์ และ Computer workstation

ตามแผน 10 ปีที่ลั่นวาจาไว้เมื่อต้นทศวรรษนี้ ได้มีการแบ่งขั้นตอนการขยายกิจการบริษัทออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกันและคาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,500 ล้านบาท

ขั้นแรกระหว่างปี 1991-1995 เป็นการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด และการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย โดยแบ่งเป็น 3 ภูมิภาคย่อย ได้แก่ อินโดจีน 3 ประเทศ อาเซียน 6 ประเทศ และเอเชียเหนือ ได้แก่ จีนและไต้หวัน ซึ่งที่ผ่านมาณรงค์ได้เข้าไปลงหลักปักฐานกิจการในสิงคโปร์ โดยถือหุ้น 100% และเข้าไปร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในอินโดนีเซียถือหุ้นเพียง 20% เท่านั้น นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นมาเลเซียเพื่อเข้าไปเจาะตลาดนี้อีกครั้งหลังจากที่ล่าถอยมาครั้งหนึ่ง โดยบริษัทพยายามที่จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ก้าวที่ 2 ได้กำหนดไว้ในปี 1996-1997 โดยมีเป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสร้างเทคโนโลยีเป็นของตนเองด้วยวิธีเข้าไปซื้อกิจการต่างชาติ แต่จนถึงบัดนี้แวลลูซิสเตมส์ยังไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโชคไม่เข้าข้างที่ปีนี้เศรษฐกิจเกิดตกต่ำและตลาดหุ้นยังคลำหาจุดต่ำสุดไม่เจอทำให้โครงการเข้าตลาดฯ ต้องชะลอออกไปเป็นปี 1998 ซึ่งบงล.คาเธ่ย์ทรัสต์ จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น (Underwriter)

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แวลลูซิสเตมส์ ก็ได้ประกาศการร่วมทุนในลักษณะของ Venture Capital กับบริษัท Vikay Industrial จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่าย LCD, LCD Module และ PCBA ของสิงคโปร์ พร้อมด้วย Rothschild Ventures Asia Pte Ltd. บริษัทในเครือของ N M Rothschild & Son Limited ซึ่งเป็น Merchant Bank ที่เก่าแก่ถึง 2 ศตวรรษของอังกฤษ และบริษัทเงินทุนญี่ปุ่นอีก 1 แห่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่เปิดเผยชื่อได้ เพราะอยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารทางกฎหมายเพื่อลงนาม โดยทั้ง 3 บริษัทนี้จะถือหุ้นรวมกันในสัดส่วน 19.69% จากการร่วมทุนครั้งนี้ทำให้แวลลูซิสเตมส์มีเม็ดเงินใหม่เข้ามาใช้เป็นเงินทุนหมุน เวียนหล่อเลี้ยงบริษัทอีก 65 ล้านบาท

"เงินที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนของ Vikay และ Rothschild ซึ่งทั้งสองนี้จะให้ประโยชน์เราในแง่ของคนเนกชั่นที่มีอยู่กว้างขวาง ขณะเดียวกันเองยังได้ผลิตภัณฑ์ของ Vikay มาจำหน่ายอีกด้วย และที่สำคัญยังช่วยให้ Term of Condition ที่เราจะได้จาก Supplier ดีขึ้นด้วยเพราะทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทั่วโลก" ณรงค์ในฐานะประธานกรรมการบริหาร กล่าวด้วยความปลาบปลื้มในวันลงนามร่วมทุนกับสองบริษัทหลังจากที่เคร่งเครียดเจรจากันมาถึง 3 เดือน โดย Rothschild เป็นฝ่ายแนะนำ Vikay ให้เข้ามาร่วมทุนครั้งนี้ด้วย

