Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 สิงหาคม 2549
"มามี่โพโค"รุกตลาดภูธรชูไซส์ซิ่งเพิ่มการใช้ 5เท่าเทียบกทม.             
 


   
search resources

ยูนิ-ชาร์ม (ประเทศไทย), บจก.
Baby Products




แนวโน้มการแข่งขันในตลาดผ้าอ้อมเด็กสนุกแน่ เมื่อตัวเลขการเติบโตที่พุ่งสูงขึ้น 20 - 30%ทุกปีอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดให้มีผู้เล่นหลายรายเข้ามาร่วมเล่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รายเก่าต้องพยายามรักษาส่วนแบ่ง ด้วยการออกสินค้าใหม่ควบคู่กับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออกไปสกัดคู่แข่ง ไม่เว้นแต่ "มามี่โพโค" ค่ายยูนิ-ชาร์ม ที่แม้จะเป็นผู้นำตลาด แต่ก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การหันมาให้ความสำคัญกับตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นในปีนี้ ของแบรนด์มามี่โพโค ค่ายยูนิชาร์ม เป็นการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมตลาดในปัจจุบัน เมื่อพบว่า การใช้ผ้าอ้อมของผู้บริโภคในกรุงเทพฯเฉลี่ยครบแล้ว 100% และมีความถี่การใช้ประมาณ 7 - 8 แผ่นต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างมากแล้ว ขณะที่ผู้บริโภคในต่างจังหวัดมีการใช้ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป 80% และเฉลี่ยการใช้ต่อวันเพียง 1 - 1.5 แผ่นเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ยังน้อยมากประมาณ 5 เท่าเมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ดังนั้นจึงมีโอกาสในการขยายตลาดได้อีก

พร้อมกันนี้ ยังพบว่าพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯแม้จะใช้ผ้าอ้อมเด็กจำนวนมาก แต่กลับมีแนวโน้มแต่งงานช้าลง ทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง ขณะที่ต่างจังหวัดมีปริมาณการใช้ผ้าอ้อมน้อย แต่สัดส่วนของเด็กเกิดใหม่ที่มากกว่า ทำให้ตลาดผ้าอ้อมเด็กระหว่างกรุงเทพฯต่างจังหวัดมีสัดส่วนเท่ากัน 50 : 50 ทว่าแนวโน้มตลาดต่างจังหวัดสามารถขยายตัวได้ง่ายกว่า ด้วยการกระตุ้นความถี่การใช้ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเมื่อเทียบกับประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ที่มีอัตราการใช้ถึง 2 เท่า หรือราว 100 แผ่นต่อคนต่อเดือน ทำให้คาดว่าตลาดผ้าอ้อมในไทยจะสามารถขยายได้อีกมาก เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรามที่ชอบความสะดวกสบายมากขึ้น โดยคาดว่าอีก 12 ปี อัตราการใช้ในไทยจะขยับเพิ่มขึ้นเหมือนทั้ง 2 ประเทศ

สำหรับ กลยุทธ์การรุกตลาดต่างจังหวัด มามี่โพโคจะให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสารกับผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ผ้าอ้อมและสุขอนามัยของลูกด้วย นอกเหนือจากการจัดโปรโมชั่น หรือออกสินค้าใหม่เพียงอย่างเดียว โดยเบื้องต้นจะเน้นช่องทางโรงพยาบาลเป็นหลัก ซึ่งมามี่โพโคก็มีการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้บริโภคผ่านช่องทางดังกล่าวมาประมาณ 2 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันถือว่าคลอบคลุมทุกภาค

"ปีนี้บริษัทเพิ่มสัดส่วนงบการตลาด เพื่อรุกตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยจะยังให้ความสำคัญกับช่องทางโรงพยาบาลต่อเนื่องจากปีก่อน เช่น จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าอ้อมกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้ากลุ่มคุณแม่คนใหม่มีเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" เป็นคำกล่าว ชุอิชิ คานาย่า ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท ยูนิ-ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด

