Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 สิงหาคม 2549
ผู้ถือบัตรเครดิตลดใช้จ่าย-ยอมเป็นหนี้ วอนรัฐรอบคอบก่อนผลักสู่หนี้นอกระบบ             
 


   
search resources

Credit Card




ผู้ประกอบการเตือนยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตลด รัฐอย่างเพิ่งดีใจ เหตุยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นแทน แถม NPL เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รับต้นทุนทำธุรกิจสูงขึ้นขณะที่รายได้ถูกคุม ส่งผล KTC กำไรหด วอนผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% เหลือ 5% ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ดีกว่าไล่ให้ไปหาสินเชื่อนอกระบบ ที่ดอกเบี้ยและทวงหนี้โหด

ตัวเลขบัตรเครดิตครึ่งปีแรกที่ออกมา ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่าไม่มีอะไรน่ากังวล เนื่องจากการขยายตัวของบัตรเครดิตลดลง โดยในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2549 จำนวนบัตรเครดิตทั้งหมดเพิ่มขึ้น 4.71 แสนบัตรหรือ 4.7% แต่ปริมาณการใช้จ่ายรวมลดลง 8.4% นับเป็นการสะท้อนถึงความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชน

นอกจากนี้ตัวเลขที่ไม่สร้างความกังวลให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อแยกลงไปจะพบว่ายอดเบิกเงินสดล่วงหน้าของบัตรเครดิตลดลง 7.9% และปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลง 9.27% แต่อีกตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือยอดสินเชื่อคงค้างที่เพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านบาท หรือ 6.73% ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะต้องเหลียวมองถึงยอดที่เพิ่มขึ้นว่าสาเหตุนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

ใช้จ่ายลด-แต่หนี้เพิ่ม

การลดลงของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตนั้นเป็นผลมาจากภาวะทางเศรษฐกิจที่บีบรัดในขณะนี้ ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างปรับเพิ่มขึ้น ผู้ถือบัตรก็ต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่ายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ถือบัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศที่ใช้จ่ายลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ผู้ถือบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ของไทย มีการใช้จ่ายรวมลดลง 10.95% ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง 15.7% และมีหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 2.2% เท่านั้น ขณะที่ผู้ถือบัตรเครดิตที่ออกโดยสาขาธนาคารต่างประเทศ ใช้จ่ายลดลง 5.89% แต่กลับมียอดเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้นถึง 16.43% และมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น 7.5%

ส่วนบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ ที่มีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ยอดใช้จ่ายรวมลดลง 5.03% ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 12.23% และมีสินเชื่องคงค้างเพิ่มขึ้นถึง 9.76%

NPL เพิ่ม

สิ่งที่เกิดขึ้นจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่ายอดใช้จ่ายโดยรวมลดลงก็จริง แต่ยอดสินเชื่อคงค้างกลับเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่า ผู้ใช้บัตรเลือกที่จะถือครองเงินสดในมือมากขึ้น ยอมเสียดอกเบี้ยโดยจ่ายแบบผ่อนชำระหรือบางรายอาจไม่ผ่อนชำระเลย ส่วนผู้ประกอบการรายใดจะเจอปัญหาในลักษณะนี้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับความสามารถในการบริหารลูกหนี้ของแต่ละราย

"ตัวเลขที่เห็นนี้ชัดเจนว่าผู้ถือบัตรเลือกที่จะจ่ายน้อยลง ส่วนการยอมเป็นหนี้มากขึ้นนั้นตอบยากว่าเป็นเรื่องของความเต็มใจหรือไม่ แต่โดยทั่วไปไม่มีใครอยากเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น ยิ่งยอดสินเชื่อคงค้างมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น" ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว

หากพิจารณาจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ของธนาคารซิตี้แบงก์ ที่เปิดเผยนั้น สิ้นปี 2548 มียอด NPL ที่ 5.17% และสิ้นเดือนมิถุนายน 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 5.61% หรือเพิ่มขึ้นมาเพียง 665 ล้านบาท แต่สิ่งที่เห็นนั่นก็คือ NPL ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรายใหญ่รายหนึ่งเริ่มสูงขึ้นทุกขณะ

เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอีกรายอย่างบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTC ที่ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของปี 2549 ที่ออกมาลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจาก 160 ล้านบาทเหลือ 80 ล้านบาท เท่ากับกำไรหายไปกว่า 50% ส่วนกำไรสุทธิงวด 6 เดือนลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 34.33%

ต้นทุนเพิ่ม

ปัญหาของผู้ประกอบการในเวลานี้คือเรื่องของต้นทุนในการดำเนินงาน เราได้เห็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ประมาณ 1% ปัจจุบันอยู่ที่ 4-5% ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของธุรกิจนี้พุ่งตามไปด้วย แต่รายได้เราถูกควบคุมไว้ที่ 18% สำหรับบัตรเครดิต และ 28% สำหรับสินเชื่อบุคคล แน่นอนว่าเมื่อส่วนต่างของรายได้ถูกจำกัดขณะที่ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้นผลประกอบการย่อมต้องออกมาไม่ดีไม่ว่าจะเป็นรายใดก็ตาม

แม้ว่าขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะเปิดทางให้ผู้ประกอบการยื่นแสดงต้นทุนในการประกอบธุรกิจไปให้พิจารณาแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาอยู่ ไม่ทราบว่าจะได้รับการอนุญาตให้ปรับอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่

ขณะเดียวกันในเรื่องของการดำเนินงานของผู้ประกอบการระยะนี้ สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้ภาคประชาชนลดลงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจกิจ ข้อเสนอเรื่องการลดภาระการผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 5% นั้นถูกเหมือนจะไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางการ

จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ทางการออกมาให้เหตุผลว่าเป็นการช่วยผู้ประกอบการมากกว่านั้น คงต้องมาพิจารณาว่าต้นทุนของผู้บริโภคย่อมเพิ่มขึ้นจริง แต่หากลดภาระการผ่อนชำระลงได้ครึ่งหนึ่ง เขาย่อมมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าเดิม ใช้ชีวิตได้ไม่เครียดจนเกินไป ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของมุมมองว่า เราจะมองปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

แน่นอนว่าผู้ประกอบการที่เรียกเก็บยอดชำระขั้นต่ำที่ 10% มาตั้งแต่แรกคงไม่มีปัญหาเท่าใด แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะได้แก่กลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เนื่องจากส่วนใหญ่ลูกค้าเดิมเปิดทางให้ผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 5% ได้ และในเดือนเมษายน 2550 ก็จะปรับยอดผ่อนชำระขั้นต่ำไปที่ 10% ทั้งหมด ตรงนี้แน่นอนว่ายอด NPL จะพุ่งขึ้นทันที ซึ่งตรงนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบดี แต่ยังคงยึดเป้าหมายหลักคือการลดหนี้ภาคครัวเรือน

หากพิจารณาให้รอบด้านจะพบว่าหนี้ภาคครัวเรือนนั้นไม่ได้เกิดจากหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว นโยบายของรัฐบาลก็มีส่วนที่ทำให้หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ใช้บริการต้องทำตามเงื่อนไขใหม่ เช่น ผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 10% ท่ามกลางเศรษฐกิจเช่นนี้ เมื่อเขาไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็ต้องยอมผิดนัดชำระ

NPL ทั้งระบบจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากผู้ประกอบการไม่สามารถอยู่ได้ ไม่ใช่แค่การปิดกิจการลงเท่านั้น เพราะที่มาของเงินที่ใช้ในการปล่อยสินเชื่อนั้นก็มาจากการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินหรือออกหุ้นกู้ แล้วถามว่าปัญหานี้จะลามไปทั้งระบบหรือไม่

ที่สำคัญต้องเข้าใจพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ว่า เขาต้องใช้เงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยเพื่อการดำรงชีพ เมื่อในระบบไม่สามารถกู้ได้ เขาก็ต้องหันไปพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ ซึ่งมีให้เลือกทั้งสินเชื่อใบปลิว ที่เสนอทางเลือกให้แลกกับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าผู้ให้บริการในระบบ หรืออาจต้องไปพึ่งพาผู้ให้กู้ที่เป็นบุคคล ซึ่งโหดทั้งดอกเบี้ยและวิธีการติดตามหนี้สิน แล้วเราจะเลือกให้คนไทยเดินไปในทางใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us