Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 สิงหาคม 2549
มรสุมเศรษฐกิจ+พิษดอกเบี้ยซัดอสังหาฯครึ่งปีหลัง“พังพาบ”             
 


   
search resources

มานพ พงศทัต
Real Estate




*บ้านเดี่ยวระดับบนถึงคราวอวสาน ตามติดด้วยบ้านระดับกลาง ส่วนระดับล่างถึงคิว“เดี้ยง”
*ทาวน์เฮาส์ ราคา 1-3 ล้านบาทที่เคยเป็นพระเอก มาวันนี้หนีพิษสงเศรษฐกิจไม่พ้น
*ซิตี้ คอนโดฯที่ว่ากำลังมาแรง มีสิทธิ์ดับในอนาคต ปัญหาโอเวอร์ ซัฟพลาย มีให้เห็นแน่ปลายปีนี้ อย่างช้าไม่เกินต้นปีหน้า

เมื่อภาวะเศรษฐกิจเริ่มดิ่งเหวลงเมื่อใด เสมือนเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังจะก้าวสู่ยุคถดถอย และถึงทางตันในที่สุด เช่นเดียวกับ ทุกครั้งที่เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะตกต่ำตามไปด้วย

มาคราวนี้ก็เช่นเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจเริ่มเติบโตในสัดส่วนที่ลดลง จากปัจจัยลบรุมเร้า ทั้งราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ ความผันผวนทางการเมือง และความไม่สงบทางภาคใต้ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงในเร็วๆนี้ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดให้ภาวะเศรษฐกิจดิ่งเหวทั้งสิ้น

ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งจะลืมตาอ้าปากได้ในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้จมอยู่ในเหวลึกมานาน 6-7 ปี นับตั้งแต่ราว ๆ ปี 2539-2540 มาจนถึงปี 2547 ทุ่รกิจกำลังจะจะเริ่มดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่แล้วธุรกิจก็ต้องสะดุดลงอีกครั้ง เมื่อเจอกับมรสุมมากมาย ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยนอกที่ควบคุมแทบจะไม่ได้เกือบทั้งสิ้น

รศ.มานพ พงศ์ทัต นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ ให้ความเห็นว่า ในช่วงไตรมาส 3 ต่อเนื่องไตรมาส 4 ปีนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจบ้านจัดสรรทุกประเภท ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม จะชะลอการลงทุนกันเกือบทุกค่าย สืบเนื่องมาจากปัจจัยลบต่างๆที่รุมเร้าขณะนี้ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่กล้าลงทุนเพราะกำลังซื้อชะลอตัว จากความไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ภาพการชะลอการลงทุนเริ่มมีให้เห็นแล้วในช่วงนี้ และคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนในราวไตรมาส 4 เนื่องจากกำลังซื้อหมดไปจากตลาด โดยเฉพาะระดับบน ราคา 20 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาโอเวอร์ ซัปพลาย เพราะโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการพัฒนาบ้านเดี่ยว ระดับดังกล่าวออกมาสู่ตลาดราวไตรมาสละ 1,000-2,000 ยูนิต ขณะที่ความต้องการอยู่ในภาวะอิ่มตัว

ส่วนตลาดระดับกลางและล่าง ยังคงได้รับความสนใจจากผู้บริโภคบ้าง เพราะเป็นกำลังซื้อที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริง แต่เชื่อว่าในอนาคตกำลังซื้อจะถูกดูดซับออกไปจากตลาด เพราะผู้ประกอบการหลายรายแห่มาทำตลาดระดับนี้กันมาก

โดยบ้านราคาถูกจะเกิดความสมดุลกับระหว่างดีมานด์กับซัปพลาย เพราะผู้บริโภคมีความต้องการที่อยู่อาศัยจริงๆ โดยเฉพาะบ้านและทาวน์เฮาส์ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ที่มีความต้องการมากกว่า 50%ของความต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูก ส่วนคอนโดมิเนียมที่เกาะแนวรถไฟฟ้ายังคงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ลงทุนซิตี้ คอนโดระวัง!!