นอกจากนี้ มามี่โพโคกำลังวางแผนเพื่อรุกเข้าหาผู้บริโภคในช่องทางอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็น ศูนย์รับดูแลเด็ก เนอสเซอรีส์ และอาจรวมถึงช่องทางโมเดิร์นเทรด ห้างในท้องถิ่น เพื่อจัดกิจกรรมโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่างๆ โดยอาจมีราคาหรือของพรีเมียมเข้ามาเป็นปัจจัยกระตุ้นการซื้อในปริมาณที่มากขึ้น หรือทดลองซื้อใช้ในกลุ่มที่ไม่เคยซื้อมาก่อน แม้ที่ผ่านมา มามี่โพโคจะเห็นว่าราคาไม่ใช่ตัวสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ก็ตาม ทว่า สำหรับผู้บริโภคบางคนในต่างจังหวัด ราคาย่อมมีปัจจัยต่อการเลือกซื้อตลอดจนพฤติกรรมการใช้ในแต่ละวัน ซึ่งหากพิจารณาผู้เล่นรายอื่น จะเห็นว่าราคาหรือโปรโมชั่นเป็นกลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งในการกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจซบเซา เช่น การจัดโปรโมชั่นแจก "ฮักกี้ส์ใจดี แจกฟรีหมีทองคำ" ต่อเนื่องจากปีก่อน หรือแบรนด์แพมเพอร์สรวมทั้งมามี่โพโคเองก็จูงใจด้วยสินค้าพรีเมียม เช่น ตุ๊กตา หมอน เพราะที่ผ่านมา ปัญหาการขยายตลาดต่างจังหวัดของมามี่โพโคจะมีอุปสรรคในเรื่องของราคาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเซกเมนต์พรีเมี่ยม ที่มีราคาสูงกว่าผ้าอ้อมในเซกเมนต์เดียวกันถึง 40%

"การรุกตลาดต่างจังหวัดในครั้งนี้ เราจะให้ความสำคัญกับกลยุทธไซส์ซิ่ง หรือเน้นบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กด้วย เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องจ่ายเงินมากในการซื้อต่อครั้ง ซึ่งตอนนี้บริษัทมีขนาด 4 ชิ้น และ 3 ชิ้นราคา 39 บาท จากปกติจำหน่ายราคา 43 บาท ซึ่งเปิดตัวมานานแล้วแต่ไม่ได้ทำตลาดอย่างจริงจัง โดยการสำรวจพบว่า คนต่างจังหวัดจะซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปขนาด 4 ชิ้น ราคา 39 บาท ตามด้วย 20 ชิ้น ราคา 265 บาท และ 40 ชิ้น ราคา 449 บาท ส่วนกรุงเทพจะเป็นขนาด 70 ชิ้น ราคา 699 บาท เป็นต้น" เป็นคำกล่าวของ ดำรงค์ ปิยะนิจดำรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ยูนิ-ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปตรามามี่ โพโค

ทั้งนี้ นอกจากการเน้นไซส์ซิ่งแล้ว ปีนี้มามี่โพโคยังพยายามกระตุ้นกำลังซื้อ ด้วยการแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อให้เกิดการทดลองใช้ภายใต้งบอีก 10 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดว่าการรุกตลาดต่างจังหวัดในครั้งนี้จะทำให้ ยอดขายในต่างจังหวัดมีการเติบโตขึ้น 20 - 25% หรือมีอัตราการใช้เพิ่มจาก 30 ชิ้นต่อคนต่อเดือน เป็น 40 ชิ้นต่อคนต่อเดือน และเพื่อรองรับการขยายตัวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ปีนี้ยูนิชาร์มได้เพิ่มการลงทุนอีก 1,000 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตอีก 20%

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดในกรุงเทพฯ มามี่โพโคยังคงให้ความสำคัญเช่นกัน โดยจะเน้นที่การออกสินค้าใหม่ อาทิ ตัวSwimming Pant ผ้าอ้อมเด็กสำหรับใส่ว่ายน้ำได้ โดยเป็นสินค้าเอ็กซ์คลูซีพจำหน่ายที่เดอะมอลล์และสยามพารากอนเท่านั้น รวมทั้งจะเน้นสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้ผู้บริโภคเกิดความคุ้นเคยและภักดีต่อแบรนด์ระยะยาว ล่าสุดหันใช้กลยุทธ์เพื่อสังคม ด้วยการจับมือกับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์จัดโครงการ "Better Learn Better Life" หาทุนเพื่อสร้างห้องเสริมทักษะการเรียนรู้ พร้อมหาซื้ออุปกรณ์การศึกษา มอบให้สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต รวมมูลค่ากว่า 250,000 บาท โดยมามี่โพโคจะหักรายได้จากยอดขายผ้าอ้อมเด็กจำนวน 2% ในแผนกเด็กห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ทุกสาขา ดิ เอ็มโพเรียมและสยามพารากอน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยูนิ-ชาร์มเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์และกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี

