"ลักษณะการทำงานของ เอ-ไทม์ ในทุกปีช่วงเดือน พ.ย. เราจะทำงานของปีหน้ากันแล้ว
คือเราจะมี Year Plan ออกมาว่าในปีหน้ารายการวิทยุทั้ง 4 คลื่นของเรานั้นจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างทั้งในและนอกรายการ"
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา หรือ 'พี่ฉอด' กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงลักษณะการทำงานของ
บงเอ-ไทม์ มีเดีย (@ - TIME)
เพราะฉะนั้นในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. นี้เป็นช่วงที่ทีมงานของเอ-ไทม์ รวมทั้ง
'พี่ฉอด' ต้องหาโฆษณาสำหรับรายการวิทยุของปี'40 กันแล้ว เพียงแต่ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่เอ-ไทม์ได้เชิญลูกค้ามาฟังการนำเสนอแผนงานที่สำนักงาน
โดยเมื่อปลายเดือนตุลาคม จัด 2 วัน ๆ ละ 3 รอบ สำหรับเอเยนซีโฆษณารายใหญ่
ส่วนลูกค้าประเภทขายตรงจัดอีก 2 วันในวันที่ 4-5 พ.ย. "ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ลูกค้าให้ความสนใจมากเกินความคาดหมาย โทร.ตอบรับการเข้าฟังรอบละ 30-40 คน
เรียกได้ว่าเอเยนซีรายใหญ่เกือบทั้งหมดได้เข้าชมการ present ของเราไปหมดแล้ว"
สายทิพย์กล่าว
สาเหตุที่ต้องเชิญใครต่อใครเข้าไปที่เอ-ไทม์ เพราะบริษัทต้องการให้ชมอุปกรณ์ใหม่ถอดด้ามที่เรียกว่า
STUDIO NETWORK ซึ่งสั่งตรงมาจากต่างประเทศแทบทุกส่วน "แม้แต่นอตสักตัว
ก็มาจากต่างประเทศ" มีเพียงผนังปูนเท่านั้นที่ใช้อุปกรณ์ในประเทศ "แต่ข้างในผนังก็ยังบุด้วยวัสดุเก็บเสียงจากต่างประเทศเช่นกัน"
หลังจากที่ตระเวนดูงานทั่งทวีปยุโรปและอเมริกาเป็นเวลานานถึง 2 ปี เอ-ไทม์จึงเลือกบงไคล์ฟ
เพราะเห็นว่าสามารถนำมาสนับสนุนการผลิตรายได้ตรงตามความต้องการ ด้วยเงินลงทุนประมาณ
30-40 ล้านบาท
นั่นเป็นในส่วนของ Hardware แต่สำหรับ Software นั้นในช่วงเวลา 2 ปีที่ไปตระเวนสำรวจกันมาปรากฎว่า
"เราไม่สามารถตัดสินใจซื้อ software ของเมืองนอกมาได้เลย เพราะลักษณะการผลิตรายการวิทยุต่างกันโดยสิ้นเชิง"
สายทิพย์กล่าว
ดังนั้นโปรแกรมที่ใช้จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเองจากประสบการณ์ของทีมงานด้านผลิตรายการของเอ-ไทม์
ผสมผสานกับข้อมูลจากทีมวิจัย (R&D) และทีมงานด้านคอมพิวเตอร์ "แล้วดีไซน์ขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมที่สุด"
"จึงจะเห็นว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในทุกกรณีไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะไม่นำคอมพิวเตอรืมาจัดรายการวิทยุแทนดีเจ
เพราะเรามีความเชื่อว่าการผลิตรายการวิทยุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดีเจเป็นคนสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลต่าง