ขณะที่ ธนาธิป วิทยะสิรินันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวาณิชธนกิจ บงล.คาเธ่ย์ทรัสต์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของฝ่ายแวลลูซิสเตมส์พูดถึงดีลนี้ว่า "การร่วมทุนครั้งนี้เป็นก้าวแรกในการระดมทุนเพื่อขยายกิจการในด้านของเครือข่าย การตลาด การเงิน และการผลิต โดย Rothschild และบริษัทเงินทุนญี่ปุ่นจะเอื้อผลประโยชน์ด้านการตลาด ขณะที่ Vikay จะเข้ามาช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ และคาดว่าบริษัทจะสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาด ได้ประมาณปี 1998"

ด้าน Rothschild Ventures Asia บริษัทเพื่อการลงทุนที่เข้ามาตั้งรกรากในสิงคโปร์เมื่อปี 1973 โดยทำหน้าที่ดูแลพอร์ตการลงทุนในเอเชียที่มีเงินทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเงินทุนทั้งหมดทั่วโลก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 25,000 ล้านบาท ซึ่งในไทย Rothschild ได้ให้ความสนใจต่ออุตสาหกรรมด้านการผลิต, อิเล้กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องด้านซอฟต์แวร์ การผลิตและจัดจำหน่าย ซึ่งแวลลูซิสเตมส์อยู่ในข่ายนี้ รวมไปถึง Consumer Service อาทิ ธุรกิจอาหาร และบันเทิง โดยเฉลี่ย Rothschild จะลงทุนในโครงการหนึ่งยาวนานประมาณ 4-5 ปี คือจะลงทุนก่อนบริษัทเข้าตลาดฯ 2 ปี และจะถือต่อไปหลังเข้าตลาดอีกประมาณ 3 ปี

"ธุรกิจ IT โดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ตลอดจนถึงทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย แต่ละวันธุรกิจนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวิธีทางการตลาด ช่องทางการกระจายสินค้า เทคโนโลยีผมมองว่าแวลลูซิสเตมส์เป็น Dynamic Company และผมก็เชื่อมั่นว่าคุณณรงค์จะสามารถ serve ความต้องการของคนไทยและคนในเอเชียได้เป็นอย่างดี" Mark T Geh กรรมการบริหาร Rothschild ผู้ซึ่งผ่านงานดูแลพอร์ตการลงทุนในลักษณะเดียวกันจาก San Francisco Bay Area หรือ Silicon Valley นานถึงหกปีครึ่ง สรุปเหตุผลที่ตัดสินใจร่วมทุนครั้งนี้

ส่วน Vikay โดย Macus Tanihaha ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เปิดเผยความในใจที่เข้ามาร่วมทุนครั้งนี้ว่า เป็นการเข้ามาปูทางเพื่อเจาะตลาดไทยและตลาดในประเทศอาเซียน เนื่องจากแวลลูซิสเตมส์เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งด้านการจัดจำหน่าย

"เราเห็นว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีศักยภาพการเติบโตสูงมาก"

เมื่อเดือนตุลาคมแวลลูซิสเตมส์ ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์แว่นตาสามมิติสำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ 3D SPEX ของบริษัท NuVision Technologies ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Vikay ที่ซื้อกิจการเข้ามาและมีฐานการผลิตอยู่ในสหรัฐฯ โดยผลิตภัณฑืนี้เป็นตัวนำร่องให้แวลลูซิสเตมส์เข้าสู่ธุรกิจทางด้านค้าปลีกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดคอนซูเมอร์อย่างเต็มที่ เพราะที่ผ่านมาบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 8% ขณะที่ตลาดนี้ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปอีกมหาศาล ซึ่งณรงค์เองก็มองเห็นถึงจุดนี้เช่นกัน

"Vikay เป็นผู้พัฒนาและผลิตสินค้า 3D SPEX ซึ่งเหมาะสำหรับตลาดพันธุ์ทิพย์พลาซ่ามาก โดยยอดขายของตลาดนี้ตกเดือนละ 500 ล้านบาท ขณะที่เรามีส่วนแบ่งเพียง 30 ล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น"