ตลาดผ้าอ้อมเด็กในปีที่ผ่านมามีมูลค่ากว่า 3,800 ล้านบาท แบ่งเป็นผ้าอ้อมระดับบน 52% หรือ 1,976 ล้านบาท ระดับกลาง 18% หรือ 684 ล้านบาท และระดับล่าง 30% หรือ 1,140 ล้านบาท โดยมีการเติบโตเชิงมูลค่ารวมเฉลี่ยปีละ 20 - 30% และปีนี้คาดว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเท่ากับปีก่อน ซึ่งจะทำให้มูลค่าตลาดขยับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ตลาดผ้าอ้อมยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ผ้าอ้อมชนิดแถบเทป มีสัดส่วน 70% และผ้าอ้อมชนิดกางเกงหรือ "แพ้นท์" 30% โดยผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จะมีสินค้าทั้ง 2 แบบ ออกมาเพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ยังซื้อผ้าอ้อมทั้ง 2 แบบมาใช้สลับกัน เช่น เลือกใช้ผ้าอ้อมชนิดกางเกงเมื่อออกนอกบ้าน หรือเวลากลางคืน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่เวลากลางวันอยู่บ้านอาจเลือกใส่แบบแถบเทป

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในกลุ่มแพ้นท์กลับมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เห็นได้จากผู้เล่นจำนวนมากหันมาออกสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น เริ่มตั้งแต่ค่ายคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ที่เปิดตัว "ฮักกี้ส์ พุลล์-อัพส์ แพ้นท์" ช่วงต้นปี 2548 ซึ่งเป็นการลงตลาดแพ้นท์อีกครั้ง หลังจากเคยเข้ามาทำตลาดเมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งนับเป็นรายแรกที่มีผ้าอ้อมแบบกางเกง แต่จากสินค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก รวมทั้งราคาที่สูงจนเกินไปจึงทำให้ไม่ได้การตอบรับ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ดรายเพอร์สก็เปิดตัว "ดรายแพ้นท์"เมื่อปลายปีก่อน

ด้วยจำนวนผู้เล่นที่โดดเข้ามาเล่นในตลาดแพ้นท์มากขึ้น รวมทั้งทัศนคติของผู้บริโภคที่ให้การยอมรับ และเห็นความสะดวกสบายจากผ้าอ้อมชนิดนี้ เชื่อว่าอนาคตตลาดผ้าอ้อมในไทยอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยชิดแพ้นท์อาจมีสัดส่วนกลายเป็นตลาดใหญ่ ส่วนแบบแถบเทปก็จะมีขนาดเล็กลง

"จากการสื่อสารจนทำให้ผู้บริโภคยอมรับและเห็นถึงความสะดวกของผ้าอ้อมแบบกางเกง บริษัทเชื่อว่าอนาคตสัดส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเหมือนตลาดผ้าอ้อมในญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันเป็นแบบกางเกง 70% และแถบเทป 30% แต่คาดว่าต้องใช้เวลาอีกสักระยะ โดยตลาดในญี่ปุ่นใช้เวลาเปลี่ยนแปลงประมาณ 10 ปี นับจากมีผ้าอ้อมแบบกางเกง"

ปัจจุบัน มามี่โพโคเป็นผู้นำครองส่วนแบ่ง 63% จากตลาดรวมผ้าอ้อมเด็กมูลค่า 3,800 ล้านบาท รองลงมาคือ กลุ่ม ดีเอสจี ประกอบด้วยแบรนด์ เบบี้เลิฟ และฟิตตี้ 10% ตามมาด้วยค่ายเอสซีเอ ที่มีดรายเพอร์สวีวี่ดราย และดรายแพ้นท์โดยดรายเพอร์ส รวมกันประมาณ 9% แพมเพอร์ส 6% และอื่นๆ เช่น ฮักกี้ส์ 12%

ตลาดผ้าอ้อมเด็กไทย
- แถบเทป 70%
- กางเกง 30%

พฤติกรรมการใช้ผ้าอ้อมของผู้บริโภค
- กรุงเทพ จำนวนแผ่น/1วัน 7-8
- ต่างจังหวัด จำนวนแผ่น/1วัน 1-1.5

ตลาดรวมผ้าอ้อมมูลค่า 3800 ล้านบาท
- มามีโพะโคะ 63%
- ค่ายดีเอสจี : ฟิตตี้, เบบี้เลิฟ 10%
- ค่ายเอสซีเอ : รายเพอร์สวีวีดราย ดรายเพอร์สโดยดรายเพอร์ส 9%
- แพมเพอร์ส 6%
- อื่นๆเช่นฮักกี้ 12%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us