ๆ ที่เป็นอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งการจะเปิดเพลงให้ได้อารมณ์
ให้เพราะก็ต้องใช้คนเปิด คอมพิวเตอร์ทำตรงนี้ไม่ได้ เราจะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตรายการเท่านั้น
แต่จะไม่นำมาจัดรายการ" สายทิพย์ย้ำถึงนโยบายของเอ-ไทม์ อีกครั้ง
สำหรับรายการวิทยุทั้ง 4 คลื่น อันได้แก่ รายการเรดิโอ โนพร็อบเบล็ม F.M.88.0
MHz. กรีนเวฟ F.M.104.5 MHz. เรดิโอ โหวต แซทเทิลไลท์ F.M.93.5 MHz. และฮอตเวฟ
F.M.91.5 MHz. ในปีหน้าโปรแกรมหลัก ๆ แล้วยังคงรูปแบบรายการไว้เช่นเดิม
ทั้งนี้ สายทิพย์ให้แนวคิดไว้ว่า "เท่าที่ทำมาทั้งหมดเชื่อว่าถูกต้องอยู่แล้ว
จะเห็นว่า ธรรมชาติของเราไม่ใช่จะเปลี่ยนอะไรจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งก็ไม่รู้จะไปเปลี่ยนทำไมเพราะมันถูกต้องอยู่แล้ว
เพียงแต่นำเอาสิ่งที่ดีอยู่แล้วมาทำต่อให้ดีขึ้น กับปรับจูนบางอย่างให้เหมาะสมตรงเป้ามากขึ้นเท่านั้น"
จะมีบ้างสำหรับคลื่นเรดิโอ โหวต แซทเทิลไลท์ "ในคอลัมน์ Chart Vote
โดยปีหน้าจะมีการยุบบางชาร์ตที่มีความเคลื่อนไหวน้อยหรือนิ่ง และแต่ละช่วงจะไม่จำกัดอยู่ในเรื่องใดเรือ่หงนึ่งแต่จะกระจายไปทุกช่วงดีเจ
การโหวตก็เปิดโอกาสให้โหวตได้ทุกช่วง ปีหน้าเหลือเพียง 4 ชาร์ต คือ Music
Vote, TV Vote และ Star Vote ฝ่ายชาย-หญิง ซึ่งรายการทีวีจะไม่ได้แบ่งเป็นประเภทรายการ
แต่จะรวมอยู่ในชาร์ตเดียวกัน เป็น 10 อันดับรายการทีวียอดนิยม" สายทิพย์อธิบาย
เมื่อลด Chart Vote ทำให้กิจกรรม Vote Award ต้องถูกยุบไปด้วย ดังนั้นคะแนน
Chart Vote ในปี'39 จะนำไปรวบรวมและมอบรางวัลในเดือนมกราคม ปี'40 ซึ่งจะเป็นครั้งสุดท้าย
"ส่วนงานทีจะมาแทนเป็น special varity show คล้ายดีเจใจแตก เป็นการแสดงของดีเจร่วมกับดารา
scale ของงานประมาณ MBK HALL" สายทิพย์กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ในส่วนคลื่นเรดิโอ โหวต แซทเทิลไลท์ ปีหน้านั้น ประมาณเดือนมีนาคมจะเพิ่มสถานีเครือข่ายอีก
1 แห่งที่จังอุดรธานี จากที่มีอยู่แล้ว 9 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 90% ทั่วประเทศ
"ในส่วนของดีเจปีหน้า จะมีน้องใหม่ที่เริ่มจัดรายการมาบ้างแล้ว เราก็จะส่งให้เขาจัดในเวลาที่ดีขึ้นอีก
3-4 คน" สายทิยพ์ดกล่าว
สำหรับค่าโฆษณาปี'40 ได้มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในส่วนของ Loose spot ซึ่งเป็นการซื้อสปอตโฆษณาความยาว
30 วินาที โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยทั้ง 4 คลื่นประมาณ 10% เศษ แยกเป็นกรีนเวฟเพิ่มมากที่สุด
20% คลื่น 88 และฮอตเวฟเพิ่มขึ้นคลื่นละ 10% ส่วนเรดิโอโหวตราคาเพิ่มเพียง
9% ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ที่ทำให้กับเอ-ไทม์ ในปี'39 มาจากเรดิโอโวต 35-41%
กรีนเวฟ 30% ส่วนคลื่น 88 และฮอตเวฟ ทำรายได้คลื่นละ 20%
ด้านผลประกอบการเพียงตัวเลขสรุปผลของ 10 เดือน รายได้ของเอ-ไทม์ ก็โตเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้มาที่ระดับ
400 กว่าล้าน "ถือว่าดีมาก" สายทิพย์กล่าวพอใจ เพราะเกินไป 20%
เลยทีเดียว ส่วนตัวเลข 2 เดือนหลังของปี '39 นั้นสายทิพย์ยืนยันว่า "ไม่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะได้ขายล่วงหน้าไปหมดแล้ว
และปกติช่วงนี้ก็เป็น high season อยู่แล้วที่จะมีโฆษณาเข้ามามาก"
ดังนั้นช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ของปี '39 ทีมโปรดักชั่นจึงเริ่มงานขายของปี
'40 ในขณะเดียวกันทางด้านการตลาดและทีม AE ก็เตรียมเก็บออร์เดอร์ของปีหน้าเช่นกัน
ส่วนรายได้ในปีหน้าสานทิพย์คาดคร่าว ๆ ให้ฟังว่า "ปีที่แล้ววางไว้ 400
กว่าเมื่อเกินมา 20% ตัวเลขคงไปชนที่ 500 ปีหน้าคงตั้ง 500 กว่าแน่นอน ซึ่งโดยปกติเราก็จะขยับปีละ
15%
ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา เอ-ไทม์ เป็นผู้ริเริ่มระบบบริการแบบ package เริ่มการทำรายการแบบ
format station โดยนำเสนอรูปแบบรายการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนถึง 4 คลื่นวิทยุเริ่มแผนกวิจัยตลาด
(R&D) เพื่อตรวจสอบและประเมินผลทางการตลาด เริ่มผลิตเอกสารการตลาดในรูปแบบใหม่
และขณะนี้ก็ได้เริ่มใช้ระบบ Studio Network ใหม่ที่ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพ
และออกแบบ software สำหรับการผลิตรายการวิทยุขึ้นเอง
สิ่งเหล่านี้เสมือนหนึ่งเป็นการย้ำถึงความเป็นผู้นำแห่งวงการคลื่นวิทยุบันเทิงของ
เอ-ไทม์ แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจผลิตรายการวิทยุเติบโตค่อนข้างเร็วและมีการแข่งขันมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
"ในการแข่งขันนั้นบริษัทเล็กคงแย่ ๆ กันไป อย่างที่เคยมองภาพไว้แล้ว
ธุรกิจวิทยุเหมือนมีคน 2 พวกเข้ามาทำงาน พวกหนึ่งคือพวกที่มีอาชีพวิทยุจริง
ๆ กับอีกพวกคือมีสื่ออย่างอื่นและมองวิทยุในแง่การขยายไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพอะไรบางอย่างซึ่งประเภทหลังก็มีเยอะ
ส่วนประเภทแรกอย่างไงก็ดิ้นรนสุดชีวิตเพราะเป็นอาชีพของตนเอง เพราะฉะนั้นความพยายามก็จะออกมาในลักษณะที่คิดรูปแบบรายการต่าง
ๆ เพื่อมาทำอาชีพดังนั้นในเวลาข้างหน้าหรือ 2-3 ปีหน้า พวกที่ยึดเป็นอาชีพก็ยังต้องทำอยู่แน่
แต่อีกพวกถ้าทำถึงจุดหนึ่งแล้วไม่ไหวก็อาจเลิกกันไปซึ่งก็ไม่แปลกเพราะเขาไม่ถือว่าเป็นอาชีพของเขาอยู่แล้ว"
สายทิพย์กล่าวทิ้งท้าย