นอกเหนือจากนี้ บริษัทยังได้มีการเตรียมทีมงานเพื่อมาดูแลทางด้าน Superstore ซึ่งเป็นอีก Segment หนึ่งของตลาดคอนซูเมอร์ โดย ณรงค์คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีส่วนแบ่งในตลาด Superstore ประมาณ 15-18% ของตลาดพีซีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

ดูเหมือนว่าในขั้นตอนที่ 2 ตามแนวทาง alue Global Vision ของณรงค์จะคลาดเคลื่อนจากเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้แต่ต้น เพราะในปี 1997 บริษัทจะต้องระดมเงินทุนจากตลาดหลัก ทรัพย์เพิ่มอีกประมาณ 500 ล้านบาทเพื่อนำมาใช้ขยายกิจการให้ต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนที่ 3 ที่กำหนดไว้ในปี 1998-2000 ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาของการสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ทางด้าน IT อาทิ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์ด้านเทเลคอม ภายใต้ยี่ห้อ 'Value' โดยไทยจะเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าออกไปยังแหล่งต่าง ๆ ทั่วเอเชีย ซึ่งณรงค์ก็ได้หมายมั่นที่จะให้ Mark Geh จาก Rothschild เข้ามานั่งในบอร์ดคณะกรรมการบริหารบริษัท เพื่อเป็นพี่เลี้ยงคอยชี้แนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่บริษัทจะเข้าไปซื้อ เพราะเขาผู้นี้มีพื้นฐานความเชี่ยวชาญทางด้าน Computer Architecture และยังผ่านงานจาก Silicon Valley ซึ่งถือเป็นตักศิลาทางด้านคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกอีกด้วย

แต่ในภาวะการแข่งขันที่เชือดเฉือนกันด้วยราคาขายทำให้มาร์จินสินค้าลดลงตามอันจะมีผลต่อกำไรของบริษัทในที่สุด ดังนั้นหากจะดูความแข็งแกร่งของบริษัทให้แน่ยอกขายจะไม่ใช่ตัวที่โชว์ผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทได้ ซึ่งณรงค์ตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี และก็ได้เผยถึงภารกิจที่จะต้องเตรียมพร้อมก่อนเข้าตลาดฯ ในปี 1998 นี้ว่า

"ในปีหน้าเราจะเน้นในเรื่องของกำไร (Earnings) แทนเรื่องยอดขาย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ โดยหน่วยธุรกิจทั้ง 6 จะต้องเน้นการทำกำไร นอกจากนี้เราจะมีการปรับปรุงระบบการบริหาร การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย การควบคุมสินค้าคงคลัง รวมถึงการจัดเก็บหนี้ และระบบการจัดจำหน่าย ผมคาดว่าในปีหน้าเราจะมีกำไรถึง 75% จากยอดขาย 2,500 ล้านบาท" ในปี 1995 บริษัทมียอดขายทั้งสิ้น 1,716 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,358 ล้านบาทในปี 1994

ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ระบบการจัดเก็บหนี้ที่ไม่มีประสิทธิผล หรือแม้แต่การบริหารงานที่มีลักษณะเป็น One Man Show ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่แวลลูซิสเตมส์ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ณรงค์จะสามารถแก้ไขปมปัญหาเหล่านี้ให้ผ่อนคลายเพื่อให้ฝันเป็นจริงได้แค่ไหน การหาพาร์ตเนอร์ร่วมทุนและความพยายามที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ จะสามารถช่วยปัญหาสภาพคล่อง และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทได้มากน้อยแค่ไหนการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บเงินด้วยวิธีลดการชำระด้วยเครดิตมา เป็นการเรียนเก็บเงินสดมากขึ้น จะช่วยผ่อนคลายปัญหาบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหาเรียกเก็บเงินไม่ได้ดีขึ้นเพียงไร และที่สำคัญระบบการบริหารงานที่รวมศูนย์อยู่ที่ตัวณรงค์ เพียงผู้เดียวจะได้รับการแก้ไขไปในรูปแบบใดล้วนแล้วแต่เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบทั้งสิ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us