โดยดาวรุ่งที่กำลังมาแรง ประเภท ซิตี้ คอนโดมิเนียม ราคา 1.2- 2 ล้านบาท ตั้งอยู่เกาะแนวรถไฟฟ้าจะยังคงได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเดินทางสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเดินทาง อีกทั้งยังควบคุมเวลาในการเดินทางได้ค่อนข้างแม่นยำ ทำให้ผู้ประกอบการต่างลงมาแข่งขันตลาดนี้มาก และการลงทุนโครงการแต่ละแห่งจะพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนยูนิตเป็นหลักพันยูนิต ในอนาคตอาจจะมีปัญหาโอเวอร์ ซัปพลายตามมา ซึ่งผู้ประกอบการที่กำลังจะเข้าไปลงทุน ควรจะศึกษาตลาด กำลังซื้อ คู่แข่งอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะก่อนหน้านี้มีการลงทุนโครงการแล้วหลายพันยูนิต กระจายทั่วแนวรถไฟฟ้า ทั้งใต้ดิน และบนดิน ซึ่งเท่ากับว่าดูดซับกำลังซื้อไปส่วนหนึ่งแล้ว

“ในช่วงครึ่งปีหลังนี้คงได้เห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ลงมาทำตลาดระดับกลางและล่างมากขึ้น ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม เพราะยังพอที่จะมีกำลังซื้ออยู่บ้าง โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมที่ผู้ประกอบการบางรายไม่เคยจับตลาดนี้ยังลงมาลงทุนในตลาดคอนโดฯจำพวกซิ้ตี้ คอนโดฯราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท อาทิ ศุภาลัย แลนด์แอนด์เฮาส์ หรือ แสนสิริ ที่ลงมาจับตลาดระดับล่างแข่งกับผู้ประกอบการรายเล็ก ทำให้การแข่งขันตลาดระดับล่างในครึ่งปีหลังนี้รุนแรงมาก” รศ.มานพ กล่าว

โดยผลการวิจัยของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด พบว่าพฤติกรรมในการใช้จ่ายส่วนใหญ่ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจ โดยผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยระดับกลาง-ล่างเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ผู้ประกอบการที่จับตลาดระดับบน โดยเฉพาะค่ายใหญ่ ต่างก็ให้ความสนใจตลาดระดับล่าง ถึงกลางเพราะยังคงมีความต้องการอีก จึงหันมาทำตลาดระดับดังกล่าวมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกมีปัญหาโอเวอร์ ซัปพลายเกิดขึ้นเกือบทุกตลาด และจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

คอนโดฯสต็อกเพียบ 8,000 ยูนิต

โดยในช่วงครึ่งปีแรก มีคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ทั้งสิ้น 32 แห่ง คิดเป็นจำนวน 9,913 ยูนิต เติบโตขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกประมาณ 37% เป็นผลให้มีสต็อกเหลือขายปัจจุบันกว่า 8,000 ยูนิต จากจำนวน 32 โครงการเป็นโครงการที่สร้างเสร็จทั้งหมด 19 โครงการ จำนวน 3,510 ยูนิต หรือโตกว่า60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน

ทั้งนี้ คาดว่าในครึ่งปีหลังปีนี้ ตลาดคอนโดฯจะเติบโตมากว่าปีที่ผ่านมา โดยจะมีอุปทานใหม่ทยอยเข้าสู่ตลาดในครึ่งปีหลังไม่ต่ำกว่า 7,000 ยูนิต รวมๆแล้วจะมีอุปทานเข้าสู่ตลาดกว่า 1.5 หมื่นยูนิต โดยย่านพระราม 3 มีจำนวนยูนิตมากที่สุด ประมาณ 18%, เขตกรุงเทพฯชั้นใน(ซีบีดี) 8% ,ส่วนที่เหลือจะกระจายตามพื้นที่ต่างๆ

ผลวิจัย ยังระบุว่า ที่อยู่อาศัยระดับบนหรือบ้านราคาแพงนั้น ในครึ่งปีแรกปีนี้ มีจำนวนบ้านเดี่ยวเข้าสู่ตลาดจำนวนมากกว่า 25,000 ยูนิต โดยบ้านระดับบนกว่า 28,00 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านระดับราคา 10-20 ล้านบาท จำนวนกว่า 2,037 ยูนิต มีความต้องการลดลง14% และกลุ่มบ้านราคามากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวนกว่า 863 ยูนิต ลดลงมากกว่า 21% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการบ้านแพงเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะกลุ่มผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงเป็นกลุ่มระดับกลาง-ล่างเป็นส่วนใหญ่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us